Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27506
Title: การพัฒนาผงโรยข้าวรสบูดูจากปลานิลจิตรลดารมควันร้อน
Other Titles: Development of Budu-favour rice seasoning from hot–smoked Tilapia (Oreochromis nilotica)
Authors: อทิตา ชนะสิทธิ์
Advisors: ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล
พาสวดี ประทีปะเสน
วรภา คงเป็นสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Chaleeda.B@Chula.ac.th
Pasawadee.P@Chula.ac.th
Varapha.L@chula.ac.th
Subjects: ปลานิล -- การอบแห้ง
อาหารแปรรูป
อาหารแห้ง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตร และกระบวนการผลิตผงโรยข้าวรสบูดูข้าวยำจากปลานิลจิตรลดารมควันร้อน ให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค รวมถึงศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพด้านต่างๆ ระหว่างเก็บรักษาขั้นตอนที่หนึ่งศึกษาหาภาวะการผลิตปลานิลจิตรลดารมควันร้อนป่น โดยแปรระยะเวลาในการรมควันเนื้อปลาและการอบแห้งเนื้อปลาป่นเป็นเวลา 1 – 3 ชม. คัดเลือกภาวะที่เหมาะสมจากการวิเคราะห์ปริมาณความชื้น ค่า aw และ ค่าสี (L*, a*, b*) พบว่าการรมควันร้อนที่อุณหภูมิ 60 ºC เป็นเวลา 3 ชม. ตามด้วยอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 ºC เป็นเวลา 3 ชม. เป็นภาวะที่ให้ลักษณะของปลานิลรมควันตามต้องการ จากนั้นนำปลานิลจิตรลดารมควันร้อนที่ได้มาบดและอบแห้งเนื้อปลาป่นต่อพบว่าการอบที่อุณหภูมิ 70 ºC เป็นเวลา 2 ชม. เป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุดขั้นตอนที่สองคัดเลือกสูตรผงโรยข้าวรสบูดูข้าวยำจากปลานิลจิตรลดารมควันร้อนโดยใช้สูตรต้นแบบ 2 สูตร นำไปทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส โดยใช้ผู้ทดสอบ 60 คน พบว่าสูตรผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ สูตรที่ใช้กะปิเป็นส่วนผสม ขั้นตอนที่สามศึกษาภาวะการอบแห้งน้ำบูดูข้าวยำโดยใช้ตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ (55 ºC, 1 ชม. 45 นาที) กับตู้อบลมร้อน (90 ºC, 4 ชม.) พบว่าเมื่ออบแห้งผงบูดูข้าวยำให้มีความชื้น 1–2% (w.b) ผงบูดูข้าวยำที่ผ่านการอบแห้งโดยใช้ตู้อบแห้งแบบสุญญากาศมีค่าความสว่าง (L*) และค่าสีแดง (a*) มากกว่าผงบูดูข้าวยำที่ผ่านการอบแห้งโดยใช้ตู้อบลมร้อน และไม่พบความแตกต่างกันของค่า aw ค่าสีเหลือง (b*) ค่าความหืน และองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ผงบูดูข้าวยำทั้งสองวิธีการอบแห้ง แต่วิธีการใช้ตู้อบแห้งแบบสุญญากาศใช้พลังงานน้อยกว่าการอบแห้งแบบตู้อบลมร้อน ขั้นตอนที่สี่ทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผงโรยข้าวซึ่งมีการแปรสัดส่วนระหว่างปริมาณผงบูดูข้าวยำและปลานิลจิตรลดารมควันร้อนป่นเป็น 3 ระดับ คือ 1:1 2:1 และ 3:1 โดยใช้ผู้ทดสอบ 60 คน พบว่าสัดส่วนของผงบูดูข้าวยำและปลานิลจิตรลดารมควันร้อนป่นเท่ากับ 3:1 เป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบมากที่สุดการติดตามการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวรสบูดูจากปลานิลจิตรลดารมควันร้อน ซึ่งบรรจุในถุงลามิเนต 3 ชั้น (PE-Al-PE) ที่ 35 ºC พบว่า เมื่อเวลาในการเก็บรักษานานขึ้น ผลิตภัณฑ์ปลานิลจิตรลดารมควันร้อนป่นมีสีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป มีปริมาณความชื้น และค่า TBA สูงขึ้น แต่มีแนวโน้มของคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ลดลง และไม่พบความแตกต่างกันของค่า aw ในระหว่างการเก็บรักษา นอกจากนี้ยังพบว่าตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 20 วัน ผลิตภัณฑ์มีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 250 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม ยีสต์และรามีจำนวนน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม เมื่อพิจาณาผลิตภัณฑ์ผงบูดูข้าวยำที่เวลาในการเก็บรักษานานขึ้นพบว่า ค่าสี และกลิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนค่า TBA ปริมาณความชื้นและค่า aw มีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ค่าคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ลดลง โดยตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 80 วัน ผลิตภัณฑ์มีจำนวน จุลินทรีย์ทั้งหมดยีสต์กับราและ Staphylococcus aureus น้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
