Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36279
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชชุดา วุธาทิตย์-
dc.contributor.authorคมชวัชร์ พสูริจันทร์แดง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-10-19T06:25:40Z-
dc.date.available2013-10-19T06:25:40Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36279-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractศึกษาการรำหน้าพาทย์เพลงกลมของตัวละครเงาะ ในการแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในรูปแบบกระบวนท่ารำของครูทั้ง 2 ท่าน ได้แก่ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้มีประสบการณ์ในการแสดง และผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากครูทั้ง 2 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลมเงาะ เป็นกระบวนท่ารำที่ได้รับการสืบทอดโดยปรากฏในการแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กระบวนท่ารำนั้นจะเป็นท่ารำพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างจากตัวละครอื่น ซึ่งใช้ในความหมายของการเดินทางไกล หรือเหาะเหินเดินอากาศของตัวละครเงาะ ในการแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอน หนีนางพันธุรัตน์ และตอนหาปลา ถือเป็นการรำอวดฝีมือในการแสดง และการใช้อาวุธของผู้แสดงในทางของนาฏยศิลป์ไทย ด้านการสืบทอดท่ารำนั้น ครูผู้ถ่ายทอดท่ารำจะคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสม ซึ่งจะได้รับการถ่ายทอดตามกฎเกณฑ์ของจารีตที่ยึดถือสืบต่อกันมา ปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดท่ารำ เพลงหน้าพาทย์กลมเงาะมีเพียงไม่กี่ท่านในวงการนาฏยศิลป์ไทย องค์ประกอบในการแสดง ได้แก่ บทละครในการแสดง เครื่องแต่งกาย อาวุธที่ใช้ในการแสดง และดนตรีประกอบการแสดง กระบวนท่ารำเป็นกระบวนท่าที่มีองค์ประกอบของตัวละครหลายตัวละครผนวกรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ตัวพระ ตัวยักษ์ และตัวลิง ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำ จึงเปรียบเสมือนผู้ที่ต้องฝึกฝนท่ารำของตัวละครทั้ง 3 ตัวละครไปในคราวเดียวกัน โดยต้องใช้พละกำลังในการฝึกอย่างมาก อีกทั้งยังต้องแยกแยะกิริยากระบวนท่ารำที่หนักเบา นิ่มนวล แข็งแรงและหลุกหลิกว่องไว ให้สมบูรณ์สวยงาม ในกระบวนท่ารำสามารถตัดทอนให้มีความเหมาะสมกับการแสดง ซึ่งมีข้ออันควรคำนึงถึงในปัจจุบันคือ 1. ระยะเวลาของการแสดง 2. รูปแบบการแสดงในปัจจุบัน ผู้แสดงต้องยึดจังหวะหน้าทับ ไม้กลอง เป็นหลักในการรำ เพื่อให้มีความสอดคล้องระหว่างดนตรีและผู้รำ วรรณกรรมเรื่องสังข์ทองนั้น ยังได้ปรากฏในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่า สุวัณณสังขชาดก อันเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งตัวละครเงาะยังได้แฝงบริบททางจริยธรรมและคุณธรรมคือ ให้มองถึงแก่นแท้ของมนุษย์ว่า ไม่ควรมองคนแค่รูปลักษณ์ภายนอกควรมองถึงจิตใจอันงดงามของคนผู้นั้น กระบวนท่ารำกลมเงาะเป็นกระบวนท่ารำที่สำคัญ ครูผู้ถ่ายทอดท่ารำจะคัดสรรผู้ที่มีคุณธรรม ความประพฤติดีและมีฝีมือ เพื่อรับการถ่ายทอดท่ารำ จึงเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeTo study Na Phat dance movement of Klom Ngoh character in Klom Ngoh song in the performance of Lakorn Nork : Sang Thong, the literary work by King Buddhatertlar or King Rama II. The dance movement study based on the dance patterns’ style of two masters including Lamul yamakup and Lady Phaew Sanitwongsenee. The methods used in the study include collecting the information from related academic documents, interviewing the qualified experts, the professional performers and the successors of these two masters. The research found that the dance patterns in Na Phat Klom Ngoh have been succeeded in the performance of Lakorn Nork : Sang Thong since the reign of King Rama II. The dance movement is specially different from other characters and was used to convey the long journey by walk or the travel by air of the character “Ngoh” in the performance of Lakorn Nork : Sang Thong, the episode of Run Away from Nang Panthurat and the episode of Finding Fish. It is the dance movement to manifest the performer’s ability and to use the weapon in Thai dance’s way. For succeeding the dance patterns, the trainer will select the qualified dancer who will be customarily trained according to the inherited tradition. At present, there are few successors of the Na Phat Klom Ngoh’s dance patterns in the circle of Thai dance. The performance’s elements include the repertoire, the costume, the weapons used in the dance and the accompanying music. The dance movement is the element of many characters’ combination including Phra, Yak and Ling (actor, demon and monkey) who are trained with the dance patterns. The performers have to practice the dance movement of all three characters at the same time with the much power supported and also have to perfectly distinguish the manners and the dance postures which are forceful, gentle, strong and restless. The dance movement can be properly shortened according to the performance according to the following considerations: 1) the period of the performance 2) the style at present; the performers should listen to the rhythmic sound and drums to produce the harmony between the music and the dancers. The literary work, Sang Thong was also appeared in Panya Jataka called Suwannasang Jakata which is a Buddhist literary piece. In addition, the character “Ngoh” also intervened the ethical and moral context teaching not to consider the appearance but we should look at the beautiful morality in spirit of other people. Klom Ngoh’s dance patterns are the important movement. The trainer will choose to pass on this heritage to the deserved person who has the morality, good behaviour and skill. Na Phat song then should be maintained and succeeded afterwards.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.100-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการรำ -- ไทยen_US
dc.subjectตัวละครและลักษณะนิสัยen_US
dc.subjectจริยธรรมen_US
dc.subjectความดีen_US
dc.subjectDance -- Thailanden_US
dc.subjectCharacters and characteristicsen_US
dc.subjectEthicsen_US
dc.subjectVirtueen_US
dc.titleกลมเงาะ : กรณีศึกษาด้านนาฏยศิลป์ บริบททางจริยธรรมและคุณธรรมen_US
dc.title.alternativeKlom Ngoh : case studies on dance characteristics, ethical and moral contexten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVijjuta.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.100-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
khomchawat_ph.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.