Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29709
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorอาทิตยา สำราญอินทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-03-13T02:21:44Z-
dc.date.available2013-03-13T02:21:44Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29709-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์ระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลอง 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมาบอำมฤตวิทยา จ.ชุมพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 67 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน นักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์ และ นักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ชุด ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 และ 0.82 และแบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ชุด ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.61 และ 0.92 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์ที่เน้นให้นักเรียนสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองตามความรู้เดิมที่มีและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) และเทคนิควิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the research were 1) to compare mathematical concepts of eighth grade students between groups being taught by conceptual change model and by conventional method. 2) to compare mathematical connection abilities of eighth grade students before and after being taught by conceptual change model and 3) to compare mathematical connection abilities of eighth grade students between groups being taught by conceptual change model and by conventional method. The subject were 67 of eighth grade students of Mapammaritwittaya School in the second semester of academic year 2010. There were 37 students in experimental group and the other 30 in controlled group. The experimental group was taught by conceptual change model and the control group was taught by conventional method. The instruments for data collection were two mathematical concept tests with the reliabilities of 0.81 and 0.82 and two mathematical connection tests with the reliabilities of 0.61 and 0.92. The experimental materials constructed by the researcher were lesson plans focusing on conceptual change model and conventional lesson plans. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, t – test and ANCOVA. The results of the study revealed that: 1) Mathematical concepts of students being taught by conceptual change model were not different from those of students being taught by conventional method at significance level of 0.05. 2) Mathematical connection abilities of students after being taught by conceptual change model were higher than those before being taught at significance level of 0.05. 3) Mathematical connection abilities of students being taught by conceptual change model were not different from those of students being taught by conventional method at significance level of 0.05.en
dc.format.extent15645306 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2035-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectการเรียนรู้ด้านมโนภาพen
dc.subjectความคิดรวบยอดen
dc.subjectการเชื่อมโยงเนื้อหาen
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการปรับมโนทัศน์ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2en
dc.title.alternativeEffects of organizing mathematics learning activities using conceptual change model on mathematical concepts and connection ability of eighth grade studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAumporn.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.2035-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Athitaya_sa.pdf15.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.