Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32542
Title: การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงสำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กเพื่อเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Research and development of a curriculum based on the ecological and dynamic model of transition to enhance social skills of children preparing for first grade
Authors: บุศรินทร์ สิริปัญญาธร
Advisors: สำลี ทองธิว
ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทักษะทางสังคม -- การศึกษาและการสอน
ทักษะทางสังคมในเด็ก
การวางแผนหลักสูตร
Social skills -- Study and teaching
Social skills in children
Curriculum planning
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศ และพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลง การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 การพัฒนาหลักสูตรโดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทของโรงเรียนประถมศึกษา 6 โรงเรียน ในจังหวัดราชบุรีที่เกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ความสัมพันธ์ของคนในสังคมจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะกลุ่มครู ผู้ปกครองและกลุ่มเด็กอนุบาล เพื่อใช้ในการร่างหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลง สำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นของเด็กเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1 ระยะที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรโดยใช้รูปแบบการวิจัย A-B-A design กับเด็กที่จบชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนอนุบาลราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 10 คน เป็นระยะเวลา 15 สัปดาห์ แล้วนำมาประเมินผลปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์บนฐานข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตและประเมินผลทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-measures ANOVA) ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอร์โรนี (Bonferroni) การนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณในรูปแบบของตาราง กราฟ และการบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลง สำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคม โดยมีแนวการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เพื่อน ครู และผู้ปกครอง องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระสำคัญ ระยะเวลาการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ และการวัดและประเมินผล โดยมีสาระสำคัญ 3 สาระ ได้แก่ เรื่องความร่วมมือ เรื่องการควบคุมตนเอง และเรื่องการรักษาสิทธิ์ หัวข้อเรื่อง 9 เรื่อง ระยะเวลา 9 สัปดาห์ๆ ละ 4 วัน การจัดประสบการณ์ตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครู 2) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเพื่อน 3) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง 2. หลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ เนื่องจากการทดลองใช้หลักสูตรแล้ว พบว่า 1) เด็กเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1 มีทักษะทางสังคมด้านความร่วมมือ การควบคุมตนเอง และการรักษาสิทธิ์ สูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) เด็กเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1 มีแนวโน้มของทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้าน สูงขึ้นในระยะทดลอง แต่มีแนวโน้มของทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้าน ลดลงในระยะติดตามผล
Other Abstract: The research aims to develop a curriculum based on the Ecological and Dynamic Model of Transition and to evaluate the efficiency of the curriculum. The research and development of the curriculum has been done through the 2 stages; 1)developing the curriculum in order to research fundamental data on essential social skills for first graders in purposively selected 6 elementary schools in Ratchaburi Province, together with the specific socio-cultural context of community people and drafting a curriculum base on the Ecological and Dynamic Model of Transition to enhance three essential social skills for kindergarten children moving on to first grade; 2) implementing the curriculum utilizing the A-B-A design, with 10 kindergarten children moving on to first grade, in Anuban ratchaburi school, muang district, Ratchaburi province, for the duration of 15 weeks, then revising the curriculum using the data obtained from the evaluation. The research instruments for collecting data was social skills evaluation and observation form. The data were statistically analyzed by mean, standard deviation, repeated-measures ANOVA, and Post Hoc comparison produces, namely Bonferroni. The data were presented in quantitative manner including tables and graphs, and descriptive explanation. Research findings are as the followings: 1. The curriculum based on the Ecological and Dynamic Model of Transition was counted on the provision of experiences for child-centered. Peers, teachers, and parents were essential for developing social relationships between children and environment. The curriculum was consisted of 7 components: principle, objection, learning standards, learning content, learning period, the provision of learning experience, assessment and evaluation. The content of the 3 parts: cooperation, self-control, and assertion and 9 learning title for 9 weeks, 4 day a week. The provision of learning based on the Ecological and Dynamic Model of Transition to enhance social skills were 3 steps to support relationships between: 1) children and teachers; 2) children and peers; and 3) child and parents. 2. The curriculum based on the Ecological and Dynamic Model of Transition was an efficient curriculum. The evaluation’s result of the curriculum after the implementation showed that; 2.1) the kindergarten children social skills in terms of cooperation, self-control, and assertion have been improved statistically significance at .001 level; 2.2) the kindergarten children’s three social skills have shown to be inclined during the experimental stage, but be declined during the follow up period.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32542
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1701
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1701
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
busarin_si.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.