Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36157
Title: การสร้างขุมความรู้ ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล ตามแนวคิดการจัดการความรู้ ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: The creation of knowledge assets for nursing instruction based on knowledge management concept in Nursing Colleges under Praboromarajchanok Institute, the Ministry of Public Health
Authors: กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: pansakp@gmail.com
Sirichan.S@chula.ac.th
Subjects: วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
การบริหารองค์ความรู้
การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน
Nursing Colleges under Praboromarajchanok Institute
Knowledge management
Nursing -- Study and teaching
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพความรู้ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล และพัฒนาขุมความรู้ตามรูปแบบการสร้างขุมความรู้ ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล ตามแนวคิดการจัดการความรู้ ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1)หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลและอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาลผู้สูงอายุ จำนวน 61 คน 2)ผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่มีประสบการณ์สูงเพื่อสร้างรูปแบบการสร้างขุมความรู้จำนวน 8 คน 3)ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรวบรวมความรู้ตามรูปแบบการสร้างขุมความรู้ จำนวน 5 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาลผู้สูงอายุจำนวน 8 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการสอน และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์สาระ (content analysis) และสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก มีการจัดการความรู้ ไว้ในทุกภารกิจ คือ ด้านวิชาการ ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการแก่สังคม ด้านพัฒนานักศึกษา และด้านบริหาร 2. รูปแบบการสร้างขุมความรู้ ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล ประกอบด้วย 1) การรวบรวมความรู้โดยนัย และความรู้ชัดแจ้ง ในระดับ บุคคล 2) ระดับของความรู้ ได้แก่ รู้ว่าคืออะไร รู้วิธีการ รู้เหตุผล และ ใส่ใจกับเหตุผล 3) การนิยามความรู้ ได้แก่ ความรู้ที่รู้ว่ารู้ ความรู้ที่รู้ว่าไม่รู้ ความรู้ที่ไม่รู้ว่ารู้ และ ความรู้ที่ไม่รู้ว่าไม่รู้ 3. ขุมความรู้ด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ขุมความรู้ เกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ใช้ เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนมีวิธีการสอนที่หลากหลาย ได้แก่ 1) แบบกรณีศึกษา 2) แบบการศึกษาจากสภาพจริง 3) แบบแผนผังมโนทัศน์ 4) แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 5) แบบคิดวิจารณญาณ 6) แบบใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 7) แบบใช้สถานการณ์จำลอง 8) แบบเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง 9) บทบาทสมมติ 10) แบบสืบสวน 11) แบบเรียนผ่านสื่อ 12) แบบผสมผสาน และมี กลเม็ด เคล็ดลับ หรือ เทคนิคเฉพาะตัวที่ใช้เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) การเลือกกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับความรู้ ประสบการณ์ของนักศึกษา โดยเฉพาะการสอนในคลินิก ต้องเลือกสถานการณ์ที่เป็นการวิเคราะห์ทางการพยาบาล (Nursing diagnosis) มากกว่าการวิเคราะห์ทางการแพทย์ (Doctor diagnosis) 2) การจัดทำธนาคารกรณีศึกษา (case bank) 3) การจัดประสบการณ์ใกล้ตัวนักศึกษา 4) ผู้สอนศึกษาจากสภาพจริง โดยเข้าไปฝังตัว และร่วมทำงานกับแหล่งฝึก 5) การจัดทำผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ให้นักศึกษาได้มีความคิดรวบยอด 6) การใช้สถานการณ์ปัญหาที่เป็นปัจจุบันเป็นประเด็นหลักในการเรียนการสอน 7) การสร้างการคิดวิจารณญาณ ( Critical thinking) ที่มุ่งสร้างความสามารถในการคิดพิจารณาเหตุผล เหตุการณ์ 8) การตั้งคำถามให้นักศึกษาเกิดการค้นคว้าหาความรู้ ( Knowledge Inquiry) 9) การใช้กระบวนการทำงานวิจัยควบคู่กับการสอน 10) การฉายภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาให้นักศึกษาดูแล้ววิเคราะห์ 11) การให้นักศึกษาร่วมกันคิดสถานการณ์จำลอง และร่วมแสดงกันเอง 12) การจูงใจให้นักศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างประเทศ (Textbook) การแนะนำเว็บไซต์ (guide website) ให้อ่านงานวิจัย การเข้าฐานข้อมูล (data base) ให้มากขึ้น13) กระตุ้นให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ (Incident analysis) เน้นเรื่องสำคัญมากที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง พยายามหาคำตอบให้ตนเองตอบคำถามให้ถึงที่สิ้นสุดข้อสงสัย เน้นให้นักศึกษาคัดเลือกหนังสือที่อ่านเข้าใจง่ายและลึกซึ้ง 14) การเล่นบทบาทสมมติ (role play) การจัดรายการวิทยุ การสร้างแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ 15) การตั้งคำถาม ปุจฉา วิสัจชนา การใช้แรงกดดันเล็กๆที่พอเหมาะ ตั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบในหนังสือโดยตรง 16) การใช้ความสามารถของระบบเครือข่าย 17) การผสมผสานวิธีการสอนหลายๆแบบ เช่น team base learning+cooperative learning+project base learning 18) การนำเสนอโดยการเขียนบทความวิชาการ ซึ่งใช้การคิดวิเคราะห์มาหักล้างกับการกระทำบางอย่างที่ไม่เห็นด้วย 2) ขุมความรู้ เกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการอย่างแท้จริง 3) ขุมความรู้ เกี่ยวกับความรู้ที่ทันยุคสมัย 4) ขุมความรู้ เกี่ยวกับ ความรู้ที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ 5) ขุมความรู้ เกี่ยวกับ ความรู้ที่รู้ว่ารู้ 6) ขุมความรู้ เกี่ยวกับความรู้ที่รู้ว่าไม่รู้ 7) ขุมความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่ไม่รู้ว่ารู้ และ 8) ขุมความรู้ เกี่ยวกับความรู้ที่ไม่รู้ว่าไม่รู้
