Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29236
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Development of a causal model of social responsibility of upper secondary school students
Authors: ชุติมา ไชยสิทธิ์
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wkaemkate@hotmail.com, Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: ความรับผิดชอบ
นักเรียนมัธยมศึกษา
นักเรียน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนนอกเมือง 3) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 843 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน มีค่าความเที่ยงระหว่าง .827 ถึง .937 และแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน มีค่าความเที่ยงระหว่าง.731 ถึง .941 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ความเบ้ ความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย สถิติทดสอบที การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์อิทธิพล โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และโปรแกรม LISREL for Windows ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมี 4 องค์ประกอบ คือ ความรับผิดชอบ ต่อครอบครัว ความรับผิดชอบต่อเพื่อน ความรับผิดชอบต่อโรงเรียน และความรับผิดชอบต่อชุมชน มีตัวบ่งชี้ 12 ตัว คือ 1) การเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ปกครอง 2) การช่วยเหลืองานที่ได้รับมอบหมาย 3) การเคารพสิทธิของเพื่อน 4) การให้ความช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ถูก 5) การช่วยเหลืองานของโรงเรียน 6) การรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน 7) การรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียน 8) การให้ความร่วมมือแก้ปัญหาสังคม 9) การช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม 10) การรักษาสมบัติของส่วนร่วม 11) การปฏิบัติตามกฎหมาย และ 12) การรักษาสิ่งแวดล้อม 2.ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียน นอกเมืองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.โมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านสังคมและสื่อมวลชน ปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและสื่อมวลชน ปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านครอบครัว โดยส่งผ่านปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ ปัจจัยด้านนักเรียน มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .80 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านโรงเรียน มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .39 4.โมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้น มีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X²= 42.54 df = 51 p = .794 GFI = 99 AGFI = 98 RMSEA = .000 RMR = .004) โดยตัวแปรในโมเดล อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 82
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the factors and the indicators of social responsibility of upper secondary school students, 2) to compare level of social responsibility of upper secondary school students between urban students and suburb students, 3) to develop a causal model of social responsibility of upper secondary school students, 4) to examine the goodness of fit of a causal model of social responsibility of upper secondary school students. The research sample consisted of 843 upper secondary school students. The two types of research instrument were a questionnaire including factors affecting to social responsibility of students which had the reliability coefficients .827 to .937 and a measure of social responsibility of students which had the reliability coefficients .731 to .941. The analyses statistical used in this study were : percentage, mean, standard deviation, maximum, minimum, skewness, kurtosis, coefficient of variation, t-test , confirmatory factor analysis and path analysis, all of which employing SPSS and LISREL programs for Windows.The research findings were as follows: 1. There were 4 factors of social responsibility of upper secondary school students which are responsibility to family, responsibility to friends, responsibility to school, and responsibility to communities. Those factors could be divided into 12 indicators which are 1) respect to and obeying the teaching of the parents, 2) responding to the assignments, 3) respect to the rights of friends, 4) to help friends in the right way, 5) assistance to the school activities, 6) to keep reputation of the school, 7) care of school property, 8) to cooperate in solving social problems, 9) to help others in the society, 10) care of public property, 11) to follow the laws, and 12) to save the environment. 2. The social responsibility of upper secondary school students between urban students and suburb students had no difference with statistical significance at .05. 3. The causal model of social responsibility of upper secondary school students that has been created consisted of the factors with direct effects to social responsibility which are factors of students, factors of social and media, factors of school, and factors of family. And the factors with indirect effects to social responsibility were factors of social and media, factors of school and factors of family which were gained through the factors of students. The most total effect to social responsibility was the factors of students with .80 of effect size, followed by the factors of school with .39 of effect size. 4. The causal model of social responsibility of upper secondary school students that has been created fit to the empirical data (X²= 42.54 df = 51 p = .79 GFI = .99 AGFI = .98, RMSEA = .000, RMR = .004). And the model indicated 82% of the variance in the social responsibility of upper secondary school students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29236
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1002
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1002
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chutima_ch.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.