Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26400
Title: จักรวรรดินิยมอเมริกัน : ความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ค.ศ. 2001
Other Titles: Ameriacn imperialism continuities and changes before and after september 11, 2001
Authors: กิตติศักดิ์ พรหมเปี่ยม
Advisors: สรวิศ ชัยนาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2548
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 การศึกษานี้ได้อาศัยกรอบแนวคิดเรื่อง “จักรวรรดินิยม” ในการวิเคราะห์ โดยได้ตั้งคำถามเพื่อการสำรวจและวิเคราะห์ในสองประเด็นกว้างๆคือ หนึ่ง สหรัฐฯ เป็นประเทศจักรวรรดินิยมหรือไม่? และสอง หากเป็นเช่นนั้นจริง “จักรวรรดินิยมอเมริกัน” มีลักษณะแตกต่างจากประเทศจักรวรรดินิยมอื่นๆ ในอดีตอย่างที่หลายคนเชื่อหรือไม่? (สหรัฐฯเป็นจักรวรรดินิยมที่ดี และความมีอยู่ของจักรวรรดินิยมอเมริกันจะก่อให้เกิดเสถียรภาพ สันติภาพ ตลอดจนนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่โลกโดยรวม) จากการศึกษาพบว่า “จักรวรรดินิยม” เป็นลักษณะที่ต่อเนื่องในนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ที่มีลักษณะโดดเด่นในช่วงหลังวันที่ 11 กันยายน ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีก่อน การดำเนินการในลักษณะเอกภาคี และการเสริมสร้างความเป็นหนึ่งทางการทหาร โดยไม่สนใจคำนึงถึงกฎระเบียบระหว่างประเทศ ภายใต้ “หลักการบุช” มีลักษณะเป็นการ ”สืบทอด” และ “ขยาย” ความเป็น “จักรวรรดินิยมอเมริกัน” ที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้โดยมีเป้าหมายหลักสูงสุดคือ “ความพยายามครอบครองความเป็นเจ้า”
Other Abstract: The main objective of this thesis is to study continuities and changes in the history of U.S. foreign policy before and after September 11, 2001. Using empire as an analytical framework, the thesis seeks to examine two broad questions. One, is the United States is an empire? And two, if the United States is an empire, is it an "exceptional" one? Concerning American foreign policy in the wake of September 11, 2001, the thesis argues that it is aimed primarily at global control through preventive strategy, unilateral action, and the maintenance of a preponderance of power. These approaches suggest both continuities and discontinuities from the past. The thesis argues that the main theme of U.S. foreign policy is and has historically been empire.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ค.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26400
ISBN: 9741738404
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittisak_pr_front.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_pr_ch1.pdf14.92 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_pr_ch2.pdf15.55 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_pr_ch3.pdf17.25 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_pr_ch4.pdf24.41 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_pr_ch5.pdf10.41 MBAdobe PDFView/Open
Kittisak_pr_back.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.