Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.advisorสุพจน์ เกิดสุวรรณ์-
dc.contributor.authorสุวิมล กฤชคฤหาสน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-02-27T01:32:11Z-
dc.date.available2013-02-27T01:32:11Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29135-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการเทียบโอนผลการเรียนภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสร้างคะแนนสอดคล้อง มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อประยุกต์รูปแบบการเทียบโอนผลการเรียนภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสร้างคะแนนสอดคล้อง 4 วิธี คือ วิธีค่าเฉลี่ย วิธีเส้นตรง วิธีเส้นตรง-คู่ขนาน และวิธีอิควิเปอร์เซ็นไทล์ ตามรูปแบบการเทียบโอนผลการเรียน 27 รูปแบบ สำหรับสถานศึกษาขอและรับเทียบโอนผลการเรียนที่ใช้แบบสอบแตกต่างกันด้านความคล้ายคลึงของเนื้อหาที่ใช้ในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ 3 ระดับ คือ 50-55%, 60-65% และ 70-75% และค่าความยาก 3 ระดับ คือระดับต่ำ กลาง และสูง 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านความไม่แปรเปลี่ยนตามระดับความสามารถของผู้ขอเทียบโอนของวิธีการสร้างคะแนนสอดคล้องตามรูปแบบการเทียบโอนผลการเรียนสำหรับสถานศึกษาขอและรับเทียบโอนผลการเรียนที่ใช้แบบสอบแตกต่างกันด้านความคล้ายคลึงของเนื้อหาและค่าความยาก การวิจัยนี้ใช้วิธีการจำลองข้อมูลคะแนนที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากโปรแกรม IRTDATA โดยใช้แบบแผนผู้สอบกลุ่มเดียวจำนวน 3,000 คนทำแบบสอบ 30 ฉบับ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จำลองขึ้นด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์ผู้สอบ () และค่าพารามิเตอร์ข้อสอบ (b) ที่ได้จาก โปรแกรม IRTDATA กับ โปรแกรม BILOG-MG โดยใช้สถิติ t-test (two dependent sample test) ผลการตรวจสอบสามารถยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่จำลองขึ้นทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการสร้างคะแนนสอดคล้องเพื่อพัฒนารูปแบบการเทียบโอนผลการเรียน และศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้รูปแบบการเทียบโอนผลการเรียนที่พัฒนาขึ้นสำหรับสถานศึกษา ด้วยการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. คุณภาพของวิธีการสร้างคะแนนสอดคล้องตามรูปแบบการเทียบโอนผลการเรียน พบว่า 1.1 กรณีที่สถานศึกษาขอและรับเทียบโอนผลการเรียนใช้แบบสอบที่มีค่าความยากแตกต่างกันชัดเจน พบว่า 1) วิธีอิควิเปอร์เซ็นไทล์ เป็นวิธีการสร้างคะแนนสอดคล้องที่มีคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกันของเนื้อหาที่ใช้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่ระดับ 50-55% 2) วิธีค่าเฉลี่ย เป็นวิธีการสร้างคะแนนสอดคล้องที่มีคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกันของเนื้อหาที่ใช้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่ระดับ 60-65% และ 3) วิธีเส้นตรง-คู่ขนาน เป็นวิธีการสร้างคะแนนสอดคล้องที่มีคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกันของเนื้อหาที่ใช้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่ระดับ 70-75% 1.2 กรณีที่สถานศึกษาขอและรับเทียบโอนผลการเรียนใช้แบบสอบที่มีค่าความยากทั้งในระดับเดียวกันและใกล้เคียงกัน พบว่า วิธีค่าเฉลี่ย เป็นวิธีการสร้างคะแนนสอดคล้องที่มีคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกันของเนื้อหาที่ใช้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของแบบสอบในทุกระดับ คือ 50-55%, 60-65% และ70-75% 2. การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรพิจารณาถึงการมีฐานข้อมูลการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเนื้อหาและค่าความยากของแบบสอบ หากไม่มีข้อมูลดังกล่าวคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน สามารถพิจารณาใช้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือมาตรฐานการเรียนรู้ทดแทนได้ ส่วนค่าความยากควรทำให้เป็นค่าความยากมาตรฐาน นอกจากนี้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นยังนำไปใช้ได้กับการวัดผลที่มีการประเมินทั้งด้านความรู้และการปฏิบัติen
dc.description.abstractalternativeThe main objective of this research was to develop a credit equivalence transfer model within subject areas by an application of concordance score techniques. The specific objectives of this research were 1) to apply a credit equivalence transfer model within subject areas with four methods of concordance score techniques : mean, linear, parallel-linear and equipercentile methods, according to 27 transfer models for old and new schools with similar test content specifications in 3 levels: 50-55%, 60-65% and 70-75% and 3 difficulty levels : low, medium and high. 2) to examine the group’s invariable ability under types of credit equivalence transfer model for old and new schools with different tests content specifications and difficulty levels. Research data were simulated by IRTDATA program for a single group design, with 30 tests and 3,000 testers. Dependent t-test was use to investigate mean differences of person parameter () and item parameter (b) between data from IRTDATA and BILOG-MG programs and stimulated data were confirmed. Data were analyzed by using the concordance score techniques in order to develop a credit equivalence transfer model. Focus group and brain-storming techniques, with participation from educational experts, were conducted to study and enhance the possible implementation of the results. The results can be summarized as follows: 1. Quality of concordance score techniques methods according to credit equivalence transfer model were 1.1 In case of test difficulty parameters between old and new schools were significantly different, the results found that 1) equipercentile method were good for those schools who had 50-55% in test content specifications similarity 2) mean method were good for those school who had 60-65% in test content specifications similarity and 3) parallel-linear method were good for those school who had 70-75% in test content specifications similarity. 1.2 In case of test difficulty parameter between old and new school were not significantly different, The results found that mean method were good for all level of test content specifications similarity (50-55%, 60-65% and 70-75%) 2. Application of research results were based on the availability of content specifications of the tests and difficulty parameters (b). However, in case of data were unavailable, it is possible for the school credit transfer’s committees to use the learning’s objectives or learning standards instead. Moreover, the difficulty parameter should be changed to standardize one. Results are also applicable for both knowledge and performance assessment. This result is also applicable to both of the knowledge and performance assessment.en
dc.format.extent8077329 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1273-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหน่วยกิตen
dc.subjectการให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)en
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเทียบโอนผลการเรียนภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ : การประยุกต์ใช้เทคนิคการสร้างคะแนนสอดคล้องen
dc.title.alternativeThe development of a credit equivalence transfer model within subject areas : an application of concordance score techniquesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1273-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwimon_kr.pdf7.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.