Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31199
Title: การปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม โครงการย่อยที่ 2, การปรับปรุงสายพันธุ์ของเชื้อรา Gibberella fugikuroi : รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: การปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม
การปรับปรุงสายพันธุ์ของเชื้อรา Gibberella fugikuroi
Authors: นลิน นิลอุบล
ไพเราะ ปิ่นพานิชการ
วาสนา โตเลี้ยง
จันทร์ธิรา ลัภยพร
Email: ไม่มีข้อมูล
ppairoh@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์
Subjects: จิบเบอเรลลา ฟูจิคูรอย
การปรับปรุงจุลินทรีย์ด้วยวิธีกลายพันธุ์
จุลินทรีย์อุตสาหกรรม
จุลินทรีย์อุตสาหกรรม -- พันธุศาสตร์
จุลินทรีย์ -- การพัฒนา
จุลินทรีย์อุตสาหกรรม -- การคัดเลือกและสรรหา
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Gibberella fugikuroi C สายพันธ์ตั้งต้นซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตกดจิบเบอเรลลิก 560 มิลลิกรัม/ลิตร ในเวลา 13 วัน ใสสภาวะที่ควบคุมอุณหภูมิ 25 C และเขย่า 300 รอบ/นาที เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยแสงอุลตราไวโอเลต คัดเลือกได้ สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตกรดจิบเบอเรลลิกสูง 3 สายพันธุ์จากทั้งหมด 107 สายพันธ์ คือ W-6, OCw-1 และ UV4-28 ซึ่งมีความสามารถในการผลิตกรดจิบเบอเรลลิก 589, 593 และ 591 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับในสภาวะเดียวกับสายพันธุ์ตั้งต้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น 5.1, 5.9 และ 5.3 เบอร์เซนต์ ตามลำดับ และเมือนำ W-6, OCw-1 และ UV4-28 มาชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ซ้ำด้วย NTG พบสายพันธุ์ คือ F4 W-6(9) และ F5.UV4-28 (NOB-19) ซึ่งสามารถผลิตกรดจิบเบอเรลลิกได้ 703 และ 702 มิลลิกรัม/ลิตรตามลำดับ ที่สภาวะดังกล่าวข้างต้น ทั้ง 2 สายพันธุ์ผลิตเพิ่มขึ้น 25.5 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับ Gibberella fugikuroi C และ F4 W-6(9) ผลิตได้มากกว่า W-6 19.4 เปอร์เซนต์ ส่วน F5.UV4-28(N08-1) ให้เกิดการกลายพันธุ์ซ้ำด้วย NTG คัดเลือกได้สายพันธุ์ใหม่ ที่มีความสามารถในการผลิตกรดจิบเบอเรลลิกได้สูง 4 สายพันธุ์ จากสายพันธุ์กลายพันธุ์ 432 สายพันธุ์และสายพันธุ์ N9-34 มีความสามารถในการผลิตกรดจิบเบอเรลลิกสูงสุด คือผลิตได้ 891 มิลลิกรัม/ลิตร ที่สภาวะดังกล่าวข้างต้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น 59.1 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับ Gibberella fugikuroi C เพิ่มขึ้น 50.8 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ UV4-28 และเพิ่มขึ้น 20.9 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับ F5.UV4-28 (NOB-19)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31199
Type: Technical Report
Appears in Collections:Biotec - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
strain_improvement_2536.pdf8.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.