Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26039
Title: Effect of gamma radiation on water extractable protein content and physical properties of concentrated latex and vulcanized rubber film
Other Titles: ผลของการฉายรังสีแกมมาต่อปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้และสมบัติทางกายภาพของน้ำยางข้นและฟิล์มยางวัลคาไนซ์
Authors: Oranoot Haowuttikul
Advisors: Jariya Boonjawat
Chyagrit Siri-Upathum
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Issue Date: 2003
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: To study the effect of gamma radiation on water extractable proteins (WEP) in natural rubber latex and physical properties of concentrated latex and radiation vulcanized rubber film. The fresh field latex (FFL) used is free from of tetramethyl thiuram disulphide and zinc oxide and collected from Rayong province during 2001-2003. WEP content in FFL shows seasonal variation 70-20 mg/g rubber parallel to %DRC, which starts at 40% at the beginning of tapping season (May-October) and decreases to 30% towards the end of tapping season (November-January). The WEP can be reduced about 90% by centrifugation, and the concentrated latex (CL) 60% obtained shows seasonal variation in similar pattern as FFL starting about 5 mg/g rubber at the beginning of tapping season, and 1-2 mg/g at the end of tapping season. Irradiation of FFL at low dose of 1-10 kGy resulted in disintegration of water-soluble latex proteins, increased small peptides and easy for removal by leaching of rubber film, whereas high doses 40- 120 kGy resulted in disintegration of insoluble protein and consequently increasing amount of WEP greater than in non-irradiated FFL. Hence, deproteinized CL (DPCL) by Alcalase enzyme which had WEP 82 ± 28 µg/g rubber, nitrogen content < 0.09% and MST lower than 200 sec was therefore used for irradiated at 10 kGy. It was found that WEP still increased to 373 ± 72 µg/g rubber and MST could not be increased. The better approach was alginate addition to interact with protein and creaming of latex to improve recovery yield of concentrated latex 60%. WEP of alginate added CL (AGCL) was lower than 300 µg/g rubber and physical properties meets with ISO 2004 specification except magnesium content and nitrogen content was < 0.20%. Irradiation of AGCL at 10 kGy on days 17-150 after centrifugation could slightly increase MST, but not higher than 1200 sec. WEP extracted from radiation vulcanized rubber film (RVRF) was lower than 300 ug/g rubber. After leaching RVRF with distilled water at the ratio 1 g rubber to 10 ml at 70°c for 30 minutes, WEP was lower than 50 µg/g rubber and free from major allergen proteins molecular weight (MW) range 14-45 kDa. It was confirmed by skin prick test that shows the negative results in 2 volunteers who shows positive test with commercial standard allergen. The radiation vulcanized rubber film from CCL, DPCL and AGCL at thickness 0.2-0.3 mm had all physical properties comparable to commercial dental rubber dam.
