Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31727
Title: แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะในหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เรือพนมพระ
Other Titles: Guidelines for organizing art instruction in local curriculum “Phanom-Phra boats”
Authors: นฤดล จิตสกูล
Advisors: วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
ระบบการเรียนการสอน
การศึกษา -- หลักสูตร
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะในหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เรือพนมพระ ในด้านจุดประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอน สื่อการสอน แหล่งการเรียนรู้ และการประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 15 คน ครูศิลปะ 23 คน และศึกษานิเทศก์ 2 คน และ ผู้รู้ ผู้ทรงภูมิ หรือปราชญ์ท้องถิ่นเรือพนมพระ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติ คุณค่า และเอกลักษณ์ของเรือพนมพระ ([X bar] = 4.43) ด้านเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับประวัติ ความสำคัญ เอกลักษณ์ ขั้นตอนการสร้างและวิธีการอนุรักษ์ เรือพนมพระ ( [X bar]= 4.35) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติสร้างเรือพนมพระ ( [X bar] = 4.56) ด้านครูผู้สอนเกิดจากการสอนร่วมกันของครูศิลปะ ผู้รู้ ผู้ทรงภูมิ ปราชญ์ท้องถิ่นและช่างเรือพนมพระ ([X bar]= 4.64) ด้านสื่อการสอน คือ การใช้เรือพนมพระเป็นสื่อการสอน ([X bar]= 4.55) ด้านแหล่งการเรียนรู้ ใช้แหล่งการเรียนรู้จากท้องถิ่นที่สร้างเรือพนมพระ ([X bar]= 4.63) ด้านการประเมินผล ผู้เรียนสามารถอธิบายเอกลักษณ์ของเรือพนมพระและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ([X bar]= 4.50) 2) เรือพนมพระเกิดจากพระพุทธศาสนา สร้างเพื่อเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้า แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีองค์ประกอบหลัก คือ เป็นเรือรูปพญานาค มีเอกลักษณ์ คือ เป็นเรือพนมพระ ไม้แกะสลักทั้งลำ นิยมใช้สีสื่อถึงสิ่งของมีค่า ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะบรรจุไว้ในหลักสูตรท้องถิ่น ใช้ การสอนแบบฝึกปฏิบัติ โดยเหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย คือ 1) ควรมีการศึกษาสภาพทั่วไป สภาพปัญหาของท้องถิ่น และสำรวจความต้องการของคนในชุมชน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องเรือพนมพระ ต่อไป 2) ควรศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง เรือพนมพระ ในเขตพื้นที่ในจังหวัดอื่นๆ เพื่อนำความรู้มารวบรวมและบูรณาการร่วมกัน ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องเรือพนมพระ ในส่วนภูมิภาคต่อไป 3) ควรมีการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะในหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของชุมชน
Other Abstract: The purposes of this research were to explore the guidelines for organizing art instruction in local curriculum “Phanom-Phra boats” through their 1) objectives, 2) contents, 3) learning activities, 4) teachers, 5) instruction media, 6) learning resources, and 7) evaluation. Population of this research consisted of 15 school administrators, 23 art teachers, 2 teacher supervisors and 10 local wisdom teachers. Percentage, mean scores, standard deviations were applied to analyze questionnaire data whereas the interview data were using content analysis The results of the study were as follows; 1) The objectives of the history, value, and identity of Phanom-Phra boats ( [X bar] = 4.43), the contents based on the history, importance, values, and identity of Phanom-Phra boats ( [X bar]= 4.35), the learning activities emphasizing on building Phanom-Phra boats ([X bar]= 4.56), the teachers collaborated from the art teachers, Phanom-Phra expert artisans, and local wisdoms ([X bar]= 4.64), the instruction media based on Phanom-Phra boats ([X bar]= 4.55), the learning resources from the original sources of Phanom-Phra boats ([X bar]= 4.63), the evaluation of the identity explainable and participation in conserving Phanom-Phra boats ([X bar]= 4.50). 2) Phanom-Phra boat was built from Buddhism, Phanom-Phra boat was dedicated to the Lord Buddha, reflecting of local wisdom, The Great Naga was the main figure, The identity of Phanom-Phra boat was entirely crafted from wood, The color referred to valuable things, suitable for including in local curriculum, teaching by practicing, and suitable for secondary-level high school students. Several recommendations based on findings for further studies were 1) General conditions, local problem conditions, and surveying the needs of the local communities should be intensively studied in addition to initiate the guidelines of local art curriculum of Phanom-Phra boats 2) Phanom-Phra boats should be studied in other provincial knowledge in addition to further the guidelines of local art curriculum of Phanom-Phra boats regionally 3) Other related contexts based on art curriculum should be studied to conform and fulfill the needs of local community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31727
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.304
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.304
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narudon_ji.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.