Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22032
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกียรติวรรณ อมาตยกุล | - |
dc.contributor.author | จันทนา สุนทรอดิศัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-09-08T07:39:58Z | - |
dc.date.available | 2012-09-08T07:39:58Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22032 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 2) เพื่อเปรียบ เทียบผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวเมนนิสที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมของกลุ่มทดลองที่มีต่อกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค จำนวน 30 คน การจัดกิจกรรมใช้เวลาทั้งสิ้น 9 วัน รวม 50 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุคือแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ความต้องการในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน และแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุ และแบบประเมินผลการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย [X-bar] ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที่ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค มีความต้องการให้จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ โดยลักษณะของกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน ส่งเสริมความกระตือรือร้นในการดำเนินชีวิต มีชีวิตชีวา มีความปล่อยวาง มีความส่งเสริมลักษณะอารมณ์ที่เป็นสุข ส่งเสริมการช่วยเหลือผู้อื่น และมอบความรัก ความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม 2. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความมีชีวิตชีวา มองตนเองในด้านบวก และลักษณะอารมณ์ที่เป็นสุข หลักการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมากที่สุด ([X-bar]= 4.64) | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this pre-experimental research design were to 1) to develop non-formal education activities based on Neo-Humanist concept on life satisfaction of the elderly in social welfare development center, 2) to compare the life satisfaction of the elderly in social welfare development center before and after using the activities, 3) to study the satisfaction of participating in non-formal education activities based on Neo-Humanist concept on life satisfaction of the elderly in social welfare development center. This research is the experimental research. The research instruments of the non-formal education activities are, the plan for non-formal education activities based on Neo-Humanist concept on life satisfaction of the elderly in social welfare development center, the life satisfaction test and the evaluation form. The data were analyzed by using means [X-bar], standard deviation S.D., and dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance with SPSS program. The results were as follow : 1. The elderly in social welfare development Bangkae center require the non-formal educational activities which are enjoyable, lively, relaxed and helpful to enhance the life satisfaction. 2. After the experiment, the experimental group had the mean scores in lively, self-esteem and happiness after the experiment higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance. 3. After participating the non-formal education activities, the experimental group reported their satisfaction towards the activities at the highest level ([X-bar]= 4.64). | en |
dc.format.extent | 2876895 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.555 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- การศึกษานอกระบบโรงเรียน | en |
dc.subject | ความพอใจ | en |
dc.title | ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ | en |
dc.title.alternative | Effect of non-formal education activities base on neo-humanist concept on life satisfaction of the elderly in social welfare development center | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kiatiwan.A@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.555 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chantana_so.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.