Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25230
Title: การประเมินการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน เซฟตาซิดีม และ อิมิพีเนม/ซิลาสตาดินหรือเมโรพีเนมของผู้ป่วยในเด็กโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Other Titles: Drug use evaluation of ciprofloxacin, ceftazidime and imipenem/cilastatin or meropenem for pediatric in-patients at Phramongkutklao hospital
Authors: ศิริมา รัตนเสรีสุข
Advisors: ประภาพักตร์ ศิลปโชติ
อังกรู เกิดพาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน เซฟตาซิดีม และ อิมิพีเนม/ซิลาสตาตินหรือเมโรพีเนมของผู้ป่วยเด็ก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บข้อมูล และประเมินการใช้ยาในขณะที่ผู้ป่วยได้รับการสั่งใช้ยา หรือ ภายในระยะ 24-72 ชั่วโมงหลังจากได้รับการสั่งใช้ยา โดยศึกษาในผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 14 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2544 ถึง 31 กรกฎาคม 2545 การประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพในเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาความสมเหตุสมผลในการใช้ยาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินการใช้ยาที่สร้างขึ้น โดยผู้วิจัยได้พัฒนาเกณฑ์ และ เผยแพร่แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ยา ซึ่งเกณฑ์นี้ได้ผ่านการรับรองจากหน่วยโรคติดเชื้อ กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า การประเมินการใช้ยาแบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ 1) การตัดสินใจใช้ยา 2) กระบวนการ และ 3) ผลการรักษา รวมถึงมีการดำเนินการแก้ไขโดยเภสัชกรเมื่อพบการสั่งใช้ยาที่ไม่ตรงตามเกณฑ์ หรือ พบปัญหาการใช้ยา ผลการวิจัยพบว่า การสั่งใช้ยา 98 ครั้งให้แก่ผู้ป่วยเด็กจำนวน 58 คน มีการสั่งใช้ยาเซฟตาซิดีมมากที่สุด ส่วนเหตุผลในการใช้ยาที่พบมากที่สุดคือ การติดเชื้อในกระแสโลหิต คิดเป็นร้อยละ 25.62 ผลการประเมินการใช้ยา พบการสั่งใช้ยาตรงตามเกณฑ์การประเมินการใช้ยา 70 ครั้ง (ร้อยละ 71.43) คิดเป็นมูลค่า 413,184 บาท ไม่ตรงตามเกณฑ์ประเมินการใช้ยาอย่างน้อย 1 หัวข้อ 15 ครั้ง (ร้อยละ 15.31) คิดเป็นมูลค่า 58,411 บาท และ ไม่สามารถสรุปได้ 13 ครั้ง (ร้อยละ 13.26) คิดเป็นมูลค่า 82,035 บาท ผลการประเมินผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นโดยหายหรือมีอาการทุเลาร้อยละ 76.53 รองลงมาเป็นผู้ป่วยซึ่งมีอาการไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 16.33 ผู้ป่วยอาการเลวลงร้อยละ 4.08 และผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 3.06 การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ พบว่าควรมีการดำเนินงานประเมินการใช้ยาต่อเนื่องไป เพื่อให้การใช้ยาทุกครั้งมีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
Other Abstract: The purpose of the research was to evaluate the use of ciprofloxacin, ceftazidime and imipenem/cilastatin or meropenem in both qualitative and quantitative aspects. The data were collected and evaluated while the patients were on the medications or within 24-72 hours after received medication order. Patients were newborn up to 14 years old who were admitted at the Phramongkutklao hospital from December 2001 to July 2002. The qualitative evaluation was performed to determine the rational use of antibacterial drugs by comparing it to the criteria, which was approved by Infection Unit, Department of Pediatric, Phramongkutklao Hospital and disseminated to all involved personal. The evaluation was determine in 3 categories: 1) justification of use, 2) process and 3) outcome. In addition, intervention was performed by pharmacist when drug use evaluation (DUE) criteria was not met and/or drug related problem (DRP) was detected. The result of the study showed that the antibacterial drugs were prescribed 98 times to 58 pediatrics in-patients. Ceftazidime was the most frequently used. Sepsis was the most encountered indication (25.62%). This study showed that an appropriate use of antibacterial drug in all 3 categories accounted in 70 times (71.43%) of prescribing, equivalent to 413,184 bahts in expense and inappropriate in at least 1 category 15 times (15.31%) equivalent to 58,411 bahts whereas the remaining 13.26% equivalent to 82,035 bahts was considered unevaluated. Outcome evaluation indicated that 76.53% of patients were recovered or improved. 16.33% was unchanged. 4.08% was getting worse, and 3.06% was dead. In conclusion, this research has exhibited that the DUE program should be continuously performed for effective use of antibacterial drug, safety and most benefit.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25230
ISBN: 9741718217
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirima_ra_front.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_ra_ch1.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_ra_ch2.pdf11.41 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_ra_ch3.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_ra_ch4.pdf18.31 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_ra_ch5.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_ra_back.pdf28.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.