Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2505
Title: การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Self care and quality of life of aids patients in dramaraksananivesana project, Lop Buri province
Authors: ถนอมศักดิ์ ทองมั่น, 2518-
Advisors: นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
อานนท์ วรยิ่งยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Narin.H@Chula.ac.th
Arnond.V@Chula.ac.th
Subjects: โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์
โรคเอดส์
โรคเอดส์--ผู้ป่วย--การดูแล
คุณภาพชีวิต
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ ในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ จังหวัดลพบุรี เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยเอดส์ ศึกษาในช่วงเดือน ธันวาคม 2547-มกราคม 2548 โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์การดูแลตนเอง และแบบวัดคุณภาพชีวิต (MOS-SF 36) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (71%) มัธยฐานของอายุเท่ากับ 36 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ (34.3%) การศึกษาระดับประถมศึกษา (43.8%) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ จากเพศสัมพันธ์ ชนิดต่างเพศ (71%) มัธยฐานของระยะเวลาที่เข้ารับการดูแลในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ เท่ากับ 5 เดือน และได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ (78.1%) การดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี (87.6%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ การประกอบอาชีพเดิม รายได้เดิม อาการทางร่างกายที่เป็นปัญหา การยอมรับของครอบครัว และความเอาใจใส่ของบุคลากร/ผู้ดูแล คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับไม่ดี (65.7%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อาการทางร่างกายที่เป็นปัญหา บุคคลที่ผู้ป่วยเอดส์เคยพักอาศัยอยู่ด้วยเดิม ความเอาใจใส่ของบุคลากร/ผู้ดูแล และยังพบว่า การดูแลตนเองมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ในการวางแผนการ จัดบริการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทยให้เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: To assess the self care and quality of life of AIDS patients in Dramaraksananivesana project, Lop Buri province. The study was conducted between December 2004-January 2005. The studied samples were 169 AIDS patients. Data were collected by using questionnaire interviews about general information, self care and Medical Outcome Study 36: MOS 36 item. Short form: SF-36 (MOS-SF 36). The results showed that most of the AIDS patients were male (71%), the median age was 36 years, 34.3% were married, 43.8% completed primary school. 71% of risk behavior for HIV acquisition were heterosexual, the median duration of care in Dramaraksananivesana project was 5 months and 78.1% were currently taking antiretroviral drugs. 87.6% of studied subjects had good level of self care. There were statistically significant associations (p-value<0.05) between previous occupation, previous income, physical illness, acceptance of family member and care from health personnel. 65.7% had low quality of life. There were statistically significant associations (p-value<0.05) between physical illness, previous household and care from health personnel. It was also found that there was statistically significant association (p-value<0.05) between self care and quality of life. The results of this study may be served as baseline information about the level of self care and quality of life of the AIDS patients and applied for optimizing the service system for health promotion and appropriate treatment for AIDS patients in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2505
ISBN: 9745317683
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanomsak.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.