Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3298
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา โฆวิไลกูลen_US
dc.contributor.advisorสุชาติ ตันธนะเดชาen_US
dc.contributor.authorประดิษฐ์ อารยะการกุล, 2506-en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2007-01-05T06:39:48Zen_US
dc.date.available2007-01-05T06:39:48Zen_US
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.isbn9745321915en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3298en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลกับการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของมหาวิทยาลัย และพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการบริหารมหาวิทยาลัย จำนวน 4 คน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 121 คนจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดทำกลยุทธ์โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ด้วยวิธี การวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อจัดร่างกลยุทธ์ จัดประชุมกลุ่มสนทนาและตรวจสอบกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กลยุทธ์การแข่งขันของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติจริง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอกที่ชี้นำกลยุทธ์การแข่งขันของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอย่างมาก ทั้งในปัจจุบันและจะส่งผลต่อไปในอนาคต ได้แก่ ทิศทางการพัฒนาของประเทศที่มุ่งไปสู่สังคมดิจิตอล และการให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมตลอดอายุงานของแรงงานที่ประกอบวิชาชีพชั้นสูง ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอย่างมากทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต คือ คุณภาพของนักศึกษา การสนับสนุนด้านงบประมาณจากที่มีแนวโน้มลดลง และการขาดแคลนอาจารย์ที่มีคุณภาพ กลยุทธ์ด้านความเป็นผู้นำทางต้นทุนของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม กลยุทธ์ คือ 1) พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ 2) นักศึกษา 3) การบริหารและการเงิน 4) เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ กลยุทธ์ด้านการสร้างความแตกต่างของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม กลยุทธ์ คือ 1) พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ 2) นักศึกษา 3) การพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ 4) ความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงการตลาด กลยุทธ์การกำจัดขอบเขต ประกอบด้วย 4 กลุ่มกลยุทธ์ คือ 1) พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ 2) ความเป็นเลิศทางวิชาการ 3) การพัฒนาประชาคม 4) เป้าหมายเจาะจง การวิจัย พบว่า การพัฒนามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในภาพรวมควรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่พบทั้ง 3 ด้านของกลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์ที่มีความสำคัญลำดับรองลงมา ควรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ด้านนักศึกษา กลยุทธ์ด้านการบริหาร และกลยุทธ์ด้านวิชาการen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the internal and external environments, which affect the development of the university's competitive strategies, and to develop the competitive strategies of autonomous universities. The purposefully selected sample of 4 university management experts was subjected for interview and questionnaires were sent to 121 autonomous university executives. The autonomous universities in this study consist of Mae Fah Lung University, King Mongkut's University of Technology Thonburi, Suranaree University of Technology and Walailak University. The researcher used content analysis, interviews, and questionnaires as instruments to construct the draft strategies. The focus group and connoisseur finalize the practical competitive strategies of the autonomous universities. The findings reveal that some external environment factors highly impact both existing and future universities' management. The opportunity factors are the developmental direction heading to digital society and the life long training in some professions. The threat factors were the quality of students, the tendency of budgetary cutting and the quality of faculty. The overall low cost leadership strategies of the autonomous universities consist of four different groups of strategies i.e. strategic alliance and consortium, students, management and finance, and information technology and computer. The differentiation strategies include strategic alliance and consortium, students, development potential of university's academic, and marketing competitive advantage. The focus strategies are strategic alliance and consortium, academic excellence, community development, and niche market. Finally, the studies also show that strategic alliance and consortium strategies should be the first priority for the overall development of the autonomous universities because they were found in all competitive strategies. The second priorities are the students and academic strategies.en_US
dc.format.extent30184774 bytesen_US
dc.format.extent1843 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.format.mimetypetext/plain-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.879-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ -- ไทย -- การบริหารen_US
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐen_US
dc.title.alternativeThe development of competitive strategies of autonomous universitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSukanya.K@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorSuchart.T@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.879-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pradit.pdf9.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.