Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30579
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา-
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorอิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-04-19T07:58:02Z-
dc.date.available2013-04-19T07:58:02Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30579-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและลักษณะของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ 2) เพื่อกำหนด กลยุทธ์ทางเลือกการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ทางเลือกฯ ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้เป็นแบบพหุกรณีศึกษาด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี 8 แห่ง จากนั้นกำหนดและประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญ 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้บริหารและครู จำนวน 7 คน และ 2) กลุ่มนักวิชาการด้านการจัดการศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือคู่มือการจัดเก็บข้อมูลภาคสนามและการสนทนากลุ่มด้วยกระบวนการจัดการความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ผู้บริหารมีการบริหารจัดการสถานศึกษาโดย 1) มีการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่แนวคิดและแนวปฏิบัติของสถานศึกษา 2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยเน้นการศึกษาเพื่ออาชีพ 3) ใช้บริบทวิถีชุมชนท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ 4) สร้างและใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน 5) สร้างวัฒนธรรมองค์กรในการทำงานร่วมกัน 6) ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ครูมีการจัดการเรียนรู้โดย 1) ใช้โครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) เน้นการฝึกปฏิบัติจริง 3) บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการจัดการเรียนรู้ 4) ใช้ประสบการณ์/ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ ความสำเร็จที่ปรากฏขึ้นกับนักเรียน คือ 1) มีพื้นฐานทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในท้องถิ่น/ชุมชน 2) ตระหนักในคุณค่าวิถีชีวิตท้องถิ่นของตนเอง 3) ช่วยเหลือครอบครัวเพราะมีรายได้ระหว่างเรียน นอกจากนี้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีความเข้าใจ รู้คุณค่า ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลักษณะการบริหารจัดการสถานศึกษาฯ ให้ความสำคัญกับ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบาย 2) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) การพัฒนาและการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 4) การใช้ค่าย/กิจกรรม/โครงการพัฒนาผู้เรียน 5) การเชื่อมโยงบริบทวิถีชุมชนท้องถิ่น 6) การใช้แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 7) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก 8) การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร 9) การสร้างความร่วมมือในการทำงาน 10) การปลูกฝัง/เน้นการใช้ชีวิตในสังคมของนักเรียน 2. กลยุทธ์ทางเลือกฯที่กำหนดขึ้น มี 4 รูปแบบ คือ 1) กลยุทธ์การพัฒนาความสามารถทางวิชาการ 2) กลยุทธ์การประยุกต์ใช้การเกษตรและ/หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) กลยุทธ์การประยุกต์ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน และ 4) กลยุทธ์เน้นการฝึกปฏิบัติงาน/การฝึกงาน 3. ผลการประเมินกลยุทธ์ทางเลือกฯ พบว่า แต่ละกลยุทธ์ทางเลือกฯมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยอยู่บนเงื่อนไขบางประการ ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการเลือกใช้วิธีสอนที่เหมาะสมกับสภาพของนักเรียนที่จะนำนักเรียนไปสู่การมีทักษะการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การมีทักษะอาชีพ สู่การมีทักษะชีวิตตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงen
dc.description.abstractalternativeThe research objectives were 1) to study states and characteristics of school management to develop students’ life skills based on the philosophy of sufficiency economy and career education approach, 2) to set alternative strategies of school management to develop students’ life skills based on the philosophy of sufficiency economy and career education approach, and, 3) to verify appropriateness of the alternatives strategies. The research methodology was a multi-case study using qualitative approach in studying 8 good practice schools from various contexts. The verification of the alternative strategies was done through used 2 focus group discussions: 1) 7 principals and teachers and 2) 7 educators. The research instruments were a field data collection manual and a focus group guideline based on knowledge management process. The data were analyzed by using content analysis and analytic induction. The research finding were as follows: 1. The principals managed their schools by 1) synergizing the philosophy of sufficiency economy into policies and performances of schools, 2) developing school curriculum with inclusion of career education, 3) using local context in teaching and learning, 4) creating schools learning resources, 5) emphasizing team work culture, 6) collaborating with external organizations. Teachers taught by 1) using projects and activities for students’ development, 2) focusing on working practice, 3) integrating the philosophy of sufficiency economy in their lesson plans, 4) sharing experiences and skills to transfer knowledge. The students’ success were reflected through; 1) having life skills and local career basic skills, 2) recognizing values of local way of life, 3) earning money for their families while in schools. In addition, principals, teachers, and, students understood, behaved, and were appreciated value of the philosophy of sufficiency economy. The schools management were characterized by; 1) setting of visions and policies 2) developing of school curriculum and learning management, 3) developing and using lesson plans, 4) developing students through various activities, projects, and camps, 5) connecting to local contexts, 6) using learning resources and school environment, 7) cooperating with communities and enterprises, 8) human resource development, 9) supporting cooperative team works, and, 10) seeding the good living in students’ way of life in schools. 2. Four alternative strategies for school management were developed to support development of students’ life skills based on the philosophy of sufficiency economy and career education approach were; 1) academic development strategy, 2) agriculture and local wisdom based strategy, 3) learning resources based strategy, and, 4) practice and training based strategy. 3. The verification of alternative strategies were verified to be suitable based on appropriate selecting of teaching and learning processes for students development in practical learning skills, working skills, and life skills based on the philosophy of sufficiency economy.en
dc.format.extent15124960 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1217-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทักษะชีวิตen
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียงen
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพen
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en
dc.subjectการบริหารการศึกษาen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการนำเสนอกลยุทธ์ทางเลือกการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้en
dc.title.alternativeA proposed alternative strategies for school management to develop student’s life skills based on the philosophy of sufficiency economy and career education approach using knowledge management processen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiripaarn.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorDuangkamol.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1217-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ittipaat_su.pdf14.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.