Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27372
Title: กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาวเพื่อผู้จัดการทั่วไป
Other Titles: Administration strategies of five-star hotel management programs for general managers
Authors: พันธุ์พัฒน์ กัลยา
Advisors: ปิยพงษ์ สุเมตติกุล
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Piyapong.S@Chula.ac.th
Pruet.S@Chula.ac.th
Subjects: การวางแผนหลักสูตร -- แง่ยุทธศาสตร์
การจัดการโรงแรม -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
ผู้จัดการโรงแรม -- การศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน รวมทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของหลักสูตรการจัดการโรงแรมและการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการจัดการโรงแรมและการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรม 3) เพื่อได้กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาวเพื่อผู้จัดการทั่วไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณมีหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถานศึกษาในประเทศไทยที่เป็นของรัฐและเอกชนที่เปิดสอนหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติและที่เปิดสอนมาแล้วอย่างน้อย 4 ปีจำนวน 68 สถาบันการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ประธานหลักสูตรการจัดการโรงแรม กรรมการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรม หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโรงแรม และอาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอนการจัดการโรงแรม จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) แล้นำข้อมูลมาจัดทำกลยุทธ์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT กำหนดกลยุทธ์ ตรวจสอบกลยุทธ์ครั้งที่ 1 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางสายการศึกษา ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมระดับ 5 ดาว ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาวและผู้มีส่วนได้เสียกับการใช้บัณฑิตที่จบการศึกษา และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของหลักสูตรการจัดการโรงแรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( 3.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ การจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้ของหลักสูตร ( 3.42) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ( 3.37 ) และการประเมินผลหลักสูตร ( 3.37 ) ส่วนสภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมในประเทศไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 3.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้านดังนี้ คณาจารย์และบุคลากรการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ( 3.91) การประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ( 3.70) ทรัพยากรการเรียนการสอนและการจัดการตรงกับระดับปฏิบัติการมาก ( 3.62) และแนวทางการพัฒนาคณาจารย์อยู่ในระดับปานกลาง ( 3.29) 2. สภาพที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการจัดการโรงแรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 4.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยดังนี้ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ( 4.22) การประเมินผลหลักสูตร ( 4.22) การจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้ของหลักสูตร ( 4.21) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมในประเทศไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 4.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้านและอยู่ในระดับมาก 3 ด้านเรียงตามค่าเฉลี่ยดังนี้ คณาจารย์และบุคลากรการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.66) ทรัพยากรการเรียนการสอนและการจัดการอยู่ในระดับมาก ( 4.48) แนวทางการพัฒนาคณาจารย์อยู่ในระดับมาก ( 4.40) การประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ( 4.42) 3. กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาวเพื่อผู้จัดการทั่วไปประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 10 กลยุทธ์ และวิธีการเสริม 17 วิธีการ กลยุทธ์หลักมีดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 นวัตกรรมหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาวเพื่อผู้จัดการทั่วไป กลยุทธ์ที่ 2 สร้างคณาจารย์การจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาวสายพันธุ์ใหม่ กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับทรัพยากรการเรียนการสอนและการจัดการเทียบเท่าการปฏิบัติการจริงในโรงแรมระดับ 5 ดาว และกลยุทธ์ที่ 4 ประกันคุณภาพและรับรองผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานสากล
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the current condition weakness strength opportunity and threat of hotel management programs and administration hotel management programs in Thailand 2) to study the expected condition of hotel management programs and administration hotel management programs 3) to propose administration strategies of five-star hotel management programs for general managers using mixed methodology research. Unit of analysis in qualitative study were 68 government and private universities and/or colleges in Thailand, which are providing hotel management program in Thai and/or English. These targets open teaching at least 4 years. 116 samples were collected from the directors, committees, division heads, department heads, and hotel management lecturers, using questionnaires to survey the current condition weakness strength opportunity and threat of hotel management programs and administration hotel management programs in Thailand and the expected condition of hotel management programs and administration hotel management programs. Data was analyzed using frequencies, percentage, mean, standard deviation, and t-test. To formulate strategies by using SWOT analysis technique. Then the strategies were examined by interview expertise in educational administration, five-star hotel’s general managers, five-star hotel’s owners, and people who use these out puts. The strategies were examined once again by using focus group technique. The research findings were summarized as follows: 1. The overall and each aspect of current state of hotel management programs was at moderate level ( 3.37). The average aspect was as follows: curriculum’s contents and learning experiences was at moderate level ( 3.42), curriculum’s objective was at moderate level ( 3.37 ), and curriculum’s evaluation was at moderate level ( 3.37). The overall of current state of administration of hotel management programs in Thailand was at high level. There were 3 high levels and 1 moderate level by individual aspect respectively in lecturer and supporting team was at high level ( 3.91), curriculum’s quality and teaching & learning management assurance was at high level ( 3.70), teaching & learning resources and management was at high level ( 3.62), and lecturer’s development was at moderate level ( 3.29). 2. The overall and each desirable of hotel management programs was at high level ( 4.22). The high aspect was as follows: curriculum’s objective was at high level ( 4.22), curriculum’s evaluation was at high level ( 4.22), and curriculum’s contents and learning experiences was at high level ( 4.21). The overall desirable of administration of hotel management programs in Thailand was at high level ( 4.49). There were 1 very high level and 3 high levels by individual aspect respectively in lecturer and supporting team was at very high level ( 4.66), teaching & learning resources and management was at high level ( 4.48), the curriculum’s quality and teaching management assurance was at high level ( 4.42) and lecturer’s development was at high level ( 4.40). 3. Proposed administration strategies of five-star hotel management programs for general managers, consists of 4 major strategies, 10 minor strategies and 17 methods. The major strategies were as follows: 1. Innovative five-star hotel management programs for general managers. 2. New generation lecturer for five-star hotel management programs. 3. Lifting the instructional and management. 4. International standard quality assurance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27372
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1973
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1973
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panpath_ka.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.