Other Abstract: ศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อโปรตีนที่ละลายน้ำได้ในน้ำยางธรรมชาติและสมบัติทางกายภาพของน้ำยางข้นและยางวัลคาไนซ์ด้วยวิธีการฉายรังสี น้ำยางสดที่ใช้ปราศจากเทตราเมทิล ไทยูแรมไดซัลไฟด์และซิงค์ออกไซด์รวบรวมจากจังหวัดระยอง ระหว่างปี 2544-2546 ซึ่งมีปริมาณโปรตีนที่ ละลายน้ำได้ในน้ำยางสด 20-70 มิลลิกรัมต่อกรัมยาง มีความแปรผันแบบคู่ขนานกับปริมาณเนื้อยางแห้งซึ่งมีค่าร้อยละ 40 ในช่วงต้นฤดูกรีดยางและฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และลดลงเป็นร้อยละ 30 ในช่วงปลายฤดูกรีดคือพฤศจิกายนถึงมกราคม เมื่อปั่นเหวี่ยงเป็นน้ำยางข้นพบว่าโปรตีนที่ละลายน้ำได้ลดลงร้อยละ 90 ในน้ำยาง ข้นควบคุมที่ไม่ฉายรังสีพบการแปรผันตามฤดูกาลเช่นเดียวกับน้ำยางสดคือ 5 มิลลิกรัมต่อกรัมยางต้นฤดูกรีดและลดลงเหลือ 1-2 มิลลิกรัมต่อกรัมยางในช่วงปลายฤดูกรีด การฉายรังสีน้ำยางสดก่อนปั่นเหวี่ยงที่ความเข้มต่ำ 1-10 กิโลเกรย์ มีผลให้โปรตีนในยางที่ละลายน้ำได้แตกสลายเป็นจำนวนสายเปบไทด์มากขึ้น ขนาดเล็กลงล้างออกจากแผ่นฟิล์มยางได้ดีแต่ที่ความเข้มของรังสี 40-120 กิโลเกรย์มีข้อเสียคือโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำถูกทำลายกลายเป็น โปรตีนที่ละลายน้ำได้ทำให้หลังการฉายรังสีกลับมีโปรตีนละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ดังนั้นจึงเปลี่ยนเป็นฉายรังสีน้ำยางข้นที่ความเข้ม 10 กิโลเกรย์แก่น้ำยางข้นโปรตีนต่ำซึ่งขจัดโปรตีนทั้งหมดด้วยเอนไซม์อัลคาเลสจนมีโปรตีนที่ละลายน้ำได้ 82 ± 28 ไมโครกรัมต่อกรัมยาง ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดต่ำกว่าร้อยละ 0.09 และความเสถียรต่อแรงกล (MST) ต่ำกว่า 200 วินาที พบว่ายังคงทำให้โปรตีนที่ละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น 373 ± 72 ไมโครกรัมต่อกรัมยางโดยไม่สามารถเพิ่ม MST ได้ วิธีที่ดีกว่าคือการเติมอัลจิเนตเพื่อไปจับกับโปรตีนและทำให้อนุภาคยางเกาะกลุ่มก่อนปั่นเหวี่ยงช่วยเพิ่มผลผลิตของน้ำยางข้น ทำให้ปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้ลดลงน้อยกว่า 300 ไมโครกรัมต่อกรัมและสมบัติทางกายภาพอยู่ในช่วงของข้อกำหนดน้ำยางข้น ISO 2004 ยกเว้นปริมาณ แมกนีเซียม รวมทั้งปริมาณไนโตรเจนต่ำกว่า 0.20% การฉายรังสีน้ำยางข้นที่เติมอัลจิเนตที่ความเข้ม 10 กิโลเกรย์ที่เวลา 17-150 วันหลังการปั่นเหวี่ยง ทำให้ MST เพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกิน 1200 วินาที ปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้ที่สกัดจากฟิล์มยางวัลคาไนซ์น้อยกว่า 300 ไมโครกรัมต่อกรัมยาง ซึ่งภายหลังการล้างแผ่นฟิล์มยางในอัตรา ส่วนยาง 1 กรัมต่อน้ำกลั่น 10 มิลลิลิตรที่ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาทีแผ่นฟิล์มยางวัลคาไนซ์โดยรังสี มี ปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้ต่ำกว่า 50 ไมโครกรัมต่อกรัมยางและปราศจากโปรตีนขนาด 14-45 กิโลดาลตันซึ่ง เป็นแอลเลอเจนหลักยืนยันโดยวิธีสะกิดผิวหนังให้ผลเป็นลบในบุคคลากร 2 คนที่ให้ผลบวกกับแอลเลอเจนมาตรฐาน แผ่นฟิล์มยางที่วัลคาไนซ์ด้วยรังสีทั้งน้ำยางควบคุม น้ำยางข้นโปรตีนต่ำน้ำยางเติมอัลจิเนตที่ความหนา 0.2-0.3 มิลลิเมตร มีสมบัติทางกายภาพโดยรวมใกล้เคียงกับฟิล์มยางที่ใช้ในทางทันตกรรม
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2003
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Biochemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26039
ISBN: 9741751621
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranoot_ha_front.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ha_ch1.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ha_ch2.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ha_ch3.pdf12.49 MBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ha_ch4.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ha_ch5.pdf751.71 kBAdobe PDFView/Open
Oranoot_ha_back.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.