Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27272
Title: ดีออกซิจิเนชันของไบโอออยล์ที่ได้จากไพโรไลซิสของกระถินยักษ์ Leucaena leucocepphala โดยใช้แพลทินัมรองรับบนอะลูมินา
Other Titles: Deoxygenation of bio-oil derived from pyrolysis of Leucaena leucocepphala using platinum supported on alumina
Authors: จิราพร พยอมหอม
Advisors: นพิดา หิญชีระนันทน์
ประพันธ์ คูชลธารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Napida.H@Chula.ac.th
prapank@sc.chula.ac.th
Subjects: การแยกสลายด้วยความร้อน
กระถิน
แพลทินัม
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของไบโอออยล์ที่ได้จากการไพโรไลซิสของต้นกระถินยักษ์ผ่านกระบวนการดีออกซิจิเนชันเร่งปฏิกิริยาด้วยแพลทินัมรองรับบนอะลูมินา (Pt/Al₂O₃) สำหรับงานวิจัยนี้ศึกษาภาวะในการดีออกซิจิเนชัน ได้แก่ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิ ระยะเวลา ความดันเริ่มต้นของแก๊สไนโตรเจน และปริมาณแก๊สไฮโดรเจน พบว่าการดีออกซิจิเนชันที่อุณหภูมิ 420 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศไนโตรเจนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และใช้ Pt/Al₂O₃ ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักเป็นภาวะที่สามารถกำจัดสารประกอบออกซิเจนในไบโออยล์ได้สูงประมาณร้อยละ 94 ผ่านกระบวนการรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำ ปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟท์ และดีไฮเดรชัน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของไบโอออยล์ที่ได้จากการไพโรไลซิสกระถินยักษ์ ฟางข้าว สาหร่าย และขี้เลื่อย พบว่าไบโอออยล์ที่ได้จากการไพโรไลซิสของสาหร่ายให้ผลการกำจัดออกซิเจนได้สูงสุดที่ร้อยละ 94 สารประกอบทางเคมีในไบโอออยล์ที่ได้จากการไพโรไลซิสของชีวมวลเหล่านี้ซึ่งถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (GC-MS) ก่อนและหลังการดีออกซิจิเนชันเชิงเร่งปฏิกิริยา ผลการทดลองพบว่าไม้กระถินยักษ์และขี้เลื่อยซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งมีองค์ประกอบของลิกนินสูงกว่าให้ผลิตภัณฑ์ไบโอออยล์ที่มีความซับซ้อนของสารประกอบออกซิเจนมากกว่าโดยอยู่ในรูปของฟีนอล และอนุพันธ์ของฟีนอล ซึ่งยากต่อการกำจัดสารประกอบออกซิเจนเมื่อเทียบกับไบโอออยล์ที่ได้จากการไพโรไลซิสสาหร่ายและฟางข้าว
Other Abstract: This article studied the quality improvement of bio-oil obtained from pyrolysis of Leucaena leucocephala via deoxygenation catalyzed by platinum supported on alumina (Pt/Al₂O₃). For this research studied the condition of deoxygenation such as catalyst loading, temperature, reaction time, initial pressure of nitrogen and hydrogen content. The deoxygenation found that the reaction temperature of 420℃ under N₂ atmosphere for 1 hour and using 10% (w/w) of Pt/Al₂O₃ was the condition to eliminate the oxygenated compounds in the bio-oil ca. 94% via steam reforming, water-gas shift reaction and dehydration. To consider the chemical compounds of bio-oil derived from pyrolysis Leucaena luecocephala, rice straw, algae and sawdust, the results indicated that bio-oil derived from pyrolysis of algae gave the highest of oxygen removal as ca. 94%. The chemical compounds in bio-oils obtained from pyrolysis of these biomass were analyzed by using a gas chromatography-mass spectrophotometer (GC-MS) before and after catalytic deoxygenation. The results showed that Leucaena leucocephala and sawdust, which are hard woods were composed with higher lignin content. It gave the product of bio-oil with more complexity of oxygenated compounds such as the phenol and its derivatives in the bio-oil, resulting in the higher difficulty to remove oxygenated compounds than algae and rice straw.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเชื้อเพลิง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27272
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1947
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1947
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jiraporn_pa.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.