Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32620
Title: การแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันตุงเป็นเชื้อเพลิงเหลวบนตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดเบส
Other Titles: Catalytic cracking of tung oil to liquid fuel on hetrogeneous base catalyst
Authors: ธนาทิพย์ ศรีสุวงศ์
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: tharapong.v@chula.ac.th
Subjects: ตัวเร่งปฏิกิริยา
น้ำมันตุง
การแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา
การเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์
เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
Catalysts
Tung oil
Catalytic cracking
Heterogeneous catalysis
Biodiesel fuels
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันตุงเป็นเชื้อเพลิงบนตัวเร่ง ปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดเบส ทำการทดลองภายในเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 250 มิลลิลิตร ทำการศึกษาที่สภาวะอุณหภูมิ 390-440 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 30-60 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1-5 บาร์ ปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดเบส (แมกนีเซียมออกไซด์และแคลเซียมออกไซด์) ร้อยละ 2.5-10โดยน้ำหนักต่อปริมาณน้ำมันตุง จำนวน 20 กรัม และใช้การทดลองแบบแฟกทอเรียลสองระดับเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่ มีผลต่อร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมัน ให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด นำ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบของน้ำมันที่เกิดขึ้นด้วยเครื่อง Simulate Distillation Gas Chromatography (DGC) ภาวะที่เหมาะสมจากการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม design-expert พบว่าภาวะของ การแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันตุงบนตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์และแคลเซียม ออกไซด์คืออุณหภูมิ 402 และ 440 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 30 และ 38 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 บาร์ และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ได้ ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวร้อยละ 38.83 และ 37.55 โดยน้ำหนัก แก๊สไฮโดรคาร์บอนร้อยละ 49.62 และ 47.37 โดยน้ำหนัก องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวมีปริมาณแนฟทาร้อยละ 21.43 และ 19.16 โดยน้ำหนัก ร้อยละเคโรซีน 8.37 และ 11.58 โดยน้ำหนัก แก๊สออยล์เบาร้อยละ 8.01 และ 5.71 โดยน้ำหนักตามลำดับ
Other Abstract: This research work is study the catalytic cracking of tung oil on heterogeneous base catalyst in a batch microreactor of 250 ml. The experiment was carried out under the various condition by the following variable: reaction temperature ranging 390°C to 440°C, reaction time of 30 to 60 minute, initial hydrogen pressure of 1 to 5 bars and amount of catalyst ranging from 2.5 to 10% by weight. The two level factorial experimental design was perform to investigate the effect of variable of oil yield to optimum condition. The product oil was analyzed by Simulated Distillation Gas Chromatography (DGC). According to design-expert program, it was found that reaction of tung oil on calcium oxide catalyst is temperature of 440°C, reaction time of reaction 38 minute, initial hydrogen pressure 1 bars by using 2.5 percent by weight gave the highest yield. The oil yield was 37.55 percent by weight, the naphtha yield was 19.16 percent by weight. In the reaction of tung oil on Magnesium oxide catalyst is temperature of 402°C, reaction time 30 minute, initial hydrogen pressure 1 bars by using 2.5 percent by weight gave the highest yield. The oil yield was 38.83 percent by weight, the naphtha yield was 21.43 percent by weight.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32620
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.394
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.394
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanatip_sr.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.