Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21566
Title: คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษานิเทศก์จังหวัด ในความคิดเห็นของครูใหญ่และครูผู้สอน ในเขตการศึกษา 8
Other Titles: Opinions of principals and teachers on desirable characteristics of provincial supervisors in educational region 8
Authors: วีระชาติ นักสอน
Advisors: วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ศึกษานิเทศก์ -- ทัศนคติ
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูใหญ่และครูผู้สอน ในเขตการศึกษา 8 ที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษานิเทศก์จังหวัด 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์จังหวัด ตามความคิดเห็นของครูใหญ่และครูผู้สอน ในเขตการศึกษา 8 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูใหญ่และครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 8 จำนวนกลุ่มละ 358 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 716 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดแรกเป็นคำถามปลายเปิดส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นศึกษานิเทศก์ ครูใหญ่และครูผู้สอนจำนวน 300 คน กรอกข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 4 ด้าน แล้วนำข้อมูลจากแบบสอบถามชุดแรกมาสร้างเป็นแบบสอบถามชุดที่สองโดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษานิเทศก์จังหวัด ด้านการปฏิบัติงาน ด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความประพฤติ ศีลธรรมและจรรยา และตอนที่ 3 เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามชุดที่สองไปยังกลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 716 ฉบับ และได้รับคืนมาเป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์จำนวนทั้งสิ้น 529 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 73.88 แล้วนำมาวิเคราะห์โดยวิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าอัตราส่วนวิกฤต (t-test) ผลการวิจัย 1. เมื่อศึกษาจากค่าเฉลี่ย ความคิดเห็นของครูใหญ่ และครูผู้สอน 1.1 เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์จังหวัด พบว่า ครูใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง 38 ข้อ ระดับปานกลาง 3 ข้อ และระดับต่ำ 1 ข้อ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง 3 ข้อ ระดับปานกลาง 3 ข้อและอยู่ในระดับต่ำ 2 ข้อ 1.2 เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านบุคลิกภาพของศึกษานิเทศก์จังหวัดพบว่า ครูใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง 16 ข้อ ระดับปานกลาง 2 ข้อ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง 15 ข้อ และระดับปานกลาง 3 ข้อ 1.3 เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านมนุษยสัมพันธ์ของศึกษานิเทศก์จังหวัดพบว่า ครูใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูงทั้งหมด 16 ข้อ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง 15 ข้อ และระดับปานกลาง 1 ข้อ 1.4 เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความประพฤติ ศีลธรรม และจรรยาของศึกษานิเทศก์จังหวัด พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง 14 ข้อและอยู่ในระดับปานกลาง 1 ข้อ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูใหญ่และครูผู้สอนที่มีต่อคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์จังหวัดเป็นรายด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความประพฤติ ศีลธรรมและจรรยา พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3. ผลจากการสำรวจข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ปรากฏว่า ครูใหญ่และครูผู้สอนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ศึกษานิเทศก์ควรออกนิเทศให้บ่อยครั้งและทั่วถึงการออกนิเทศไม่ควรบอกให้ทราบล่วงหน้า ศึกษานิเทศก์ควรมีสุขภาพแข็งแรง อยู่ง่ายกินง่าย เป็นคนตรงต่อเวลา ให้ความเป็นกันเองและมีความสัมพันธ์กับครูผู้สอนให้มากกว่าครูใหญ่ ไม่เมาสุราเป็นอาจิณ ไม่มั่วสุมอยู่กับอบายมุขทั้งปวง เป็นต้น
Other Abstract: The Purposes of the study were as follows: 1. To study the opinions of principals and teachers on desirable characteristic of provincial supervisors in educational region 8. 2. To compare the opinions of principals and teachers on desirable characteristics of provincial supervisors in educational region 8. Research Procedures Sample used in this study consisted of 358 principals and 358 teachers from Provincial Elementary Education Offices in educational region 8., totaling 716 in number. The instruments used in this study were two questionnaires. First questionnaire was open-ended type. Three hundred open-ended questionnaires were distributed to the expert supervisors, principals and teachers in educational region 8 to express their opinions covering four categories, the supervisory ability, personality human relationship and behavior on morals and conduct. The second was a questionnaire consisted of three parts. The first part was concerned with personal information of respondents, the second part dealt with opinions concerning four categories, the supervisory ability, personality, human relationship and behavior on morals and conduct. The final part was concerned with opinions to express their suggestion. The second questionnaire was distributed to the 716 participants of these, 529 copies, or 73.88 percent, were returned. The data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test. Findings: 1. To the items concerning the desirable characteristics of supervisory ability, the principals rated at the high level to 38 items, average to 3 items and low to 1 item. The teachers rated at the high level to 37 items average to 3 items and low to 2 items. 2. To the items concerning the desirable characteristios of personality, the principals rated at the high level to 16 items and average to 2 items. The teachers rated at the high level to 15 items and average to 3 items. 3.To the items concerning the desirable characteristics of human relationship the principals rated at the high level to all the questions. The teachers rated at the high level to 15 items and average to 1 item. 4. To the items concerning the desirable characteristics of behavior on morals and conduct. The principals and teachers also rated at the high level to 14 items and average to 1 item. 5. There were no significantly difference at the .05 level between the opinions of the principals and the teachers on the desirable characteristics of supervisory ability, personality, human relationship and behavior on morals and conduct. However, the respondents strongly recommended that their desirable attitudes towards the provincial supervisors were as follows : the supervisors should work in all supervised schools; going to supervise without appointments ; should have good health; always punctual ; have good human relationship and not to be the drunkards while they are on duty.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21566
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerachard_Na_front.pdf597.65 kBAdobe PDFView/Open
Weerachard_Na_ch1.pdf482.58 kBAdobe PDFView/Open
Weerachard_Na_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Weerachard_Na_ch3.pdf470.11 kBAdobe PDFView/Open
Weerachard_Na_ch4.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Weerachard_Na_ch5.pdf907.71 kBAdobe PDFView/Open
Weerachard_Na_back.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.