Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2630
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมงคล เตชะกำพุ-
dc.contributor.authorวันเพ็ญ ศรีอนันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์-
dc.date.accessioned2006-09-19T07:11:53Z-
dc.date.available2006-09-19T07:11:53Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2630-
dc.description.abstractจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยของการเตรียมโอโอไซต์และการเตรียมตัวอสุจิในการฏิสนธินอกร่างกายในสุกร โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาปัจจัยของการเตรียมโอโอไซต์ ประกอบด้วย 3 การทดลองย่อย โดยใช้โอโอไซต์ทั้งหมด 1,086 ใน เพื่อศึกษาปัจจัยของระยะเวลาในการเลี้ยงโอโอไซต์ให้พร้อมปฏิสนธิในหลอดทดลอง ชนิดของโอโอไซต์และแหล่งของโอโอไซต์ระหว่างจากรังไข่ของแม่สุกรและสุกรสาว ผลการศึกษาพบว่าเวลาที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงโอโอไซต์คือ 40-48 ชม. โดยโอโอไซต์ที่มีเซลล์คิวมูลัสหุ้มหลายชั้นจะให้อัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนสูงที่สุด และโอโอไซต์จากรังไข่ของแม่สุกรสามารถใช้สำหรับการปฏิสนธินอกร่างกายแต่อัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนต่ำกว่าโอโอไซต์จากรังไข่ของสุกรสาร การทดลองที่ 2 ศึกษาปัจจัยของการเตรียมตัวอสุจิ ประกอบด้วย 3 การทดลองย่อย โดยใช้โอโอไซต์ทั้งหมด 1,235 ใบ เพื่อศึกษาปัจจัยของชนิดของตัวอสุจิระหว่างชนิดที่เก็บจากท่ออิปิไดมีสกับที่หลั่งออกมา ระยะเวลาในการเลี้ยงตัวอสุจิในช่วง 1, 2 และ 4 ชม. และเปรียบเทียบระหว่างสารเร่งการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิชนิดรวมของเพนนิซิลามีน ไฮโปทอรีนและอิปิเปนฟริน (พี เอช อี) และชนิดคาเฟอีน ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างของอัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนระหว่างตัวอสุจิจากท่ออิปิไดมีสและที่หลั่งอกมา เช่นเดียวกับผลการทดลองของสารพี เอช อี และคาเฟอีน ในขระที่ระยะเวลาในการเลี้ยงตัวอสุจิที่ 1 ชม. ให้อัตราความสำเร็จสูงสุด จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยของการเตียมโอโอไซต์และการเตียมตัวอสุจิมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิสนธินอกร่างกายในสุกรen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the two major factors; oocyte and sperm preparation influencing the success of in vitro fertilization inn pig. Two expperiments were conducted: Experiment I: Factors of oocyte preparation. It composed of three subfactors as : time of oocyte maturation, oocyte type and source of ooctyes. A total of 1,086 oocyted were allocated for the experiments. The 40 to 48 hrs of oocyte culture time was sutitable for a high rate of embryonic development. The complex cumulus oocytes (CCO) gave the highedt rate of cleavage compared to the rate obtained from single layers and denude oocytes. Sow ovary can be used for a source of oocytes but the cleavage rate was lower than that of gilt's ovary. Experiment II: Factors of sperm preapration. Three subfactors, by using 1,235 oocytes, were conducted in order to evaluate the type of sperm which was epididymal or ejaculated sperm, time of sperm capacitation and type of sperm motility-stimuating agents; Penicillamine Hypotarine Epinephrine (PHE) or Caffeine on the success of in vitro fertilization. It was found that the cleavage rate between epididymal and ejaculated sperm was not different as well as the results between PHE and Caffeine. Nevertheless, the highest of cleavage rate was found in the group of one hour capacitation compared to the groups of two and four hour capaciation. This study showed some factors; oocyte and sperm preparation influcenced on the success of in vitro fertilization in pig.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2538en
dc.format.extent6503416 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปฏิสนธิในหลอดแก้วen
dc.subjectการปรับปรุงพันธุ์en
dc.subjectโอโอไซด์en
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายในสุกร : ปัจจัยที่เกี่ยวกับการเตรียมโอโอไซต์และการเตรียมตัวอสุจิ : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeFactors influence the success of in vitro fertilization in pig : Oocyte and sperm preparationen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authormongkol.t@chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MongkolFac.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.