Other Abstract: This research aims to examine the nursing instruction knowledge and to pursue the creation of knowledge assets for nursing instruction based on the knowledge asset creation model and knowledge management concept in Nursing Colleges under Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. The data are collected from the sample group consisting of (1) head of the School of Nursing and nursing instructors responsible for the gerontological nursing instruction in total of 61 persons; (2) 8 senior specialists on knowledge asset model creation; (3) 5 specialists for the collection of data on knowledge asset creation model; and (4) 8 senior experts with the experience and expertise in the gerontological nursing instruction. The questionnaire, interview form, observation form and focus group discussion assessment form are employed in data collection, while the data analysis is conducted by means of content analysis. Besides, the statistical methods include the frequency, percentage, means, and standard deviation. The research results are as follows: 1. The knowledge management is available in the nursing college and covers all missions, namely, academic affairs, research works, academic services for the society, student development activities and administration. 2. The creation of knowledge assets for nursing instruction model consists of 1) the collection of individual tacit and explicit knowledge 2) the level of knowledge including know-what, know-how, know-why and care-why 3) the defining of knowledge, namely, the knowledge you know you have, the knowledge you know you don't have, knowledge you don't know you have and the knowledge you don't know you don't have. 3. The knowledge assets for the gerontological nursing instruction are: 1) the knowledge assets on the principles, concepts, theories and learner-focus instruction – this is due to the fact that the instructors employ various instructional methods such as 1) case study, 2) authentic instruction, 3) concept mapping, 4) problem-based learning, 5) critical thinking, 6) evidence-based practice, 7) simulation, 8) self-directed learning, 9) role play, 10) inquiring learning, 11) learning via media, and 12) mixed methods as well as have their own tactics, tricks or techniques to maximize the efficiency of gerontological nursing instruction including 1) selection of case study according to learners’ background knowledge and experiences, especially in light of clinical instruction, the nursing-diagnosis situations are chosen rather than the doctor diagnosis, 2) organization of case bank, 3) provision of familiar experiences for learners, 4) instructors’ exploration of real situations – they embed and collaborate with the training sites, 5) introduction of concept mapping to enable the learners to generate their concepts, 6) use of current situations as the main issue in the instruction, 7) building of critical thinking skills to promote the reasoning, 8) raising questions to promote learners’ knowledge inquiry, 9) use of research methodologies in the instruction, 10) showing the movies of which contents concern the subject to promote learners’ analytical skills, 11) provision of opportunities in which learners elaborate the stimulation and engage in it on their own, 12) encouraging learners to study and do research based on the textbooks, guide websites, previous research papers and database, 13) promotion of incident analysis among learners with the emphasis on that particular situation – the learners engage in self-directed learning and attempt to find out final conclusions; they are also encouraged to select the simple but profound books, 14) engagement in role play e.g. arranging a radio program or building a new learning source, 15) organization of the question sessions with a small pressure – the answers for some questions may not be found by merely opening the books, 16) network capability, 17) integration of several instructional methods such as team-based learning + cooperative learning + project-based learning and 18) presentation of academic articles based on the analysis to rebut the counter argument; 2) the knowledge assets of the right knowledge, 3) the knowledge assets of the right time, 4) the knowledge assets of the right place, 5) the knowledge assets of the knowledge you know you have, 6) the knowledge assets of the knowledge you know you don’t have, 7) the knowledge assets of the knowledge you don’t know you have, 8) the knowledge assets of the knowledge you don't know you don't have.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36157
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1570
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1570
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kalayarath_ao.pdf29.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.