Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2546
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Cost analysis of patients services in King Chulalongkorn Memorial Hospital : patients services area
Authors: ภิรมย์ กมลรัตนกุล
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล
Email: Pirom.K@Chula.ac.th
Jiruth.S@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันสังคม
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
บริการทางการแพทย์--ค่าใช้จ่าย
ผู้ป่วย--ค่าใช้จ่าย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยของการให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่ละหอผู้ป่วย, ต้นทุนผู้ป่วยที่ขอรับการสงเคราะห์, ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล, ต้นทุนแต่ละกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, ต้นทุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และต้นทุนการตรวจทางรังสีวิทยา โดยศึกษาในมุมมองของผู้ให้บริการ โดยรวบรวมข้อมูล 6 เดือน (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2543 ถึง 31 มีนาคม 2544) ทั้งนี้ได้แบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 ประเภท คือ หน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 30 หน่วยงาน, หน่วยงานที่ก่อให้เกิดรายได้ 26 หน่วยงาน และหน่วยงานให้บริการผู้ป่วยโดยตรง 89 หน่วยงาน ต้นทุนทางตรงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน ต้นทุนรวมแบ่งเป็น 2 มุมมอง คือ ต้นทุนทางตรงกับต้นทุนทางอ้อม และต้นทุนค่าบริการพื้นฐานกับต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ การกระจายต้นทุนจากหน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหน่วยงานที่ก่อให้เกิดรายได้ไปยังหน่วยงานให้บริการผู้ป่วยโดยใช้วิธีสมการพีชคณิตเส้นตรง (Simultaneous Equation Method) ศึกษาต้นทุนเบื้องต้นของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมโรคใช้ข้อมูลพื้นฐานจากต้นทุนต่อหน่วยของหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัด 425 กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม จากจำนวนผู้ป่วย 19,228 คน ศึกษาต้นทุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 450 รายการ และการตรวจทางรังสีวิทยา 163 รายการ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยใน (IPD) มีวันนอนรวม 183,814 วัน ต้นทุนรวม 1,089,842,638 บาทต่อ 6 เดือน และต้นทุนต่อหน่วย 5,929.05 บาทต่อวันนอน โครงสร้างต้นทุน ค่าแรง : ค่าวัสดุ = 20 : 67 : 13 ต้นทุนทางตรง : ต้นทุนทางอ้อม = 60 : 40 ต้นทุนค่าบริการพื้นฐาน : ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ = 62.63 : 37.37 ผู้ป่วยนอก (OPD) มารับบริการ 462,422 ครั้ง ต้นทุนรวม 832,297,031 บาท และต้นทุนต่อหน่วย 1,799.86 บาทต่อครั้ง โครงสร้างต้นทุน ค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน = 4 : 91 : 6 ต้นทุนทางตรง : ต้นทุนทางอ้อม = 78 : 22 ต้นทุนค่าบริการพื้นฐาน : ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ = 32.75 : 67.25 ผู้ป่วยวิกฤต (ICU) มีวันนอนรวม12,467 วัน ต้นทุนรวม 209,539,109 บาท และต้นทุนต่อหน่วย 18,374.68 บาทต่อวันนอน โครงสร้างต้นทุน ค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน = 22 : 61 : 17 ต้นทุนทางตรง : ต้นทุนทางอ้อม = 70 : 30 ต้นทุนค่าบริาการพื้นฐาน : ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ = 58.91 : 41.09 ห้องผ่าตัดมีจำนวน 9 แห่ง 50 เตียง มีต้นทุนรวม 149,497,765 บาท ต้นทุนต่อหน่วย 2,428.57 บาทต่อชั่วโมงต่อเตียง ผู้ป่วยนอกที่ขอรับการสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลในระยะเวลา 6 เดือน มีจำนวน 46,001 ครั้ง ต้นทุนรวม 31,868,380 บาท ต้นทุนต่อหน่วย 692.78 บาทต่อครั้ง ผู้ป่วยในสามัญมีจำนวนครั้งการบรรจุผู้ป่วย 8,373 ครั้ง จำนวนวันนอน 70,208 วัน ต้นทุนรวม 340,693,225 บาท ต้นทุนเฉลี่ย 4,852.63 บาทต่อวันนอน และ 40,689.50 บาทต่อ 1 ครั้งของการบรรจุผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ทุกระดับของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีจำนวน 5,284 คน ต้นทุนรวมค่ารักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่ 30,994,363 บาทต่อ 6 เดือน ต้นทุนต่อหน่วย 5,865.70 บาทต่อคน สัดส่วนต้นทุนค่ารักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่ : ครอบครัวเจ้าหน้าที่ = 29 : 71 การศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นแนวทางในการวางแผน ดำเนินนโยบายการรับผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารระดับต้นของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หน่วยงานที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือหน่วยงานให้บริการผู้ป่วยควรได้พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ทั้งระบบการบริหารบุคลาการ การเบิกจ่ายวัสดุ และการใช้ครุภัณฑ์ รวมถึงพื้นที่ของโรงพยาบาลให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อลดต้นทุนการให้บริการ แต่ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมและธำรงไว้ซึ่งคุณภาพผลผลิตของแต่ละหน่วยงานด้วย นอกจากนี้แล้วอาจพิจารณาปรับอัตราค่าบริการผู้ป่วย
