Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28928
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรอนงค์ อร่ามวิทย์ | - |
dc.contributor.advisor | พรพรหม เมืองแมน | - |
dc.contributor.author | สิรินุช พละภิญโญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-02-19T04:51:56Z | - |
dc.date.available | 2013-02-19T04:51:56Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28928 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบผลการดูแลบาดแผลไหม้ด้วย 1% ซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนครีมซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการดูแลบาดแผลไหม้กับ 1% ซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนครีมที่เติมเซริซินจากไหม โดยทำการศึกษาบาดแผลไหม้ระดับสองของผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยอุบัติเหตุ 4 โรงพยาบาลศิริราชระหว่างเดือนกันยายน 2553 ถึง พฤษภาคม 2554 จำนวนทั้งสิ้น 34 บาดแผล แบ่งบาดแผลไหม้เป็นกลุ่มควบคุมคือได้รับการดูแลบาดแผลด้วย 1% ซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนครีม จำนวน 17 บาดแผล (8 ราย) และกลุ่มทดลองคือได้รับการดูแลบาดแผลด้วย 1% ซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนครีมที่เติมเซริซิน จำนวน 17 บาดแผล (8 ราย) ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนักตัว ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ประวัติการแพ้ยาหรือสารเคมีและขนาดบาดแผลไหม้ รวมถึงประวัติทางสังคม ได้แก่ ประวัติการดื่มสุรา ประวัติการดื่มชาหรือกาแฟ และประวัติการสูบบุหรี่ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในการวิจัยนี้ทำการวัดพื้นที่บาดแผลไหม้ทุกวัน และเปรียบเทียบอัตราการลดลงของพื้นที่บาดแผลไหม้ทั้งสองกลุ่มพบว่าบาดแผลไหม้กลุ่มทดลองมีอัตราการลดลงของพื้นที่บาดแผลไหม้แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่เมื่อสิ้นสุดการวิจัยผลการศึกษาแสดงให้ว่าระยะเวลาการหายของบาดแผลไหม้กลุ่มควบคุมเท่ากับ 29.53±8.12 วัน ขณะที่บาดแผลไหม้กลุ่มทดลองใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 23.88±6.34 วัน ซึ่งบาดแผลไหม้กลุ่มทดลองหายเร็วกว่าบาดแผลไหม้กลุ่มควบคุมเป็นเวลาทั้งสิ้น 5.65±2.50 วัน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.031) โดยไม่มีการติดเชื้อของบาดแผลไหม้ทั้งสองกลุ่ม ด้านความปลอดภัย ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มปริมาณสารเคมีในเลือดที่แสดงการทำงานของตับและไต ได้แก่ ค่าเอนไซม์ AST, ALT, ALP, ค่าครีอาทินีนในซีรัมและปริมาณยูเรียไนโตรเจนในเลือดสูงขึ้นในวันแรกรับและมีแนวโน้มลดลงในสัปดาห์ต่อมา เว้นแต่มีปริมาณอัลบูมินต่ำกว่าช่วงค่าปกติในวันแรกรับและมีแนวโน้มสูงขึ้นในสัปดาห์ต่อมา ทั้งนี้ปริมาณสารเคมีในเลือดของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มตลอดระยะเวลาการวิจัยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) โดยไม่มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากการใช้ยาทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตามมีเพียงอาการคันและแสบบริเวณบาดแผล การวิจัยนี้สรุปได้ว่าการดูแลบาดแผลไหม้ด้วย 1% ซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนครีมที่เติมเซริซินช่วยให้บาดแผลไหม้หายเร็วกว่าการดูแลด้วย 1% ซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนครีมซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยสามารถป้องกันการติดเชื้อของบาดแผลไหม้ได้ไม่แตกต่างกัน ไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและพิษต่อ การทำงานของตับและไต | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study was to investigate the efficacy of topical silver zinc sulfadiazine (SSD) cream, known as standard therapy, compared with SSD cream containing silk sericin for partial thickness burn wounds treatment. Sixteen patients (thirty-four burn wounds) admitted in Siriraj burn unit during September 2010 - May 2011 were randomly assigned to receive either SSD cream (8 patients, 17 burn wounds) or SSD cream containing silk sericin (8 patients, 17 burn wounds). There were no significant differences in demographic data including gender, age, weight, blood pressure, blood sugar, drug allergy and percentage of total body surface area (TBSA) burn, as well as social history (smoking, drinking alcohol or caffeine) in both groups. Wound area measurements were taken every day, the SSD cream containing silk sericin group did not show better percentage of wound area reduction when compared to SSD cream group. However, the healing time of burn wounds in the group treated with SSD cream containing silk sericin was 23.88±6.34 days versus 29.53±8.12 days in the group treated with SSD cream. This result was 5.65±2.50 days shorter in SSD cream containing silk sericin compared to the SSD group (p=0.031). Moreover, there was no wound infection in any of burn wounds. Initially, serum biochemical parameters indicated liver function (AST, ALT, ALP) and renal function (serum creatinine and blood urea nitrogen) were elevated but then back to normal in a week except albumin level was lower than normal range. However all parameters were within normal limit at the end of the study. There were two mild and common adverse reactions found in both groups, itching or smarting, but no serious adverse reaction was found. In conclusion, the results of this study confirm the greater efficacy of SSD cream containing silk sericin in the treatment of partial thickness burn wounds without serious adverse reaction, renal or liver toxicity. | en |
dc.format.extent | 2376189 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1575 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ซัลฟาไดอะซีน -- การใช้รักษา -- ประสิทธิผล | en |
dc.subject | ซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน -- การใช้รักษา -- ประสิทธิผล | en |
dc.subject | สารต้านการติดเชื้อ | en |
dc.subject | เซริซิน -- การใช้รักษา -- ประสิทธิผล | en |
dc.subject | การสมานแผล | en |
dc.title | ประสิทธิศักย์ของซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนครีมที่เติมเซริรินจากไหมในการรักษาแผลไหม้ | en |
dc.title.alternative | Efficacy of silver zinc sulfadiazine cream containing silk sericin for burn wound therapy | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pornanong.A@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1575 | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirinoot_pa.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.