Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33597
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้จากการบูรณาการอีเลิร์นนิ่งในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Factors affecting inquiry mind of Chulalongkorn University undergraduate students from an e-learning classroom integration
Authors: ภัทรพร อุณหเศรษฐ์
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jaitip.N@chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
Chulalongkorn University -- Students
Web-based instruction
Inquiry-based learning
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความใฝ่รู้ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความใฝ่รู้กับตัวแปรในด้านบทบาทผู้สอน คุณลักษณะผู้เรียน การสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย โครงสร้างพื้นฐาน คุณลักษณะระบบบริหารจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน ลักษณะของสื่ออีเลิร์นนิ่ง และการประเมิน (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้จากการบูรณาการอีเลิร์นนิ่งในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้คือ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากทั้งหมด 18 คณะ 1 สำนักวิชา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีการบูรณาการระบบบริหารจัดการเรียนรู้ในการเรียน ปีการศึกษา 2553 จำนวน 540 คน การเก็บข้อมูลเป็นการเก็บแบบลูกโซ่และแบบโดยบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรจำนวน 54 ตัวแปร จากปัจจัยทั้ง 8 ด้าน คือ ปัจจัยด้านบทบาทผู้สอน ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้เรียน ปัจจัยด้านการสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยด้านคุณลักษณะระบบบริหารจัดการเรียนรู้ ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านลักษณะของสื่ออีเลิร์นนิ่ง และปัจจัยด้านการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีการบูรณาการอีเลิร์นนิ่งในการเรียนมีความใฝ่รู้อยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กับความใฝ่รู้ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจำนวน 29 ตัวแปร โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน การสอนการคิดวิเคราะห์ และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น มีตัวแปรที่สามารถอธิบายปัจจัยจากการบูรณาการ อีเลิร์นนิ่งที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 7 ตัวแปร ดังนี้ คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การทำกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้เรียนแบบพบหน้า การสอนการคิดวิเคราะห์ เว็บไซต์ที่เสริมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียน การให้ศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากหนังสือตำรา การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบอัตนัย (เติมคำและบรรยาย) และการศึกษาเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ โดยตัวแปรที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความใฝ่รู้ได้เท่ากับ 21.3%
Other Abstract: The purpose of this research was to study factors affecting an inquiry mind of Chulalongkorn University (CU) undergraduate students with the e-learning classroom integration. The sampling was selected from 19 faculties, the academic year of 2010 at CU with a Stratified Random Sampling technique. The research instrument was a questionnaire survey. The instrument consisted of items covered the 54 variables and 8 factors of the instructor, the student, the policy’s support of the university, infrastructure, the learning management system, the pedagogy, the e-learning material and the assessment. The data were collected by a non-probability sampling methods, using snow ball and an Accidental Sampling techniques. The numbers of 540 respondents were completed to ensure its validity. The data was finally analyzed by mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation, and multiple regression analysis. The finding revealed that: 1) The undergraduate students rated their inquiry mind as moderate 2) There were statistically significant positive relationship at the .05 level between the inquiry mind and 29 selected variables. The top three variables were the students’ analytical thinking ability, analytical thinking pedagogy, and student’s learn participation. 3) Multiple regression analysis was at the .05 level using the stepwise method. There were 7 predicted variables that affected inquiry mind ,which were student’s analytical thinking ability, student’s face-to-face activities, analytical thinking pedagogy, website with related learning content, studying from academic text book, assessment test (Open-ended Item), and studying the content online. These predicted variables together were able to account for 21.3% of the variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33597
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.428
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.428
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattaraporn_uo.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.