Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33299
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพร อุวรรณโณ-
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.authorปิยฉัตร ไตละนันทน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2013-07-22T07:31:16Z-
dc.date.available2013-07-22T07:31:16Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33299-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุอิงทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของพฤติกรรม การสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างไร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างตัวแปรเชิงสาเหตุต่อเจตนาเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมการสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยแยกเป็น 3 ด้านคือ 2.1 เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของเจตคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ส่งผ่านเจตนาเชิงพฤติกรรม ต่อพฤติกรรมการสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 2.2 เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงของการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและเจตนาเชิงพฤติกรรม ต่อพฤติกรรมการสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และ 2.3 เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรลักษณะข้าราชการ 3 ตัวแปร ได้แก่ ความดึงดูดของเงินเดือนใหม่ของพนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการ เจตคติต่อการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของตนเอง และระยะเวลาปฏิบัติงานที่เหลืออยู่ก่อนครบเกษียณอายุราชการ ที่มีต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมการสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นมาตรจำแนกความหมาย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตั้งแต่ .80 ถึง .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุอิงทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของพฤติกรรม การสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 18.15, df = 10, p = .052, RMSEA = .050, GFI = .988, AGFI = .946) โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้ 17% ซึ่งตัวแปรพฤติกรรมการสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเจตนาเชิงพฤติกรรม และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ความดึงดูดของเงินเดือนใหม่ ของพนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการ และเจตคติต่อการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของตนเอง โดยส่งผ่านตัวแปรเจตนาเชิงพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.description.abstractalternativeTo 1) develop and validate the planned behavior theory-based, causal model of changing status behavior to become university employees of Chulalongkorn University’s civil servants, 2) study effects of causal variables on changing status behavior to become university employees in 3 aspects: 2.1 to study direct effects and indirect effects of attitude toward the behavior, subjective norm, and perceived behavioral control on changing status behavior to become university employees; 2.2 to study direct effects of perceived behavioral control and intention on changing status behavior to become university employees; and 2.3 to study direct effects and indirect effects of civil servants’ attribute variables: new salary attractiveness, self-attitude toward university employee status, and job duration left before retirement on intention and changing status behavior to become university employees. The sample consisted of 332 Chulalongkorn University’s civil servants. Data were collected by semantic differential scales, with reliability coefficients ranging from .80 to .96. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and LISREL analysis. Research results show that the planned behavior theory-based, causal model of changing status behavior to become university employees of Chulalongkorn University’s civil servants fits to the empirical data (X² = 18.15, df = 10, p = .052, RMSEA = .050, GFI = .988, AGFI = .946). The model can explain the variance in changing status behavior to become university employees about 17%. The changing status behavior to become university employees have significant direct effects from intention and perceived behavioral control, and indirect effects from subjective norm, perceived behavioral control, new salary attractiveness, and self-attitude toward university employee status, all of which are mediated by intention.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1501-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การออกนอกระบบราชการen_US
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การบริหารงานบุคคลen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551en_US
dc.subjectพนักงานมหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.subjectพฤติกรรมมนุษย์en_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectChulalongkorn Universityen_US
dc.subjectChulalongkorn University -- Personnel managementen_US
dc.subjectUniversities and colleges -- Employeesen_US
dc.subjectAttitude ‪(Psychology)‬en_US
dc.subjectHuman behavioren_US
dc.subjectPerceptionen_US
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุอิงทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของพฤติกรรมการสมัครเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of the planned behavior theory-based, causal model of changing status behavior to become university employees of Chulalongkorn University's civil servantsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTheeraporn.U@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNonglak.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1501-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyachat_ta.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.