Other Abstract: This research was aimed to develop new rice seasoning product from Budu-khaw-yum and hot-smoked Tilapia fish. In the first part, a suitable condition for hot smoking of Tilapia fish was studied by varying smoking time (1-3 h) and drying time (1-3 h) at 60 ºC. After smoking and drying properties of smoked fish were assessed in terms of moisture content, aw and flesh colour (L*, a*, b*). The results showed that the optimum condition for hot–smoked Tilapia fish was smoking at 60 ºC, 3 h and followed by drying at 60 ºC for 3 h, then smoked fish was ground and dried again under hot air dryer at 70 ºC for 2 h could produce good quality dried hot- smoked Tilapia fish powder. In the second part, Budu-khaw-yum seasoning recipe was selected by comparing two recipes using Acceptance test with 60 panelists. The most accepted recipe was the one containing shrimp paste. In the third part, a production of Budu-khaw-yam seasoning powder was studied by comparing effect of two drying processess (vacuum drying, 55 ºC, 1 h. 45 min and hot air drying 90 ºC, 4h.) on chemical and physical properties of Budu-khaw-yum powder at the same final moisture content of 1-2 % (w.b.). The results showed that drying Budu-khaw-yum seasoning using vacuum dryer produced Budu-khaw-yam powder which had higher L* and a* value than using hot air dryer. Although, aw, b*, Thiobabituric acid (TBA) and proximate composition were not different from using hot air dryer, but the total energy consumption of vacuum dryer was much less than using hot air dryer. Fourth part of this research, a suitable ratio (1:1, 2:1 and 3:1) between Budu- khaw-yam seasoning powder and hot-smoked Tilapia fish powder was determined by using acceptance test with 60 panelists. The accepted ratio of Budu-khaw-yam seasoning powder and hot-smoked Tilapia fish powder was 3 parts of Budu-khaw-yam seasoning powder to 1 part of hot-smoked Tilapia fish powder. Finally, the qualities of product during storage as to product was packed in laminated aluminium bag (PE/AL/PE) at 35 ºC. The result showed that when increasing storage time was changed color and smell qualities of hot–smoked Tilapia fish powder. The moisture content and TBA increased significantly and the overall acceptability score slightly decrease. However the value of aw were not significant difference. Throughout 20 days storage the total bacterial count were lower than 250 CFU/g and yeast mold count were lower than 10 CFU/g. The Budu-khaw-yum powder had increased in moisture content, aw and TBA when storage time was increasing. The color and odor were changed and the overall acceptability score was slightly decreased. Throughout storage time for 80 days, total bacterial count, yeast mold and staphylococcus aureus were lower than 10 CFU/g.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27506
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1994
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1994
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atita_ch.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.