Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32361
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorใจทิพย์ ณ สงขลา-
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.authorกนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์-
dc.date.accessioned2013-06-20T06:17:18Z-
dc.date.available2013-06-20T06:17:18Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32361-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย และพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโมเดลการวัดความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยแบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยการสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง และตอนที่ 2 การตรวจสอบตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 151 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เรียน และฝ่ายสนับสนุนในการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือใช้การพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ คือ 0.992 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง โดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งมี 5 องค์ประกอบ คือ 1) สถาบันและการจัดการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ปรัชญา ปณิธานและพันธกิจ การรับเข้าศึกษา ระบบสนับสนุนผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ระบบพัฒนาสนับสนุนและบริการผู้เรียน งบประมาณ โครงสร้างพื้นฐาน และการจัดการและออกแบบระบบ 2) การออกแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ หลักสูตรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบัน ปฏิสัมพันธ์ในการเรียน ระบบการดูแลและให้ข้อมูลป้อนกลับ กลยุทธ์ในการเรียนการสอน และลักษณะการประเมินผลการเรียนการสอน 3) สื่อและเทคโนโลยี ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ โครงสร้างและการจัดระบบของสื่อการเรียนการสอน คุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และการพัฒนาและผลิตสื่อการเรียนการสอน 4) ปัจจัยสนับสนุน ตัวบ่งชี้ คือ ห้องสมุดและทรัพยากรการเรียนรู้อื่นๆ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก 5) การประเมินผล ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ การประเมินผลหลักสูตร 2. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง สำหรับ สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย มีความตรงเชิงโครงสร้างและมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 21.90, df = 38, P = .98, GFI = 0.98, AGFI = 0.93, RMR = 0.0075) 3. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย มีองค์ประกอบที่พบเรียงตามลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านสื่อและเทคโนโลยี องค์ประกอบด้านสถาบันและการจัดการ องค์ประกอบด้านการออกแบบการเรียนการสอน องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน และองค์ประกอบด้านการประเมินผลen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to synthesize success indicators of e-learning system for higher education institutions in Thailand; to study e-learning experts’ opinions about success indicators of e-learning system for higher education institutions in Thailand; and to develop and validate the measurement model of success indicators of e-learning system for higher education institutions in Thailand with empirical data. Research methodology was divided into 2 parts. Firstly, development of success indicators of e-learning system for higher education institutions in Thailand by synthesizing literatures and in-depth interviewing e-learning experts for opinions. Secondly, validation of success indicators of e-learning system for higher education institutions in Thailand by using questionnaires collected from 151 samples comprising administrators, faculty members, students and supporters in e-learning. Validity and reliability tests were used to indicate the degree to which research instruments were capable of achieving certain aims. The reliability of the questionnaire was 0.992. The data was analyzed by content analysis, frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Second Order Confirmatory Factor Analysis with SPSS for Windows and LISREL 8.72. The research results revealed the followings: 1. Success variables of e-learning system for higher education institutions in Thailand consisted of five elements defined as: 1) institution and management (institution’s mission, admission, teacher’s support system, learner’s support system, financial, infrastructure and management system); 2) instructional design (curriculum, interaction, feedback, teaching technique and learning assessment); 3) media and technology (media’s system and structure, quality of media and media’s development and production); 4) supporting factors (learning resources; evaluation: curriculum evaluation). 2. The conceptual model of successful e-learning system for higher education institutions in Thailand was fit to the empirical data (X² = 21.90, df = 38, P = .98, GFI = 0.98, AGFI = 0.93, RMR = 0.0075) 3. It was found that the factor loading of success indicators of e-learning system for higher education institutions in Thailand were media and technology, institution and management, instructional design, supporting factors and evaluation components, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1530-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษาen_US
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษาen_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนen_US
dc.subjectแบบเรียนสำเร็จรูปen_US
dc.subjectEducational indicatorsen_US
dc.subjectWeb-based instructionen_US
dc.subjectEducation, Higheren_US
dc.subjectComputer-assisted instructionen_US
dc.subjectProgrammed instructionen_US
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of success indicators of e-learning system for higher education institutions in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJaitip.n@chula.ac.th-
dc.email.advisorssiridej@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1530-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokphon_ch.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.