Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28951
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอร จังศิริพรปกรณ์-
dc.contributor.authorสุปราณี บุระ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-02-19T09:57:38Z-
dc.date.available2013-02-19T09:57:38Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28951-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาตัวบ่งชี้โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรก เพื่อวิเคราะห์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ และประการที่สอง เพื่อพัฒนาโมเดลและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่จะให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูและผู้ปกครองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นว่าเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ ในโรงเรียนที่เป็นศูนย์เสาะหาและพัฒนาเด็กที่มีความสามารถในท้องถิ่น (GTX Center) ของสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ จำนวน 335 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ โดยแบ่งเป็น องค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านสติปัญญา ประกอบด้วย 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านอารมณ์ สังคม และพฤติกรรม ประกอบด้วย 12 ตัวบ่งชี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบและตัวบ่งชี้และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ด้วยโปรแกรม LISREL n 520 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานขององค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านสติปัญญา และองค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านอารมณ์ สังคม และพฤติกรรม มีค่าเท่ากับ 0.969 0.959 และ 0.916 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงและใกล้เคียงกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยแต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานของแต่ละตัวบ่งชี้ ดังต่อไปนี้ 1.1 องค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านสติปัญญา ในแต่ละตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.470 – 0.778 สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในเชิงสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดนอกกรอบ ความสามารถในการคิดเชิงตรรกะ ความสามารถในการวิจารณ์และประเมินงานต่างๆ ความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจอย่างรวดเร็ว ความจำดีและจำแม่น ความสามารถในการใช้สัญลักษณ์และตัวเลข ความสามารถในการคิดสังเคราะห์ และความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม 1.2 องค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์ ในแต่ละตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.705 – 0.833 สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสามารถในการคิดยืดหยุ่น ความสามารถในการคิดละเอียดลออ ความสามารถในการคิดคล่อง และความสามารถในการคิดริเริ่ม 1.3 องค์ประกอบคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านอารมณ์ สังคม และพฤติกรรม ในแต่ละตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.520 – 0.746 สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความเป็นผู้นำ ความอยากรู้อยากเห็นและช่างสังเกต การทำงานอย่างเป็นระบบ ความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใหญ่ ความมุ่งมั่นในการทำงาน ความรอบคอบ ความมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความชอบกิจกรรมที่ต้องใช้ปัญญา ความชอบความเป็นอิสระ ความกระตือรือร้น และความมีสมาธิ 2. โมเดลคุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์ตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ โดยมีค่า X2 = 281.226, p = 0.061, df = 246, GFI = 0.939, AGFI = 0.913, และ RMR = 0.014en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to analyze the factor loadings of factors and indicators of gifted children’s characteristics and 2) to develop a model for the gifted children’s characteristics and examine the consistency between the developed model and empirical data. The research sample was carried out among 335 teachers and parents of students in grade 4 – 6. This event to identify gifted children was organized by the Institute for Gifted and Innovative learning at the GTX center. The variables were the factors and indicators of gifted children’s characteristics. The factors consist of intelligence, creativity, and emotional and social behavior. Each factors had 10, 4 and 12 indicators respectively. The data was collected using scheduled interviews about factors and indicators and questionnaire. Descriptive statistics, t – test, Pearson’s product moment correlation coefficient were analyzed by SPSS program. Whereas the second order confirmatory factor was analyzed by LISREL program. The major findings were as follows: 1. The standard factor loadings of 3 factors consist of intelligence, creativity, and emotional and social behavior. Each factor had 0.969, 0.959 and 0.916 respectively. With such a high level and with the vicinity at 0.01 significant level. Each indicator consist of the following factors: 1.1 Factor in intelligence: each indicator had standard factor loadings between 0.470 – 0.778. The highest standard factor loadings indicators were ability in analytical thinking, ability in problem solving, ability in think out of the block, ability in logical thinking, ability in comment and evaluation, ability in rapid learning and understanding, ability in memory, ability in sign and numeral recognition, ability in synthetic thinking and ability in abstract thinking respectively. 1.2 Factor in creativity: each indicator had standard factor loadings between 0.705 – 0.833. The highest standard factor loadings indicators were ability in flexibility, ability in elaboration, ability in fluency and ability in originality respectively. 1.3 Factor in emotional and social behavior: each indicator had standard factor loadings between 0.520 – 0.746. The highest standard factor loadings indicators were self confidence, leadership ability, to be inquisitive and to observe, have system to work, good relationship with adult, to attempt, to be careful, good thinking with social and environment, like intellectual activity, like freedom, enthusiastic and concentration respectively. 2. A model for the gifted children’s characteristics was validated and fitted to the empirical data with X2 = 281.226, p = 0.061, df = 246, GFI = 0.939, AGFI = 0.913 and RMR = 0.014.en
dc.format.extent3926941 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.851-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเด็กปัญญาเลิศen
dc.subjectเด็กปัญญาเลิศ -- การทดสอบen
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษาen
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะเด็กที่มีพรสวรรค์en
dc.title.alternativeDevelopment of indicators of gifted children's characteristicsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAimorn.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.851-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supranee_bo.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.