Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35766
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ อัญชลีนุกูล-
dc.contributor.advisorพรทิพย์ พุกผาสุข-
dc.contributor.authorสุทธาทิพย์ อร่ามศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-08-30T14:38:10Z-
dc.date.available2013-08-30T14:38:10Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35766-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเขียนเพื่อโน้มน้าวใจในคอลัมน์หมวดแฟชั่นในนิตยสาร SPICY ปี 2549 ผลการวิจัยพบว่า คอลัมน์แฟชั่น นิตยสาร SPICY มีกลวิธีการเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ 2 กลวิธี คือ กลวิธีการใช้คำเพื่อโน้มน้าวใจ และกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ กลวิธีการใช้คำเพื่อโน้มน้าวใจ แบ่งออกเป็น กลวิธีการใช้คำตั้งชื่อเรื่อง และกลวิธีการใช้คำในเนื้อเรื่อง กลวิธีการใช้คำตั้งชื่อเรื่องพบกลวิธีเด่น 2 กลวิธี คือ กลวิธีการใช้คำระบุประเภท และกลวิธีการใช้คำขยายเพื่อโน้มน้าวใจ กลวิธีการใช้คำระบุประเภท ประกอบด้วยการใช้คำระบุประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ การใช้คำระบุประเภทเครื่องแต่งกาย การใช้คำระบุโอกาส การใช้คำระบุรูปแบบแฟชั่น การใช้คำระบุสี และการใช้คำระบุกลุ่มเป้าหมาย กลวิธีการใช้คำขยายเพื่อโน้มน้าวใจนั้น ประกอบด้วยการใช้คำขยาย 3 ประเภท คือ การใช้คำขยายที่ระบุลักษณะพึงประสงค์ของกลุ่มเป้าหมาย การใช้คำขยายที่ระบุลักษณะพึงประสงค์ของเครื่องแต่งกาย และการใช้คำขยายที่โยงผู้อ่านเข้ากับบุคคลที่มีชื่อเสียง ส่วนกลวิธีการใช้คำในส่วนเนื้อเรื่อง พบกลวิธีเด่น 2 กลวิธี คือ กลวิธีการใช้คำเพื่อสร้างความเป็นกันเองและกลวิธีการใช้คำที่สื่อความหมายในด้านดีของแฟชั่น กลวิธีการใช้คำเพื่อสร้างความเป็นกันเอง ประกอบด้วย การทับศัพท์ การใช้คำสแลง การใช้คำสรรพนาม และการใช้คำที่เขียนเลียนแบบเสียงพูด ส่วนกลวิธีการใช้คำที่สื่อความหมายในด้านดี ประกอบด้วย การใช้คำระบุคุณสมบัติด้านความทันสมัย การใช้คำระบุคุณสมบัติด้านรสนิยม และการใช้คำระบุคุณสมบัติด้านความคงทนของแฟชั่น ในด้านกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจพบว่ามีกลวิธีที่น่าสนใจ 7 กลวิธี คือ การใช้ระดับภาษาไม่เป็นทางการ การให้คำแนะนำ การกล่าวอ้างบุคคล การรับรองผล การกล่าวย้ำความสำคัญ การเปรียบเทียบ และการใช้จุดจับใจด้านราคาen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis is aimed at studying persuasive devices in fashion columns in SPICY magazine in the year 2006. The results of the study suggest that there are two persuasive devices used in the magazine : the persuasive word strategies and the persuasive linguistic strategies. The persuasive words strategies can be divided into the word choice in the title and in the magazine’s texts. In the title, two persuasive devices are used. They are the use of fashion word categorization and the use of fashion modifiers. In the part of fashion word categorization, we found classifying types of clothing, emphasizing occasions, mentioning fashion trends, colors, and narrating the target group. As to the use of fashion modifiers, we found the persuasive modifiers on in target group, on fashion and on referring to the celebrities. For the word choice in magazine’s texts, two eminent strategies were found, one was the use of linguistic familiarity and the other was linguistic positiveness. In terms of linguistic familiarity strategy, it included the use of transliterated words, slang expressions, pronouns and texts in imitation of spoken words. In addition, in the linguistic positiveness strategy, it was found the use of words conveying fashion in terms of modernity, taste and durability. For the persuasive linguistic strategies in SPICY magazine in the year 2006, it was found that there were 7 sub-strategies employed, including the use of informal language, provision of recommendation, reference to celebrities, expression of assurance, emphasis on importance, use of comparison, and price appeal.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.57-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การเขียนen_US
dc.subjectการเขียนen_US
dc.subjectวารสาร -- วิธีเขียนen_US
dc.subjectสไปซี่ -- วารสารen_US
dc.subjectการโน้มน้าวใจen_US
dc.subjectโฆษณาทางวารสารen_US
dc.subjectThai language -- Writingen_US
dc.subjectWritingen_US
dc.subjectSpicy -- Periodicalsen_US
dc.subjectPeriodicals -- Techniqueen_US
dc.subjectAdvertising, Magazineen_US
dc.subjectPersuasion (Psychology)en_US
dc.titleกลวิธีการเขียนเพื่อโน้มน้าวใจในคอลัมน์หมวดแฟชั่นในนิตยสาร SPICY พ.ศ.2549en_US
dc.title.alternativePersuasive devices in fashion columns in Spicy magazine in the year 2006en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSunant.A@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPhornthip.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.57-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutatip_ar.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.