Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2604
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุวรรณา กิจภากรณ์-
dc.contributor.authorจันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ-
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ เศรษฐกุล-
dc.contributor.authorจักรกริศน์ เนื่องจำนงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล-
dc.date.accessioned2006-09-18T12:16:43Z-
dc.date.available2006-09-18T12:16:43Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2604-
dc.description.abstractสุกรลูกผสม 3 สาย น้ำหนักเริ่มต้นประมาณ 25 +- 5 กก. จำนวน 40 ตัว เป็นสุกรเพศผู้ตอน 19 ตัว และเพศเมีย 21 ตัว ทำการสุ่มเพื่อแบ่งสุกรออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว นำไปเลี้ยงขังเดี่ยวด้วยอาหารที่มีกรดอะมิโนเมทไทโอนีน 0.25% และ 0.19% และกรดอะมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ในระดับ 0.45% และ 0.37% ของน้ำหนักแห้ง ในสุกรช่วงน้ำหนัก 30-60 กก. และ 60-95 กก. ตามลำดับ โดยมีระดับไลซีนและพลังงานใช้ประโยชน์คงที่เสริมด้วยกรดอะมิโนเมทไทโอนีนในระดับ 0.0%, 0.1%, 0.2% และ 0.3% ในอาหารทั้ง 2 ช่วงน้ำหนัก เลี้ยงจนได้น้ำหนัก 95 +- 5 กก. จากนั้นนำไปฆ่าเพื่อประเมินคุณภาพซาก เก็บข้อมูล อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในคอกทุกวัน น้ำหนักสุกร ปริมาณอาหารที่กิน จำนวนวันที่ใช้ และคุณภาพซากทั้งปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลโดยใช้ Analysis of Variance และใช้ Duncan's New Multiple Range Test ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ขณะทดลองเป็น 27.73 องศาเซลเซียส, 33.10 องศาเซลเซียส และ 85.56%, 62.93% ในเวลา 8.00 น. และ 16.00 น. ตามลำดับ ในช่วงน้ำหนัก 30-60 กก. ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของน้ำหนักเพิ่ม ปริมาณอาหารที่กิน และจำนวนวันที่ใช้ในการทำน้ำหนักตัว แต่พบความแตกต่างในเรื่องของอัตราการ แลกเนื้อ (P<0.05) โดยในกลุ่มที่เสริมด้วยเมทไทโอนีนในระดับ 0.1% เป็นกลุ่มที่โตดีที่สุดและใช้เวลาในการทำน้ำหนักตัวน้อยที่สุด และไม่พบความแตกต่างทางสถิติในทุกลักษณะที่สังเกตในช่วงน้ำหนัก 60-95 กก. ในเรื่องเพศพบว่าสุกรเพศผู้ตอนให้อัตราการเจริญเติบโตดีกว่าเพศเมียในทุกช่วงน้ำหนัก และใช้เวลาในการทำน้ำหนักตัวน้อยกว่าเพศเมีย (P<0.01) โดยที่กลุ่มที่ไม่ได้เสริมและกลุ่มที่เสริมในระดับ 0.1% ให้ผลไม่แตกต่างกันแต่แตกต่างจาก 2 กลุ่มที่เหลือ ในช่วงน้ำหนัก 30-60 กก. ขณะที่ในช่วง 60-95 กก. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) ในทุกกลุ่ม ทางด้านคุณภาพซาก การเสริมเมทไทโอนีนที่ระดับ 0.2% ให้พื้นที่หน้าตัดไขมันมีค่าสูงที่สุดและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกลุ่มที่ไม่เสริม แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เสริมที่ระดับ 0.1% และ 0.3% ความหนาไขมันสันหลังในสุกรเพศผู้ตอนหนากว่าเพศเมีย (P<0.01) แต่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงน้อยกว่าเพศเมีย (P<0.05) การเสริมเมทไทโอนีนทุกระดับไม่มีผลต่อค่าความเป็นกรดเป็นด่างในเนื้อสัน (pH) ความสามารถในการอุ้มน้ำของโปรตีนในเนื้อสุกร (WHC) แต่พบว่ามีผลต่อความเข้มของสีเนื้อ (P<0.01)en
dc.description.abstractalternativeForty three-way crossbred pigs were used in this study. Nineteen castrated boars and twenty-one gilts were assigned to 40 individual feeding stalls. Four ration of 0.25% and 0.19% methionine and 0.45% and 0.37% sulfur amino acid (dry matter) were randomly assigned to ten pigs each at a fixed lysine and energy level during 30-60 kg and 60-95 kg, respectively. Methionine was supplemented at 0.0%, 0.1%, 0.2% and 0.3% at two weight ranges. The pigs were slaughtered at 95 +- 5 kg for carcass evaluation. Data on daily temperature and relative humidity, pig weight, feed consumed, days on test as well as carcass traits were collected. Analysis of Variance and Duncan's New Multiple Range Test were used for treatment mean comparisons. Temperature and relative humidity during the experiment were 27.73 C and 33.10 C and 85.56% and 62.93%, at 8.00 am. And 16.00 pm., respectively. There was a statistically significance during 30-60 kg in feed conversion ratio (P<0.05) but not in weight gain, feed consumptin and days on test. Pigs fed 0.1% methionine supplement grew fastest and spent least time on test. During 60-95 kg, no differences in any traits was observed. Castrated pigs grew faster and spent less time on test than gilts (P<0.05). No methionine level by sex interaction was found. Methionine efficiency in four rations differed significantly (P<0.01). Control and 0.1% methionine supplement differed from the other two groups at 30-60 kg. At 60-95 kg, significant differences were found among 4 groups (P<0.01). Methionine supplement at 0.2% showed bigger fat area than the control group (P<0.05) but not differed form 0.1% and 0.3% supplement. Castrated pigs shows thicker back fat (P<0.01) but less lean percentage than gilts (P<0.05). Methionine supplements did not affect loin pH and water holding capacity but affect meat color (P<0.01).en
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent4328947 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเม็ทธิโอนีนen
dc.subjectสุกร--การเลี้ยงen
dc.subjectสุกร--อาหารen
dc.titleผลการเสริมเมทไทโอนีนในอาหารสุกร ที่มีระดับไลซีนและพลังงานคงที่ ต่อคุณลักษณะการให้ผลผลิตและคุณภาพซาก : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeEffects of methionine supplement at certain lysine and energy levels on production and careass traits of fattening pigsen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorSuwanna.Ki@Chula.ac.th-
dc.email.authorChancharat.R@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuwannaChancharat.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.