Other Abstract: The purpose of this research were to explore the total cost and unit cost of out-patient department (OPD) and in-patient department (IPD) services in each patient ward, cost of health welfare patient, health care cost of hospital personnel, cost of each Diagnosis Related Group (DRG), cost of laboratory tests and radiological investigations from the provider perspective. Data were collected in 6 months, during October 1, 2000 - March 31, 2001. The hospital departments were grouped into (1) 30 Non-Revenue Producing Cost Centers (NRPCCs), (2) 26 Revenue Producing Cost Centers (RPCCs), and (3) 89 Patient Service Areas (PS). The hospital direct costs were categorized to labor cost (LC), material cost (MC), and capital cost (CC). Two approaches of categorization of full cost were applied : (1) total direct cost (TDC) and total indirect cost (TIC), and (2) routine service cost (RSC) and medical care cost (MCC). The simultaneous equation method was used to allocate cost from NRPCCs and RPCCs to PSs. The cost of treating 425 DRGs costs based on 19,191 patients were calculated from the unit cost of wards and operation rooms. The analysis also incluse 450 laboratory tests and 163 radiological investigations. Based on the data of 183,814 in-patient days, it was found that the general IPD services, excluding critical care unit, costed 1,089,842,638 baht in total or 5,929.05 baht per patient day. The structures of the cost were that LC : MC : CC equal 20: 67 : 13, TDC : TIC equal 60 : 40, and RSC : MCC equal 62.63 : 37.37. The OPD services totaled 462,422 visits incurring 832,297,031 baht of total cost, or 1,799.86 baht per visit on average. The structures of the cost were that LC : MC : CC equal 4 : 91 : 6, TDC : TIC equal 78 : 22, and RSC : MCC equal 32.75 : 67.25. There were 12,467 patient days of critical in-patient care services costing 209,539,109 baht, or 18,374.68 baht per patient day. The structures of the cost were that LC : MC : CC equal 22 : 61 : 17, TDC : TIC equal 70 : 30, and RSC : MCC equal 58.91 : 41.09. There were nine operation rooms, 50 operation beds, costing 149,497,765 baht in total or 2,428.57 baht per hour per bed on average. The OPD services of health welfare patients in 6 months totaled 46,001 visits, costing 31,868,380 baht or 692.78 baht per visit on average. The destitute IPD patients totaled 8,373 admissions, costing 340,693,225 baht in total, 4,852.63 baht per patient day or 40,689.50 baht admission. The total cost providing health benefit for the 5,284 hospital personnel was 30,994,363 baht (6 months) or 5,865.70 baht per person on average. The ratio of health care cost of personnel : personnel's family was 29 : 71. The hospital cost results lead to the guidelines to plan for contracting the health insurance systems. The hospital board of directors and department chiefs including NRPCC, RPCC and PS departments and uints should consider to engineer their work systems, human resources systems, material control systems, and durable articles as well as hospital space using for the most benefit inorder to decrease the service costs. Nevertheless, the cost containment should preserve quality of each unit. In addition, the charge price should be revisal.
Description: ล.1 หน่วยให้บริการผู้ป่วย -- ล.2 กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม -- ล.3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการและรังสีวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2546
ISBN: 9748226956 (ล.1)
9748226964 (ล.2)
9748226972 (ล.3)
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirom(pa3).pdf23.85 MBAdobe PDFView/Open
Pirom(pa2).pdf28.56 MBAdobe PDFView/Open
Pirom(pa1).pdf28.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.