Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35895
Title: การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายอุตสาหกรรมในประเทศไทยโดยใช้เครื่องมือตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต
Other Titles: An analysis of environmental burden and developed clean technology in Thailand
Authors: ณิรดา ภูมิสิริภักดี
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทคโนโลยีสะอาดเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงทศวรรษหลังมานี้ อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาระสิ่งแวดล้อมทั้งก่อนและภายหลังหากประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดตามแบบอย่างประเทศต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเดนมาร์ก หรือประเทศเยอรมันก็ตาม ในปี พ.ศ.2548 โดยใช้เครื่องมือตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ขนาด 37 x 37 สาขาการผลิต และข้อมูลการใช้พลังงานรายอุตสาหกรรมจากพลังงาน 29 ชนิดและได้ให้ประเทศบราซิลเป็นประเทศเทียบเคียงอยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศไทยซึ่งมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผลการศึกษามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาภาระสิ่งแวดล้อมจะทำการวิเคราะห์จากการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามภาระรับผิดชอบตามการปลดปล่อยที่จุดผลิตพร้อมทั้งเปรียบเทียบมูลค่าผลตอบแทนจากการขายคาร์บอนเครดิตต่อมูลค่าการลงทุนเทคโนโลยี ผลจากการศึกษาพบว่า ภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด และมีภาระสิ่งแวดล้อมมากที่สุดทั้งในประเทศไทย คือ ภาคการขนส่งและการจัดเก็บสินค้า รองลงมาเป็นสาขาการผลิตที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เช่น ภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ สิ่งทอและผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง และเป็นสาขาที่ประเทศไทยต้องแบกรับภาระทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ภายหลังที่ประเทศไทยและประเทศบราซิลได้มีการลงทุนในเทคโนโลยีตามแบบประเทศต้นแบบพบว่า ภาระสิ่งแวดล้อมโดยรวมและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมลดลง โดยมีภาคการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าเป็นสาขาที่ภาระสิ่งแวดล้อมลดลงมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการขายคาร์บอนเครดิตจากปริมาณการปล่อยก๊าซที่ลดลงภายหลังจากมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่อมูลค่าการลงทุนในเทคโนโลยีพบว่า ในประเทศไทยภาคขนส่งและการจัดเก็บสินค้า โลหะขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ อุปกรณ์วิทยุและการสื่อสาร และภาคการไฟฟ้า ก๊าซและการประปา เป็นภาคที่มีสัดส่วนของผลตอบแทนมากกว่ามูลค่าการลงทุน ส่วนประเทศบราซิลมีเพียงภาคขนส่งและการจัดเก็บสินค้าเท่านั้น ที่มีสัดส่วนของมูลค่าผลตอบแทนมากกว่าการลงทุน ดังนั้นประเทศไทยและประเทศบราซิลควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีตามประเทศต้นแบบในสาขาดังกล่าว เพราะนอกจากจะได้ผลตอบแทนจากการขายคาร์บอนเครดิตแล้ว ยังสามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
Other Abstract: The development of clean technology in Thailand is necessary issue for decreasing environmental burden. The objective of this study evaluated the environmental burden for all sectors of Thailand in 2005 by input-output analysis in 37 industries. Thailand was considered the environmental burden when it took clean technology from Denmark and Germany, it was compared environmental burden the same as Brazil due to have technology form like Thailand for obvious result. All 29 energy type using of each industry was used in analysis. The results show that the transportation and storage of Thailand and Brazil is the highest sector of carbon-dioxide emissions and environmental burden. Almost sectors in Thailand and Brazil can reduce environmental burden and carbon-dioxide emission when they got the clean technology from Denmark and Germany. In Thailand, Transportation and storage, Basic metals, Food products, beverages and tobacco, Radio, television and communication equipment and Electricity, gas and water supply have values of carbon credit more than values of investment in technology. And Transportation and storage is only sector can get a greater return on investment. So those sectors should be developed technology because they can make returns and mitigate sustainable Global Warming in each industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35895
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nirada_po.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.