Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36051
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลินี อาชายุทธการ-
dc.contributor.authorสุนิษา สุกิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialตาก-
dc.date.accessioned2013-10-09T02:45:48Z-
dc.date.available2013-10-09T02:45:48Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36051-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเต้นจะคึของลาหู่นะ (มูเซอดำ) กรณีศึกษา ตำบล ด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2500 – 2552 มุ่งศึกษาถึงประวัติความเป็นมา พัฒนาการ องค์ประกอบ รวมถึงลักษณะท่าเต้นในการเต้นประกอบพิธีกรรมของชาวลาหู่ โดยรวบรวมข้อมูลจาก เอกสารทางวิชาการ การสำรวจ การสัมภาษณ์ทังผู้นำหมู่บ้าน ผู้ประกอบพิธีกรรม นักดนตรีและผู้แสดง สังเกตการณ์การเต้นในพิธีกรรมและการเต้นเพื่อการต้อนรับและฝึกปฏิบัติการเต้นด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า การเต้นของลาหู่นะ (มูเซอดำ) เรียกว่าการเต้นจะคึ ซึ่งคำว่า “จะคึ” ในภาษา มูเซอแปลว่าการเต้น โดยการเต้นนีจะเป็นการเต้นเพื่อประกอบการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวลาหู่นะ คือ ผีและพระเจ้ากือซ่า การเต้นจะคึเกิดขึนจากความเชื่อและพิธีกรรมในการดำรงชีวิตของชาวลาหู่นะ โดย การเต้นเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีกรรมปีใหม่ เกี่ยวข้องกับการเฉลิม ฉลองปีใหม่ พิธีกรรมกินข้าวใหม่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและพิธีกรรมการเรียกขวัญใน การรักษาการเจ็บป่วยเกี่ยวข้องกับการรักษาโรค อีกทังในปัจจุบันด้วยเหตุของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป สังคม การศึกษาเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตทำให้ชาวลาหู่นะนำเอาศิลปวัฒนธรรมการเต้นในการ ประกอบพิธีกรรมมาเป็นการเต้นเพื่อการต้อนรับ การเต้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทุกคนในหมู่บ้านจะเต้น ณ ลานจะคึกื่อ การเต้นเพื่อการเต้นรับผู้แสดงจะเต้น ณ ลานกว้างเขตสาธารณะของหมู่บ้าน ซึ่งผู้แสดงจะสวม ชุดประจำเผ่าลาหู่นะ ลักษณะของการเต้นพบว่า การเต้นจะคึเป็นการเต้นประกอบจังหวะเพลงของเครื่อง ดนตรีทังหมด 5 ชนิด คือ แคนขนาดใหญ่ แคนขนาดกลาง แคนขนาดเล็ก ซึงและขลุ่ย ซึ่งการเต้นเพื่อการ ต้อนรับจะใช้เครื่องดนตรีเพียง 4 ชนิด โดยไม่สามารถนำแคนขนาดใหญ่มาใช้ได้ การเต้นในพิธีกรรมจะมี เครื่องบวงสรวงประกอบเพื่อความเป็นสิริมงคลและความสมบูรณ์ของพิธีกรรม เช่น เทียนขีผึง ข้าวตอก ข้าวเปลือก เครื่องเงิน ใบชาแห้ง ยาสูบ ด้ายผูกข้อมือและอาหาร ด้านลักษณะของท่าเต้นนันการใช้ศีรษะทัง นักแสดงชายและหญิงจะเป็นไปอย่างธรรมชาติและอิสระ การใช้ลำตัวมี 2 ลักษณะคือ ลำตัวตังตรงและการ เอนลำตัว การใช้มือแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ การใช้มือแบบสัมผัสมือกันโดยตรงและการใช้ผ้าเพื่อจับ การใช้ขา แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือแบบยืนตรง แบบยกขาและการเหวี่ยงขา ซึ่งลักษณะเด่นของการเต้น จะเป็นจังหวะของการใช้เท้าเป็นหลัก การเต้นจะคึนันนักดนตรีจะเป็นผู้นำในการเต้นเพื่อให้เกิดความพร้อม เพรียง โดยการเต้นประกอบพิธีกรรมจะเต้นวนทางด้านซ้ายในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ก่อนจบการเต้นนัก ดนตรีจะเป็นผู้นำ โดยจะเต้นวนกลับทางด้านขวาในลักษณะวนตามเข็มนาฬิกาจำนวน 7 รอบ ซึ่งการเต้น ประกอบพิธีกรรมจะเต้น ณ ลานจะคึกื่อและการเต้นเพื่อการต้อนรับจะเต้น ณ ลานสาธารณะของหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันเพลงที่ใช้เต้นจะคึมีทังหมด 23 เพลง มีท่าเต้นทังหมด 83 ท่า ซึ่งลักษณะของท่าเต้นจะคึของชาว ลาหู่นะ เป็นการสื่อให้เห็นถึงความรัก ความอบอุ่น และความสามัคคีในหมู่คณะ งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมด้านหนึ่งของชนเผ่ามูเซอซึ่งเป็นแนวทางใน การศึกษาการแสดงของชนกลุ่มน้อยอื่นๆอีกทังยังเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ให้คงอยู่สืบไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis’s objective is to study Lahu Na (Black Musur) dance patterns. A case study at Danmaelamao sub district , Maesod district, Tak province during B.E. 2500 – 2552 aimed to study history, development, components including