Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2223
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กิตติ อินทรานนท์ | - |
dc.contributor.author | พิชนี โพธารามิก | - |
dc.contributor.author | วิทยา ยงเจริญ | - |
dc.contributor.author | ภาณุพงศ์ อัศวเกียรติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล | - |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-26T06:15:27Z | - |
dc.date.available | 2006-08-26T06:15:27Z | - |
dc.date.issued | 2533 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2223 | - |
dc.description.abstract | ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า อุตสาหกรรมการผลิตแบบสายประกอบกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการใช้แรงงานกันอย่างมากมาย ปัญหาหนึ่งที่จะตามมาก็คือผลกระทบที่จะเกิดต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเหล่านั้น หลังจากที่ได้ทำงานไประยะหนึ่งแล้วผู้ปฏิบัติงานเป็นจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหากับ การนั่งปฏิบัติงานอยู่กับที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานซึ่งอาจทำให้โครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อต้องรับภาระสถิตมาก และเป็นระยะเวลานานอันเป็นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และต่อเนื่องไปถึงการลดลงของประสิทธิภาพการผลิตในที่สุด การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการออกแบบและสร้างโต๊ะและเก้าอี้ทดสอบที่สามารถปรับระดับและมุมเอียงของส่วนต่างๆ ได้อย่างสะดวกถึง 5 ลักษณะด้วยกัน คือ ความสูงของเก้าอี้ ความเอียงของพื้นเก้าอี้ ความเอียงของพนักพิง ความสูงของโต๊ะ และความลาดเอียงของพื้นโต๊ะ โดยอาศัยระบบนิวเมติกเป็นกลไกในการปรับ หลังจากนั้นได้ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาลักษณะการนั่งอ่านหนังสือโดยใช้ความสูง ความลาดเอียงของพื้นโต๊ะและความสูงของเก้าอี้เป็นปัจจัยหลัก ที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะไม่สบายของร่างกายหลังจากการนั่งอ่านหนังสือที่ระดับของปัจจัยหลักเหล่านั้นเป็นเวลา 30 นาที โดยการประเมินภาวะไม่สบายนี้ด้วย 5 ระดับคะแนน รวมทั้งหมด 18 ท่า พบว่าเมื่อความสูงของเก้าอี้เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ภาวะไม่สบายเพิ่มขึ้นบริเวณ คอ ไหล่ หลัง เอว ก้น และต้นขา แต่บริเวณเท้าจะลดลงสำหรับการเปลี่ยนแปลงความเอียงของโต๊ะที่เพิ่มขึ้นจาก 0 ถึง 15 ทำให้ภาวะไม่สบายลดลง แต่เมื่อมีความลาดเอียงมากขึ้นจนถึง 25 ระดับภาวะไม่สบายจะเพิ่มขึ้น โดยที่การเปลี่ยนแปลงความเอียงของพื้นโต๊ะนั้น จะส่งผลกระทบต่อภาวะไม่สบายมากกว่าการเปลี่ยนแปลงความสูงของเก้าอี้ และความสูงของโต๊ะ จากผลการทดลองครั้งนี้ อาจสรุปได้ว่า สถานีทำงานที่เหมาะสมควรมีระดับความสูงของโต๊ะสูงกว่าความสูงของข้อศอกจากพื้นขณะนั่ง 4 ซม. ความลาดเอียงของพื้นโต๊ะควรเป็น 15 และเก้าอี้นั่งควรมีระดับความสูงเท่ากับ หรือต่ำกว่าความสูงของข้อพับเข่าด้านในไม่เกิน 1 ซม. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จัดให้มีขึ้นเพื่อทดสอบว่าการนำเทคโนโลยีการวิจัยไปประยุกต์ในกิจการอุตสาหกรรม จะกระทำได้เพียงใด ซึ่งก็ได้ผลสรุปว่า น่าจะกระทำได้โดยการจำลองสถานการณ์ทำงานจากงานอุตสาหกรรมจริงๆ และใช้อุปกรณ์ที่ได้จัดสร้างขึ้น แต่อาจจำกัดอยู่ในลักษณะงานที่ทำคนเดียว เช่นกิจกรรมเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น | en |
dc.description.abstractalternative | It is obvious that assemblyline-production industry is rapidly expanded. Labour is sometimes overused. Occupational health creates greatly concerned. It is anticipated that workers who perform their task with prolonged sitting will face static load problems. Static muscle loading, if prolonged, can cause pain which is ill-health, and in turn, causes low productivity. The study was to design and construct a workstation composed of a chair and table adjusted by a pneumatic system. The experiment was designed to use 5 setups, i.e., chair height, seat inclination, back rest inclination, table height and table inclination. The task was to read a book. Three factors were varied, i.e., chair height, table height and table inclination. Comfort rating scale from 0-4 was employed for 18 tested postures. It was found out that higher seat height caused higher discomfort score in the area of neck, shoulder, back, waist, buttock and thigh. But the score is lower in the area of feet. Table inclination, increased from 0 to 15, reduced the discomfort score, but it was rising when table inclination reached 25. It was concluded that the change of table inclination gave higher effects than the changes of chair's and table's heights. From this experiment, it was recommended that a suitable workstation have the height and inclination of a table and a chair as follows: the table height was 4 cm. Higher than elbow height while sitting, table inclination was 15 and the seat height was equal to politeal height or 1 cm. Lower than the popliteal height. This study was encouraged in order to test the possibility to apply research technology in production industry. It was convinced that the application was feasible using industrial task simulation. The constructed equipment would be helpful particularly if the task was to perform individually such as the tasks in garment industry. | en |
dc.description.sponsorship | กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 27465462 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ท่านั่ง | en |
dc.subject | เออร์โกโนมิกส์ | en |
dc.subject | เก้าอี้--การออกแบบ--มนุษย์ปัจจัย | en |
dc.subject | โต๊ะ--การออกแบบ--มนุษย์ปัจจัย | en |
dc.title | การศึกษาลักษณะท่าทางการนั่งทำงาน : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Grgonomic design of pneumatic chair based on general survey of sitting posture at work | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Kitti.I@Chula.ac.th | - |
dc.email.author | fmewyc@eng.chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kitti_ergonomic.pdf | 11.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.