Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30454
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย
Other Titles: The effect of perceived self-efficacy program on self-care behavior among school-age children with thalassemia
Authors: นอลีสา สูนสละ
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: ธาลัสสีเมียในเด็ก
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
ความสามารถในตนเอง
การเยี่ยมบ้าน
Thalassemia in children
Self-efficacy
Friendly visiting
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย อายุ 7-12 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเลือด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 25 คนและกลุ่มทดลอง 25 คนโดยจับคู่เพศเดียวกัน อายุใกล้เคียงกัน (+1 ปี) ลักษณะครอบครัวเหมือนกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The proposes of this quasi-experimental research were 1) to compare self-care behavior among school-age children with thalassemia before and after receiving the perceived selfefficacy promoting program and 2) to compare self-care behavior of school-age children with thalassemia between those who received the perceived self-efficacy promoting program and those who received only routine nursing care. The self-efficacy theory of Bandura (1997). The participants were school age children with thalassemia between 7-12 years of age who received treatment at the Maharat nakhon Si Thammarat hospital. They were divided into two groups: 25 for the control group and other 25 for the experimental group, by means of age, sex and characteristic of family matching. The control group received the conventional nursing care, while the experimental group received the perceived self-efficacy promoting program. The data collection instrument were the self-care behavior and perceived self-efficacy questionnaire, which was examined to ensure content validity and tested for reliability, with the outcomes of .84 and .78, respectively. Descriptive statistics of mean and standard deviation, as well as t-test, were used to analyze the data. The major findings were as follows: 1. The self-care behavior score of school-age children with thalassemia after received the perceived self-efficacy promoting program was significantly higher than before receiving the program at a level of .05. 2. The self-care behavior score of school-age children with thalassemia who received the perceived self-efficacy promoting program was significantly higher than those who receiving the conventional nursing care at a level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30454
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1406
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1406
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
norleesa_so.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.