Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25782
Title: การควบคุมระบบจราจรด้วยคอมพิวเตอร์
Other Titles: Computerized traffic optimal control
Authors: วิศาล อั่งสกุล
Advisors: จรวย บุญยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: จราจร
Issue Date: 2515
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจรแบบนี้ก็เพื่อต้องการจัดจำนวนรถระหว่างสี่แยกหนึ่งถึงสี่แยกหนึ่งโดยที่ไม่ทำให้เกิดการจราจรติดขัด โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการจราจรหนาแน่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ตามสี่แยกที่ใช้ระบบไฟสองจังหวะหรือสี่จังหวะในการควบคุมการจราจรและตามถนนที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่สามทางขึ้นไป หลักการที่ใช้ขึ้นกับการเขียนโปรแกรมและการนำวิชาสถิติมาประยุกต์เข้าด้วยกันโดยใช้ทฤษฎีที่ว่าด้วยแรนดอมนัมเบอร์กับทฤษฎีที่ว่าด้วยความน่าจะเป็นเพื่อกำหนดช่วงเวลาความถี่ห่างของรถที่เข้ามาถึงสี่แยกกับการที่รถออกจากจุดที่กำหนดตรงสี่แยก จากการศึกษาผลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการจัดสัดส่วนของไฟในรอบหนึ่งๆ ของการปล่อยรถออกจากสี่แยกที่อยู่ในช่วงเวลาสมมุติของการจราจร ทำให้เราสามารถหาการกระจายของจำนวนรถเข้าออกระหว่างสี่แยกและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนรถในถนนตลอดจนหาค่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดไฟตรงสี่แยกนั้นจากกร๊าฟก่อนที่จะนำโปรแกรมนี้ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ต้องอาศัยข้อมูลทางสถิติที่ได้จากการสังเกตและนับจำนวนความถี่ของรถที่เข้าออก ความน่าจะเป็นของรถที่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาและรถทางตรงในช่วงเวลาที่กล่าวมาข้างต้นนี้
Other Abstract: The model developed here optimizes the queue between intersections. It is applicable to a network of four-way intersections with two-phase or four-phase signal lights control and three or-more lanes of streets. The principal is based on the computer programming, however, the statistical method is also the basic. The theory of random-number is applied to generate the number of arrivals and services. By studying the various proportion of phasings, it is obtained the distribution of input-output vehicles between intersections and variation of queue-lengths. Plotting the graph, so that the optimal solution of timing can be found. All of these applications can be achieved by observing statistically data, taken from counters and detectors, of the flow for peak-hour period. Then the probability of turn left-right and straightforward, servicing-time and the form of frequency distribution of vehicles can be found.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25782
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Visarn_An_front.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Visarn_An_ch1.pdf566.03 kBAdobe PDFView/Open
Visarn_An_ch2.pdf632.58 kBAdobe PDFView/Open
Visarn_An_ch3.pdf968.55 kBAdobe PDFView/Open
Visarn_An_ch4.pdf682.73 kBAdobe PDFView/Open
Visarn_An_ch5.pdf272.33 kBAdobe PDFView/Open
Visarn_An_back.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.