Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2228
Title: โครงการการศึกษา ทดสอบ และ สร้างโมเดลคณิตศาสตร์สำหรับการทำงานของฮีทไปป์
Other Titles: การศึกษา ทดสอบ และสร้างโมเดลคณิตศาสตร์สำหรับการทำงานของฮีทไปป์
A project to study, test and construct mathematical model for the performance of heat pipe
Authors: วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
Subjects: ความร้อน
พลังงาน
ฮีทไปป์
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานการทดสอบสมรรถนะการทำงานของฮีทไปป์และเป็นงานค้นหาแบบจำลองเชิงทฤษฎีที่สามารถอธิบายผลการวัดที่ได้จากการทดลองข้างต้น งานทดสอบที่ทำขึ้นเน้นการแปรมุมเอียงที่วางฮีทไปป์จากแนวระดับ เพราะเป็นตัวแปรที่เปลี่ยนได้ง่ายในการออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบฮีทไปป์ และมีผลมากต่อสมรรถนะการทำงานของฮีทไปป์ ผลของการทดสอบที่ได้ยืนยันข้อสรุปทางทฤษฎีที่ว่า สมรรถนะการถ่ายเทความร้อนสูงสุดของฮีทไปป์จะสูงขึ้น ถ้าวางฮีทไปป์ให้ทำมุมบวกมากกว่าศูนย์จากแนวระดับ (นั่นคือ ช่วงการควบแน่นอยู่สูงกว่าช่วงการระเหย) และสมรรถนะสูงสุดจะลดลงถ้าวางฮีทไปป์ให้ทำมุมลบ (ช่วงการควบแน่นอยู่ต่ำกว่าช่วงการระเหย) นอกจากนี้งานวิจัยนี้ได้เลือกแบบจำลองเชิงทฤษฎีอย่างง่ายๆ ที่สามารถใช้ทำนายอัตราการถ่ายเทความร้อนของฮีทไปป์ โดยให้ค่าผิดพลาดเชิงทฤษฎีเป็น +-25% และเสนอแนะวิธีการใช้ตัวคูณชดเชย เพื่อลดค่าผิดพลาดเหลือเป็น +-7.5% อนึ่ง ยังได้เสนอตัวอย่างการคำนวณเพื่อสาธิตการคำนวณออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบฮีทไปป์ (Heat-pipe Heat-exchanger) สำหรับใช้งงานในอุตสาหกรรมอีกด้วย
Other Abstract: The current research consists of the testing (measurement) of the performance of the heat pipe and the search for a simple theoretical model that can describe the above testing results. The testing experiments put emphasis on the angle at which the heat pipe is placed against the horizontal line, because this variable is easy to change in the design of a heat-pipe heat-exchanger and it exerts significant effect on theoretical conclusion that the maximum heat transfer capacity of the heat pipe is higher if it is placed at a positive angle (i.e. the condensation sectionis higher than the evaporation section) and that the maximum capacity is reduced if the angle is negative (the condensation section is lower than the evaporation section) Furthermore, the current work has found a simple theoretical model that can predict the heat transfer rate of the heat pipe, with +-25% accuracy, and has proposed the use of a correction factor to increase the accuracy to +-7.5%. In addition, a design example has been given toillustrate the procedure to design a heat-pipe heat-exchanger for industrial usage.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2228
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiwut_mathematical.pdf12.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.