dancing patterns of Muser hill tribes. This research was conducted by gathering data from academic papers, observing, interviewing head of the village, ritual operating, musicians and performers, observing dancing for rituals, dancing for welcoming visitors, and self- practices. The findings revealed that Musur’s dancing patterns are called Jakue dancing. In Musur language, the word “Jakue” means dancing. The dancing is performed in having sacrifices to sacred items for Musur people such as demons and a Guesa god. The dance is created by belief and rituals in Musur people ways of living. The dance plays important roles in having any kinds of ceremonies such as a New Year celebration related to celebrating a new year time, having new rice ceremony which is related to agriculture, and reassuring spirit ritual in curing sicknesses that is about healing sicknesses. In the present, due to societies have been changing, education becoming an important factor in their ways of living caused Musur people adopting art of the dancing in any kinds of ceremonies to be dancing for welcoming visitors. The dance for holding ceremonies is performed at Jakueku yard. The welcoming dance is showed at a large public ground in the village. All performers have to wear Musur costumes. Dancing’s character is to be harmonious with song’s rhythm by five pieces of musical instruments such as reed mouth organs that comes in three sizes; large, medium, and small, a Sueng, and Khluy (a Thai organ). For dancing in welcoming visitors, four kinds of musical instruments mentioned before are used excluding a large mouth organ. In ritual dancing, in offering sacrifices for having good lucks and completing in holding ceremonies, there are holy items such as candle wax, popped rice, paddy, silver wears, dried tea leaves, tobaccos, holy thread, and foods. When dancing, male and female performers let heads move naturally and freely. Their body movement consists of two types; straight body movement and leaned body movement. There are 2 types for hand movement such as direct hand to hand touching type and hand to clothe touching type. Leg movement consists of three types such as straight-standing type, lifted-one leg type, and swayed-one leg type. An outstanding feature of dancing patterns is foot movement’s rhythm which is significant. To be in harmony, dancing is leaded by musicians. In one round dancing, only one musical instrument is played. Performing ritual dancing needs to be done counterclockwise and before the end of dancing, musicians have to lead dancing clockwise for seven rounds. Jakueku yard is used as a place for ritual ceremonies and in welcoming visitors a public yard is used instead. Now, there are totally 23 songs used in Jakue dancing and 83 dancing patterns. These dancing patterns aim at expressing affections, warmth, and unity in groups of people.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.958-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectลาหู่ -- ไทย -- ตากen_US
dc.subjectชาวเขา -- ความเป็นอยู่และประเพณีen_US
dc.subjectการเต้นรำพื้นเมือง -- ไทยen_US
dc.subjectLahu (Asian people) -- Thailand -- Taken_US
dc.subjectHill tribes -- Manners and customsen_US
dc.subjectFolk dancing -- Thailanden_US
dc.titleการเต้นจะคึของลาหู่นะ (มูเซอดำ) กรณีศึกษา ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตากen_US
dc.title.alternativeLahu na (Black Musur) dance : a case study at Danmaelamao sub district, Maesod District, Tak Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorMalinee.A@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.958-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sunisa_su.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.