Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30080
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา-
dc.contributor.authorประพิมพ์ อัตตะนันทน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-03-20T02:33:42Z-
dc.date.available2013-03-20T02:33:42Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30080-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการจัดการศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานประกอบการประเภทโรงแรมและเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานประกอบการประเภทโรงแรม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหาและความต้องการกับสถานประกอบการประเภทโรงแรมจำนวน 9 โรงแรม จากนั้นใช้วิธีการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟายจำนวน 9 ท่าน ด้วยแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด 1 ครั้ง และแบบสอบถามมาตรประมาณค่า(Rating Scale) อีก 2 ครั้ง แล้วนำมาคำนวนหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จึงจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานประกอบการประเภทโรงแรม ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. สถานประกอบการประเภทโรงแรมมีศูนย์การเรียนรู้ฯหรือแหล่งการเรียนรู้อยู่แล้วซึ่งอยู่ในรูปแบบของห้องสมุด ห้องปฏิบัติการทางภาษาอังกฤษ บอร์ความรู้และประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองและบทเรียนออนไลน์ ซึ่งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์การเรียนรู้ฯนี้โดยเฉพาะ ทำให้พบวัสดุ อุปกรณ์ ชำรุดอยู่บ้าง และยังขาดกระบวนการที่จะจูงใจให้พนักงานโรงแรมเข้าใช้บริการศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าว รวมไปถึงยังไม่ค่อยพบเครื่องมือ หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงานด้วยกันซึ่งเป็นความรู้จากการปฏิบัติ และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานประกอบการประเภทโรงแรมพบว่ามีความเห็นด้วยระดับมากถึงมากที่สุด และมีความสอดคล้องกัน 2. แนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานประกอบการประเภทโรงแรม1)ควรมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเป็นทิศทางเดียวกับเป้าหมายของโรงแรม ความต้องการของผู้บริหารและพนักงาน2)ควรมีบุคลากรที่ดูแลเฉพาะอย่างน้อยหนึ่งคนที่ดูแลรักษา คัดสรรสื่อการเรียนร่วมกับผู้ดูแลการเรียนรู้ประจำฝ่ายและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์อยู่เสมอ โดยบุคลากรนั้นๆมีลักษณะเฉพาะเช่น รู้วิธีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เป็นต้น 3)สถานที่จัดตั้งมีความยืดหยุ่นเป็นได้ทั้งห้องสี่เหลี่ยมและพื้นที่พบปะออนไลน์ตามความเหมาะสม 4)ด้านองค์ความรู้ต้องมีความรู้พื้นฐาน ความรู้จากการปฏิบัติ ความรู้เฉพาะสายงาน ความรู้จากฝ่ายฝึกอบรม และความรู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง 5)สื่อการเรียนรู้มีสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อคอมพิวเตอร์และชุดการสอน6)รูปแบบกิจกรรมต้องมีกิจกรรมทางการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น ส่งเสริมระดับการศึกษาพนักงาน การศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่น การฝึกอบรม และกิจกรรมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยคือมีแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเองและชุดการเรียนรู้en
dc.description.abstractalternativeThe purposed of this research were to study the current situation including problems and needs of the hotels to develop a proposed management guidelines for a lifelong learning center in hotels. The data was collected by using the interview questionnaire in current situation including problems and needs to the nine hotels, and using Delphi technique for gathering 9 experts’ opinions in the proposed management guidelines for a lifelong learning center in hotels by opened interview questionnaire once and rating scale questionnaire twice, then analyzed the data though median and interquartile range, then concluded the data as the consensus of the expert. And a focus group was arranged to represent the proposed management guidelines for a lifelong learning center in hotels. The results were as follow ; 1. Most of the hotel in Thailand has a Learning Center or Learning Resource in their hotel but in some different ways such as staff library or corner, English language LAB, information board, website, learning kits, online learning website etc. Having no staff to take care of these area specially which caused some problems such as some equipments or materials to be broken, and lack of proper method , activity or equipment to pull out the tacit knowledge from all employees in hotel. Furthermore, results of the proposed management guidelines for a lifelong learning center in hotels indicated moderate satisfactory. 2. A proposed management guidelines for a lifelong learning center in hotels 1) should have the objective in the same direction of the hotel’s mission also the executive and employee wants 2)Have at least one staff who has specific qualifications, for instance, knowing the Andragogy theory etc, to take care, maintain and find new materials for the employee by working with the department trainers and human resource development department in the hotel. 3) The location is up to each hotel context, so, it could be a room or an online space which suits best to the hotel. 4) The knowledge in the learning center should have all the fact about the hotel (Explicit Knowledge), knowledge from the best practice (Tacit Knowledge), knowledge in specific field of each department, knowledge form Human resource development department and knowledge which can be learnt by themselves. 5) The activity should have at least 3 dimensions which are Formal, Non-formal and Informal education.en
dc.format.extent8346569 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1131-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.subjectการศึกษาต่อเนื่องen
dc.subjectผู้จัดการโรงแรม -- การศึกษาต่อเนื่องen
dc.subjectโรงแรมen
dc.subjectศูนย์การศึกษาต่อเนื่องen
dc.titleการนำเสนอแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานประกอบการประเภทโรงแรมen
dc.title.alternativeProposed management guidelines for a lifelong learning center in hotelsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1131-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prapim_at.pdf8.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.