Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27509
Title: ประสิทธิศักย์ของการให้วิตามินดีทดแทนในระยะสั้นในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิก
Other Titles: Efficacy of short-term vitamin D supplementation in metabolic syndrome patients
Authors: นงลักษณ์ เพชรกระจายแสง
Advisors: สาริณีย์ กฤติยานันต์
นครินทร์ ศันสนยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Sarinee.K@Chula.ac.th
dr_nakarin@hotmail.com
Subjects: วิตามินดี -- การใช้รักษา -- ประสิทธิผล
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร -- การใช้รักษา
การเผาผลาญผิดปกติ
เมทาบอลิกซินโดรม -- การรักษา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้วิตามินดีทดแทนในระยะสั้นในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกในด้าน (1) ระดับของวิตามินดีในซีรั่ม (2) ความไวของอินซูลิน วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบ randomized double - blinded, parallel design ดำเนินการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกที่มีภาวะขาดวิตามินดี [25(OH)D น้อยกว่า 20 นาโนกรัม/มิลลิลิตร] ที่แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือนมกราคม 2554 ถึงกันยายน 2554 ผู้ป่วยจำนวน 90 คน ถูกสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับยาหลอก 2 แคปซูล/สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ได้รับวิตามินดีสอง 20,000 IU/สัปดาห์ กลุ่มที่ 3 ได้รับวิตามินดีสอง 40,000 IU/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 90 คน มี 84 คน ที่อยู่จนครบระยะเวลาการวิจัย ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกัน อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 63.65 ปี ค่าเฉลี่ยของระดับวิตามินดีเมื่อเริ่มต้น เท่ากับ 15.19 นาโนกรัม/มิลลิลิตร เมื่อสิ้นสุดการศึกษาที่เวลา 8 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของระดับ 25(OH)D สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม (p < 0.001) คือ เพิ่มขึ้นจากเดิม 15.08 และ 14.29 นาโนกรัม/มิลลิลิตร เป็น 26.80 และ 30.03 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ และสูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (จากเดิม 16.20 นาโนกรัม/มิลลิลิตร เป็น 18.99 นาโนกรัม/มิลลิลิตร) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยของระดับ 25(OH)D ที่เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับวิตามินดีสองในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน (p = 0.053) หลังจาก 8 สัปดาห์ จำนวนผู้ป่วยในกลุ่ม 1, 2 และ 3 ที่มีระดับวิตามินดีอยู่ในช่วงปกติคิดเป็นร้อยละ 3.3, 33.3 และ 60.0 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) แต่ทั้ง 3 กลุ่มมีความไวของอินซูลิน (HOMA – IR) ไม่แตกต่างกัน (p = 0.586) อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากวิตามิน ดีสองไม่แตกต่างกับยาหลอก (p > 0.05) สรุปผลการวิจัย: การให้วิตามินดีสองทั้งขนาด 20,000 และ 40,000 IU/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สามารถเพิ่มระดับ 25(OH)D ในซีรั่มได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่การให้ขนาด 40,000 IU/สัปดาห์ ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยที่ระดับ 25(OH)D ในซีรั่มอยู่ในช่วงค่าปกติได้มากกว่า ความไวของอินซูลิน (HOMA – IR) ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 กลุ่ม
Other Abstract: Objectives: To study the effects of short-term vitamin D supplementation in metabolic syndrome patients in terms of: (1) serum 25(OH)D concentrations (2) insulin sensitivity. Methods: A randomized, double-blinded, parallel study was conducted in metabolic syndrome patients with vitamin D deficiency [25(OH)D less than 20 nanogram/milliliter] at outpatient department, Phramongkutklao Hospital during January, 2011 to September, 2011. Ninety patients were randomly assigned into 3 groups, each of 30 patients: group 1 were given of 2 capsules of placebo/week, group 2 were given vitamin D₂ 20,000 IU/week, and group 3 were given vitamin D₂ 40,000 IU/week for 8 weeks. Results: Of 90 patients enrolled, 84 patients completed the study. There was no significant difference in baseline characteristics among groups. The mean age of the patients was 63.65 years. At baseline, the mean serum 25(OH)D level of all patients was 15.19 ng/mL. At the end of the study (8 weeks), the mean serum 25(OH)D of group 2 and group 3 were significantly increased (p < 0.001) from 15.08 and 14.29 ng/mL to 26.80 and 30.03 ng/mL, respectively, and significantly increased (p < 0.001) more than the placebo group (from 16.20 to 18.99 ng/mL). However, the mean serum 25(OH)D concentrations increased in both vitamin D₂ treatment groups were not significantly different (p = 0.053). After 8 weeks of treatment, the number of patients achieved normal vitamin D level in group 1, 2 and 3 were 3.3, 33.3, and 60.0%, respectively, which were significantly different (p < 0.001). However, insulin sensitivity (HOMA-IR) among 3 groups was not different (p = 0.586). Adverse reactions in both vitamin D₂ treatment groups were not different from placebo group (p > 0.05). Conclusions: Both 20,000 and 40,000 IU/week of vitamin D₂ supplementation for 8 weeks were able to increase serum 25(OH)D concentrations significantly. However, more patients in vitamin D₂ 40,000 IU/week treatment group achieved normal serum 25(OH)D level than those received 20,000 IU/week. Insulin sensitivity (HOMA-IR) was not significantly different in all 3 groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27509
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1997
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1997
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nongluk_ph.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.