Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22505
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราพร เกศพิชญวัฒนา | - |
dc.contributor.advisor | สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล | - |
dc.contributor.author | กมลกานต์ ปรีชาธีรศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-09T09:34:30Z | - |
dc.date.available | 2012-10-09T09:34:30Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22505 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม และการทบทวนข้อมูลย้อนหลังของผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด จำนวน 314 รายจากบันทึกทางการพยาบาล และบันทึกอาการ ได้ปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อคือ 1) อายุที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 75 ปี 2) ประวัติติดสุรา 3) ภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด 4) การได้รับยากลุ่ม Benzodiazepines, Anticholinergics 5) ความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา การคิด การรับรู้ 6) ระดับอิเล็กโตรไลท์ในเลือดไม่สมดุล 1-2 วันก่อนผ่าตัด และ 7) ระดับฮีโมโกลบิน ฮีมาโตรคริตที่ผิดปกติหลังผ่าตัด 1-2 วัน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากนั้นนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเขตกรุงเทพฯ จำนวน 300 คน ผลการศึกษาพบผู้ป่วย 25 คนใน 300 คน ที่เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดตามการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน CAM ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ปัจจัย คือ มีความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา การคิด การรับรู้ อายุที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 75 ปี มีประวัติการได้รับยากลุ่ม Benzodiazepines, Anticholinergics และมีภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด แต่ไม่มีรายใดมีประวัติการติดสุราจากการคัดกรองด้วยเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน และพบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงกับจำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 (Yates’ Correction Chi-square 261.165 และค่าสหสัมพันธ์แบบ Cramer’s V 0.956) เครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดที่สร้างขึ้น สามารถค้นหาบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดได้ เมื่อกำหนดเกณฑ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ปัจจัย ทั้งนี้เครื่องมือคัดกรองนี้ต้องการตรวจสอบความตรงรายปัจจัยในการบ่งชี้ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this descriptive study were to construct and examine a delirium risk factor screening tool for postoperative elderly patients. Through this study, the tool was developed and validated by reviewing the literature and retrospective data from nurses’ notes and progress notes about postoperative delirium in 314 elderly patients. It incorporates 7 delirium risk factors which are: advanced age, alcoholism, preoperative depression, use of Benzodiazepines and Anticholinergic drugs, cognitive impairment, electrolyte and hemoglobin imbalance, abnormal hematocrit, blood loss and blood transfusion. The content validity was validated by 5 experts. A sample of 300 elderly postoperative orthopedic patients participated in the study. From this study, CAM tool can detect 25 deliriums from 300 elderly postoperative patients. Mainly, there are 4 delirium risk factors which are cognitive impairment, advanced age, use of Benzodiazepines and Anticholinergic drugs and preoperative depression. There is no alcoholism to be delirium risk factor detected by this tool. The result shows that there is high correlation between delirium risk patients and postoperative delirium at statistical significant p<0.05 (Yates’ Correction Chi-square 261.165 and Cramer’s V is 0.956) This delirium risk factor screening tool can detect delirium when defining 4 or more risk factors. It is suggested to review each delirium risk factors specifically in the further study. | en |
dc.format.extent | 17394122 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ | en |
dc.subject | การตรวจคัดโรค | en |
dc.subject | ศัลยกรรม -- ปัจจัยเสี่ยง | en |
dc.title | การสร้างเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด | en |
dc.title.alternative | A construction of a delirium risk factors screening tool for postoperative elderly patients | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Jiraporn.Ke@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Sutthichai.J@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kamolkan_pr.pdf | 16.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.