Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33098
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรมะ สตะเวทิน-
dc.contributor.authorพรเพ็ญ พยัคฆาภรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-07-15T08:59:12Z-
dc.date.available2013-07-15T08:59:12Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746333283-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33098-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเปิดรับสื่อมวลชน การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับจากสื่อมวลชนและความพึงพอใจของผู้สูงอายุจากการเปิดรับสื่อมวลชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล กระทำโดยการแจกแจงความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, t-test, การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเสร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้สูงอายุทั้งหญิงและชายส่วนใหญ่เปิดรับสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ทุกวัน โดยอ่านที่บันพักของตนเอง จะอ่านเมื่อมีเวลาว่าง หนังสือพิมพ์รายวันที่นิยมอ่านมากที่สุดคือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ การเปิดรับสื่อมวลชนประเภทวิทยุ เฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง ฟังคนเดียวที่บ้านพักของตนเองระหว่างเวลา 05.00-09.00 น. สถานีที่นิยมฟังมากที่สุด คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย การเปิดรับสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ ส่วนใหญ่จะเปิดรับเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 17.00-21.00 น. โดยมีโทรทัศน์ที่บ้านพักของตนเอง และเปิดดูร่วมกับสมาชิกในครอบครัว สถานที่นิยมดูมากที่สุดคือ สถานีโทรทัศน์กองทัพ ช่อง 7 ส่วนการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์ ส่วนใหญ่ดูเดือนละครั้งนิยมดูภาพยนตร์ไทย 2.การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อมวลชนของผู้สูงอายุในระดับปานกลาง 3.เพศ ระดับการศึกษา รายได้ ตากันเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อโทรทัศน์แตกต่างกัน 4.เพศ ต่างกันมีการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนแตกต่างกัน 5.การเปิดรับสื่อวิทยุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชน 6.การเปิดรับสื่อโทรทัศน์มีความสัมพันธ์ทางลบกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อมวลชน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the mass media exposure, use and gratification of the Thai elderly. Questionaires were used to collect the data from a total of 500 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, Analysis of Variance and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient were employed for the analysis of data. SPSS/PC+ program was used for data processing. ปThe results of the study were as follow 1.Both male and female elderly exposed themselves to newspapers daily. The newspaper reading was normally carried on at their own home, during the free-time. The most widely-read newspaper was Thai Rath. For radio exposure, most of the elderly listened to radio in the average of one hour everyday. They usually listened alone in their home, between 6.00 – 9.00 a.m. The most popular raido-station among them was Radio Thailand. Regarding television, most of the elderly watched television in the everage of two hours everyday in their home, during 5.00 – 9.00 p.m. In most case, they watched together with the members of their family. The most favorite TV-station was channel 7. As to cinema film, most of the elderly went to the cinema once a month. The favorite film was Thai movies. 2.In terms of use and gratification, it could be concluded that the older people exposed to mass media at moderate level. 3.The older people with different sexes, education and income levels were significantly different in exposure to newspaper and television. 4.Those with different sexes were significantly different in mass media use. 5.The exposure to radio was negatively correlated with mass media use 6.The exposure to television was negatively corelated with mass media use and gratification.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเปิดรับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อมวลชน ของผู้สูงอายุไทยen_US
dc.title.alternativeMass media exposure, use and gratification of the thai elderlyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpen_pa_front.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_pa_ch1.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_pa_ch2.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_pa_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_pa_ch4.pdf10.83 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_pa_ch5.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_pa_back.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.