Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2707
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อารดา กีระนันทน์ | - |
dc.contributor.author | ธวัชชัย ดุสิตกุล, 2519- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-22 | - |
dc.date.available | 2006-09-22 | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745317985 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2707 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ผู้วิจัยมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะบทโขนละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจำนวน 32 รายการ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอบทพระราชนิพนธ์กับศิลปะการแสดง พร้อมทั้งประเมินค่าเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระราชนิพนธ์บทโขนละครเป็นผลงานที่มีคุณค่าทางด้านวรรณคดีและศิลปะการแสดง พระราชนิพนธ์บทโขนละครสามารถแบ่งประเภทได้เป็น บทเบิกโรงจำนวน 6 รายการ บทโขนจำนวน 13 รายการ บทละครรำจำนวน 7 รายการ บทละครดึกดำบรรพ์จำนวน 4 รายการร และบทละครร้องจำนวน 2 รายการ จากการศึกษาพบว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดละครมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงมีพระราชประสบการณ์ในด้านการละครทั้งในและต่างประเทศ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้และทรงเข้าพระทัยในศิลปะการแสดงอันหลากหลาย จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทโขนละครให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ ได้แก่ บทเบิกโรงสัมพันธ์กับการแสดงเบิกโรงของไทยและสันสกฤต, บทโขนสัมพันธ์กับลักษณะการแสดงโขนโรงใน, บทละครรำสัมพันธ์กับลักษณะการแสดงละครนอก ละครใน และละครดึกดำบรรพ์, บทละครดึกดำบรรพ์และบทละครร้องสัมพันธ์กับลักษณะการแสดงละครดึกดำบรรพ์พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และการแสดงละครโอเปราของชาติตะวันตก พระราชนิพนธ์บทโขนละครเป็นผลงานการประพันธ์ที่มีคุณค่าทางด้านวรรณคดี ในด้านเนื้อหา มีการให้ความรู้ทางวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม ให้แนวความคิดเน้นความสำคัญของการเป็นชาติอารยะ ความสำคัญของผู้นำ และความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ให้ข้อคิดอันเป็นคติในการดำเนินชีวิต และมีลักษณะเนื้อหาที่สร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการ ในด้านการใช้ภาษามีการเลือกใช้ฉันทลักษณ์ การสรรคำ และการใช้สำนวนโวหารความเปรียบเทียบเพื่อสร้างความงดงามทางวรรณศิลป์ ในด้านการแสดง พระราชนิพนธ์บทโขนละครมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ และสามารถนำไปจัดแสดงได้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้พระองค์ยังทรงริเริ่มทดลองสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงแบบใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการโขนละครของไทย ได้แก่ การแสดงเบิกโรงตามแนวของละครสันสกฤต โขนโรงใน ละครร้อง และละครรำ ที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างละครนอกและละครใน ตลอดจนทรงริเริ่มทดลองปรับปรุงส่วนประกอบของการแสดงให้มีความแปลกใหม่ ได้แก่ เครื่องแต่งตัวละคร วีธีการพากย์โขน และการให้สัญญาณในการชมละคร การศึกษาพระราชนิพนธ์บทโขนละครจึงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในด้านการประพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชกรณียกิจด้านการสืบสานและส่งเสริมศิลปะการแสดงโขนละครอันเป็นมรดกวัฒนธรรมประจำชาติไทย แนวพระราชดำริและบทพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ชนชาวไทยสมควรศึกษาและเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study and evaluate the characteristics of the thirty-two Bot Khon Lakhon (classical dance drama texts) of King Rama VI in terms of the relationship between the presentation styles of those texts and performing arts and to illustrate that they are of literary and dramatic values. Bot Khon Lakhon reviewed can be divided into the following categories: Bot Bekrong (6 texts), Bot Khon (13 texts), Bot Lakhon Ram (7 texts), Bot Lakhon Dukdamban (4 texts), and Bot Lakhon Rong (2 texts). The study shows that King Rama VI had been fond of Lakhon since he was young, and he had much experience in Lakhon domestically and abroad. As a consequence, he was profoundly knowledgeable in various areas of performing arts, and thus he was able to compose Bot Khon Lakhon to correspond to many kinds of performances; namely, Bot Bekrong corresponding to performances of Thai and Sanskrit Bekrong; Bot Khon corresponding to performances of Khon Rong Nai; Bot Lakhon Ram corresponding to performances ofLakhon Nok, Lakhon Nai, and Lakhon Dukdamban; Bot Lakhon Dukdamban and Bot Lakhon Rong corresponding to performances of Lakhon Dukdamban by Prince Narisara Nuvadtivongs, and western opera. Interestingly, Bot Khon Lakhon reflects the literary values in the following aspects: content, language usage, and performing arts. Regarding their contents, they reveal a wide range of knowledge in literature, history, society, and culture. In addition, through the ideas embedded, Bot Khon Lakhon raises readers{7f2019} and audience{7f2019}s awareness of the importance of national civilization and leadership, loyalty towards the King, and ways to live one{7f2019}s life. Aside from such distinctive values, the contents are created by imagination as well. With respect to the language usage, techniques such as versification, word selection, and metaphors are used to establish rhetoric in his literary works. For performing arts, Bot Khon Lakhon is composed to correspond to several sorts of performing arts, resulting in elaborate performances. Furthermore, King Rama VI graciously introduced innovations of performing styles into the circles of Thai Khon Lakhon, such as Bekrong performances in the style of Sansakrit Lakhon, Khon Rong Nai, Lakhon Rong, and Lakhon Ram with integrated characteristics of Lakhon Nok and Lakhon Nai. Apart from such innovations, he graciously initiated the improvement of performing elements, such as performers{7f2019} costume, reciting techniques for Khon, signalling at the beginning of performances. The study of Bot Khon Lakhon proclaims King Rama VI{7f2019}s royal wisdom in composing literary works, and royal activities in pursuing and supporting performing arts of Khon Lakhon which are cultural heritage of Thailand. According to the study, it is obvious that Bot Khon Lakhon is of great literary values worth studying and should be widely made known. | en |
dc.format.extent | 8172529 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.860 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468 -- บทละคร | en |
dc.subject | บทละครไทย | en |
dc.title | บทโขนละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | en |
dc.title.alternative | Bot Khon Lakhon (classical dance drama texts) by King Rama VI | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Arada.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.860 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TawatchaiD.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.