Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36248
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนา-
dc.contributor.authorนาตยา จิรัคคกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-17T04:26:39Z-
dc.date.available2013-10-17T04:26:39Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36248-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลอง รูปแบบวิจัยชนิดกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังของการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเองของ Bourbeau (2008) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 40 คน ที่มารับการรักษาแผนกตรวจผู้ป่วยนอก หน่วยโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน จับคู่ในด้าน เพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรค และชนิดของยารักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเอง ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการจัดการตนเองและวีดีทัศน์การบริหารการหายใจและการออกกำลังกาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด วัดความเร็วสูงสุดของลมหายใจออก (Peak Expiratory Flow Rate: PEFR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภายหลังได้รับโปรแกรมการ จัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภายหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were to compare lung function of older persons with COPD of the experimental group before-after receiving the self-management program, and to compare lung function among experimental group and control group. Self-management model (Bourbeau, 2008).The sample consisted of 40 older persons with COPD at the Chest Clinic in Out Patient Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital. The first 20 subjects were assigned to a control group and the latter 20 subjects were assigned to an experimental group. The participants from both groups were matched by characteristic in term of gender, age, disease severity and treated medication. The experimental group received the eight-week session of self-management program and the control group received routine treatment. The Self-management Program comprised of the intervention included lesson plans, a self-management handbook and VDO of breathing exercise and exercise. Lung function was assessed using Mini- Wright Peak Flow Meter for Peak Expiratory Flow Rate. Data were analyzed using descriptive (mean, percentage, standard deviation) and t-test statistics. The research findings can be summarized as followed: 1. After receiving the self- management program, Lung function of older persons with COPD in the experiment group was significantly higher than the lung function before receiving the program (p<.05). 2. After receiving the self- management program, Lung function of older persons with COPD in the experiment group was significantly higher than those who received routine treatment (p<.05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.733-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปอดอุดกั้นen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- โรค -- การรักษาen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen_US
dc.subjectLungs -- Diseases, Obstructiveen_US
dc.subjectOlder people -- Diseases -- Treatmenten_US
dc.subjectSelf-care, Healthen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeThe effect of self – management program on lung function of older persons with chronic obstructive pulmonary diseaseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.733-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nataya_ji.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.