Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22511
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพันธ์ เดชะคุปต์-
dc.contributor.authorอรชา ชูเชื้อ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-10-10-
dc.date.available2012-10-10-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22511-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหลังการเรียนการสอนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ (2) เปรียบเทียบความ สามารถในการแก้ปัญหาระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ (3) ศึกษามโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายหลังการเรียนการสอนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์และ (4) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม จังหวัดบึงกาฬ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 36 คน เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ และกลุ่มควบคุมจำนวน.35 คนเรียนฟิสิกส์ด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) แบบประเมินกระบวนการแก้ปัญหาซึ่งมีค่าความตรงเท่ากับ 0.87 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาซึ่งมีค่าความตรงเท่ากับ 0.82 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.30-0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.32-0.54 และ (2) แบบวัดมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดล ซึ่งมีค่าความตรงเท่ากับ 0.84 ความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.36-0.78 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.32-0.68 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถใน การแก้ปัญหาเท่ากับ 76.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถ ในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละมโนทัศน์ เรื่องโมเมนตัมและการดลเท่ากับ 75.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 4 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThis study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were (1) to study ability in problem solving of an experimental group learned through instructional using strategic knowledge construction (2) to compare problem solving ability of students between group learned through instructional using strategic knowledge construction and group learned through conventional method, (3) to study concepts of momentum and impulse of an experimental group learned through instructional using strategic knowledge construction, and (4) to compare concepts of momentum and impulse between group learned through instructional using strategic knowledge construction and group learned through conventional method. The samples were 2 classrooms of mathayomsuksa 5 students of Pakkhat pittayacom school, Buengkan province, in the second semester of academic year 2011. The research instruments were (1) problem solving process evaluation form with validity at 0.87 and the reliability at 0.89, and the problem solving ability test with validity at 0.82, the reliability at 0.91, the level of difficulty between 0.30-0.80, and the level of discrimination between 0.32-0.54, and (2) test on concepts of momentum and impulse with validity at 0.84, the reliability at 0.82, the level of difficulty between 0.36-0.78, and the level of discrimination between 0.32-0.68. The collected data were analyzed by arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The experimental group had mean score on problem-solving ability at the percentage of 76.03 which were higher than criterion set. 2. The experimental group had mean score on problem-solving ability test higher then control group at 0.05 level of significance. 3. The experimental group had mean score on concepts of momentum and impulse at the percentage of 75.70 which were higher than criterion set. 4. The experimental group had mean score on concepts of momentum and impulse test higher then control group at 0.05 level of significance.en
dc.format.extent2455967 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.883-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen
dc.subjectฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectการแก้ปัญหาen
dc.titleผลของการเรียนการสอนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาและมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen
dc.title.alternativeEffects of physics instruction using strategic knowledge construction on problem solving ability and concepts of momentum and impulse of upper secondary school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPimpan.d@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.883-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
oracha_ch.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.