Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33252
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนจากประสบการณ์บนเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Development of a knowledge management model with experiential learning via the network to enhance educational innovation creating ability of teachers under the Office of The Basic Education Commission
Authors: ธัชกร สุวรรณจรัส
Advisors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: ครู -- การฝึกอบรม
การบริหารองค์ความรู้
การเรียนรู้แบบประสบการณ์
นวัตกรรมทางการศึกษา
Teachers -- Training of
Knowledge management
Experiential learning
Educational innovations
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนจากประสบการณ์บนเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนจากประสบการณ์บนเครือข่าย โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบฯ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบฯ และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2553 ในโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 รวม 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนจากประสบการณ์บนเครือข่ายประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) คน ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ ทีม ทีมจัดการความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และกัลยาณมิตร 2) กระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการสร้างและถ่ายทอดความรู้ และกระบวนการสร้างแรงจูงใจในการจัดการความรู้ 3) เทคโนโลยี ประกอบด้วย การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารความรู้อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสนับสนุนการทำงานร่วมกัน 4) ความรู้จากประสบการณ์ของครู เพื่อนร่วมเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และกัลยาณมิตร และ 5) เครือข่าย ประกอบด้วย เครือข่ายคนและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. รูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนจากประสบการณ์บนเครือข่าย ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การบ่งชี้ความรู้ 3) การสร้างและแสวงหาความรู้ 4) การจัดเก็บและเข้าถึงความรู้ 5) การแลกเปลี่ยนความรู้ 6) การประยุกต์ใช้ความรู้ และ 7) การประเมินผลความรู้ 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการประเมินผลงานนวัตกรรมคะแนนเฉลี่ยรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 5 กลุ่มอยู่ในระดับดีมาก และกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่ารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนจากประสบการณ์บนเครือข่าย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The purposes of this research were to study, develop, examine, and propose a knowledge management model with experiential learning via the network to enhance educational innovation creating ability of teachers under the Office of the Basic Education Commission. The research method comprised of four steps as follows: step 1: study the model by analyzing and synthesizing related documents, and interview seven experts; step 2: develop the model; step 3: examine the effect of the model; and step 4: propose the model. Thirty teachers teaching in the academic year of 2010 from five schools in the secondary educational service area office 2 under the Office of the Basic Education Commission were participated in the study. The research results indicated that : 1. The five components of the model were: 1) people including leadership, team, knowledge management team, experts, and amicable friends, 2) process including SECI MODEL and KM motives, 3) technology including e-Communication, e-Knowledge Bank, and e-Collaboration, 4) knowledge from experience including teachers, co-learners, experts, and amicable friends, and 5) network including people network and internet network. 2. The seven steps of the model were: 1) activity preparation, 2) knowledge identification, 3) knowledge creation and acquisition, 4) knowledge storage and accessibility, 5) knowledge sharing, 6) knowledge application, and 7) knowledge evaluation. 3. There were significant differences between teachers’ pretest and posttest in the educational innovation creating ability value at the .05 level. The educational innovations created by the samples were evaluated at the excellent level. The samples perceived that the model was appropriate at the highest level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33252
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1493
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1493
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
touchakorn_su.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.