Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร ช่วงสุวนิช-
dc.contributor.authorน้ำผึ้ง มีนิล, 2520--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-06T09:57:39Z-
dc.date.available2006-06-06T09:57:39Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741797435-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/273-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหลังการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิก 2) เปรียบเทียบการใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิตโดยใช้ และไม่ใช้เทคนิคผังกราฟฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิก มีนักเรียน 66 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยไม่ใช้เทคนิคผังกราฟฟิกมีนักเรียน 67 คน แบ่งกลุ่มทำโครงงานได้ 16 และ 17 กลุ่ม ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบตรวจสอบการใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำ โครงงานวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบตรวจความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนโดยการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิตได้คะแนนการใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดีคือสูงกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนที่เรียนโดยการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกแบบต่างๆในการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิตได้คะแนนความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี คือสูงกว่าร้อยละ 70 3. นักเรียนที่เรียนโดยการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการเรียนการสอนได้คะแนนการใช้ระเบียบวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกับนักเรียนที่เรียนโดยไม่มีการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการเรียนการสอนวิชาโครงงาน วิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่เรียนโดยการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการเรียนการสอน ได้คะแนนความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยไม่มีการใช้เทคนิคผังกราฟฟิก ในการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the use of scientific method and ability in doing science projects of lower secondary school students after using graphic organizers in learning science project and quality of life 2) to compare the use of scientific method and ability in doing science projects of the lower secondary school students between groups learning science with and without using graphic organizers. The sample were two groups of mathayom suksa three students of Chulalongkorn University Demonstration School. The experimental group with 66 students which were divided into 16 groups learned by using graphic organizers while the controlled group with 67 students which were divided into 17 groups learned by convention method without using graphic organizers. The research instruments were the checking form for 1) the use of scientific method and 2) ability in doing science projects. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The mean score of the use of scientific method of the students learned by using graphic organizers was higher than 70 percent which was the criterion score. 2. The mean score of ability in doing science projects of the students learned by using graphic organizers was higher than 70 percent which was the criterion score. 3. The scores of using scientific method of the students learned by using graphic organizers were not different from those learned without using graphic organizers at the .05 level of significance. 4. The scores of ability in doing science projects of the students learned by using graphic organizers was higher than those learned without using graphic organizers at the .05 level of significance.en
dc.format.extent1933215 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.641-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโครงงานวิทยาศาสตร์en
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen
dc.subjectทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์en
dc.subjectผังกราฟิกen
dc.titleผลของการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิตที่มีต่อการใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeEffects of using graphic organizer technique in the instruction of science project and quality of life subject on using scientific method and ability in doing science projects of lower secondary school studentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.641-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nampung.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.