Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33217
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์-
dc.contributor.advisorพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์-
dc.contributor.authorศกลวรรณ พาเรือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-19T01:58:11Z-
dc.date.available2013-07-19T01:58:11Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33217-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractวิเคราะห์สมรรถนะ พัฒนาสมรรถนะ สร้างแบบวัดและวัดสมรรถนะตามการรับรู้ของตนเอง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ให้มีระดับมาตรฐานสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนากรอบสมรรถนะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ จำนวน 36 ท่าน 2) นิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 5 ประเภทสถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐบาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ มหาวิทยาลัยรัฐไม่จำกัดรับ และมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 600 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 12 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบวัดสมรรถนะตามการรับรู้ของตนเอง และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในบริบทต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, one-way ANOVA และ Scheffe’s test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ มีจำนวน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) การเข้าถึงสารสนเทศ 3) การใช้สารสนเทศ 4) การผลิตและสร้างสรรค์สื่อสารสนเทศ 5) การสื่อสารสารสนเทศ 6) การจัดการสารสนเทศ 7) การประเมินค่าสารสนเทศ 8) จรรยาบรรณการใช้สารสนเทศ 2. ตัวบ่งชี้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ พัฒนาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ Bloom taxonomy (1959) สามารถจำแนกสมรรถนะได้ 3 กลุ่ม 88 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย กลุ่มสมรรถนะด้านความรู้ หรือพุทธิพิสัย (Cognitive domain) จำนวน 28 ตัวบ่งชี้ กลุ่มสมรรถนะด้านเจตคติ หรือจิตพิสัย (Affective domain) จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ และกลุ่มสมรรถนะด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) จำนวน 42 ตัวบ่งชี้ 3. แบบวัดสมรรถนะตามการรับรู้ของตนเอง (Self-report) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ สามารถจำแนกเป็นรายข้อ ตามรายสมรรถนะจำนวน 8 ด้าน รวม 88 ข้อ ประกอบด้วย ด้านที่ 1 ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 13 ข้อ ด้านที่ 2 การเข้าถึงสารสนเทศ จำนวน 10 ข้อ ด้านที่ 3 การใช้สารสนเทศ จำนวน 17 ข้อ ด้านที่ 4 การผลิตและสร้างสรรค์สื่อสารสนเทศ จำนวน 14 ข้อ ด้านที่ 5 การสื่อสารสารสนเทศ จำนวน 14 ข้อ ด้านที่ 6 การจัดการสารสนเทศ จำนวน 8 ข้อ ด้านที่ 7 การประเมินค่าสารสนเทศ จำนวน 5 ข้อ และด้านที่ 8 จรรยาบรรณในการใช้สื่อสารสนเทศ จำนวน 7 ข้อ 4. ผลการวัดสมรรถนะ นิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ทั้ง 8 ด้าน พบว่า ด้านการประเมินค่าสารสนเทศมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านจรรยาบรรณในการใช้สารสนเทศ ซึ่งทั้ง 2 ด้านนี้ อยู่ในระดับมาก และด้านที่กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการใช้สารสนเทศ ด้านการผลิตสื่อ ด้านการสื่อสาร ด้านการเข้าถึงสารสนเทศ และด้านการจัดการ และเมื่อจำแนกสมรรถนะตามความรู้ เจตคติ และทักษะพบว่า นิสิตนักศึกษา ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ มีสมรรถนะด้านเจตคติมากที่สุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็นด้านทักษะ และด้านความรู้ ซึ่งทั้ง 2 ด้านนี้อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ เพศไม่มีผลต่อระดับสมรรถนะ ขนาดสถาบัน และประเภทสถาบันมีผลต่อระดับสมรรถนะ 5. ข้อเสนอนโยบายในประเด็นหลัก 1) บริบทผู้เรียน : การเข้าร่วมกิจกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) บริบทผู้สอน : การพัฒนาสื่อสาระการเรียนรู้ และหลักสูตร 3) บริบทสถาบันอุดมศึกษา : จัดกิจกรรม ชมรม หลักสูตรฝึกอบรม 4) บริบทหน่วยงานระดับชาติ : จัดการวัดและประเมินผลระดับชาติ 5) บริบทระดับนานาชาติ : จัดการเรียนการสอนออนไลน์ ส่งเสริมกิจกรรม เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและต่างประเทศen_US
dc.description.abstractalternativeTo analyze and develop the competency in information and communication technologies (ICTs) of the students in the faculties of education, to construct a competency-based test on ICTs basing on their self-perception to test their competencies, and to propose some recommendations for policy-making to raise their standards to a satisfied level. The samples of this study were 36 experts who could provide information on the framework of ICTs for education students, 600 students in the faculties of education from 5 types of university, namely, government universities, Rajamangala universities of technology, autonomy universities, open universities and Rajabhat universities, and 12 knowledgeable persons who could give recommendations on ICTs for policy-making. The research instruments included an interview guideline for the experts, a self-reported questionnaire on ICTs and an opinionnaire on the recommendations for policy-making in various contexts. The data were analyzed by means of content analyses, frequency counts, percentages, means, standard deviations, t-tests, one-way ANOVAs, Scheffe’s tests and simple correlation coefficients. The findings can be summarized as follows: 1. There were eight aspects of education students’ ICT competencies as follows: 1) ICT knowledge for education, 2) Information Access, 3) Use of information and digital technology, 4) Production and creation of information media, 5) Information communication, 6) Information management, 7) Information evaluation and 8) Ethical use of information. 2. Based on Bloom's taxonomy of learning domains (1959), 8 ICT competencies and 88 ICT indicators could be categorized into 3 groups of 28 cognitive domain indicators, 18 affective domain indicators, and 42 psychomotor domain indicators. 3. Based on the analysis of the self-reported questionnaire, it was found that its 88 items could assess the students’ ICT competencies in 8 aspects, viz. 1) 13 items on ICT knowledge, 2) 10 items on Information Access, 3) 17 items on Use of Information, 4) 14 items on production and creation of information media, 5) 14 items on information communication, 6) 8 items on information management, 7) 5 items on information evaluation and 8) 7 items on ethical use of information. 4. Based on the 8 aspects of ICT competencies, it was found that the education students had the highest level of ICT competencies in information evaluation. Ethical Use of information was at the second highest level. These 2 aspects were at a high level. The rest were at a moderate level and could be ranked accordingly to the magnitude of their means as follows : ICTs knowledge, use of information, production and creation of information media, information communication, information access, and information management. When taking each domain into consideration, it was found that education students’ affective domain was at the highest level and followed by psychomotor domain and cognitive domain as the second and third highest ranks respectively at a moderate level. In addition, gender was not a significant variable affecting their competency levels where as the size and type of academic institutions were significant variables. 5. Some recommendations for policy-making were proposed as follows: 1) Learner context : The learners should participate in ICT activities, 2) Instructor context : The instructors should develop learning materials and courses, 3) Institution of education context : Institution of education should provide ICT activities and training programs, 4) National agency context : National agency should provide examination and evaluation on ICT performance at a national level, 5) International context : Online learning should be provided and related activities that can link between domestic and international academic institutions should be supported.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.427-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศen_US
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectครุศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectการเรียนรู้en_US
dc.subjectInformation technology policyen_US
dc.subjectInformation technology -- Study and teaching (Higher)en_US
dc.subjectEducation -- Study and teaching (Higher)en_US
dc.subjectLearningen_US
dc.titleการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of information and communication technology competency of education studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichan.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPansak.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.427-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
skonwan_pa.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.