Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3628
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล-
dc.contributor.advisorศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์-
dc.contributor.authorทศพร เรืองรักษ์ลิขิต, 2524--
dc.date.accessioned2007-07-07T07:46:59Z-
dc.date.available2007-07-07T07:46:59Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741764774-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3628-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractแยกแลกติกแอซิดแบคทีเรียจากทางเดินอาหารของปลากะพงขาว เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียที่มีสมบัติเป็นโพรไพโอติก ด้วยเทคนิค well agar diffusion พบ 5 ไอโซเลต (กำหนดให้เป็น LAB-1-LAB-5) ที่สามารถยับยั้งการเจริญของ Aeromonas hydrophila แบคทีเรียก่อโรคในปลาได้ ผลการวิเคราะห์ปริมาณองค์ประกอบในอาหารผสมแบบเปียก พบว่า ในอาหารมีปริมาณสารอาหารต่างๆ เพียงพอกับความต้องการของปลากะพงขาว ยกเว้นปริมาณไขมันที่ต่ำเกินไป ความเข้มข้นของ A. hydrophila ที่ทำให้ปลาตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LC[subscript 50]) หลังจากที่ปลาได้รับเชื้อแล้ว 72 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 7.76 log[subscript 10] เซลล์/มิลลิลิตร และที่ 96 และ 120 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 7.47 และ 7.26 log[subscript 10] เซลล์/มิลลิลิตร ตามลำดับ นำอาหารที่เตรียมได้ไปเลี้ยงปลากะพงขาวในตู้กระจก โดยผสมอาหารกับแต่ละไอโซเลตที่คัดแยกได้ให้มีความเข้มข้น 10[superscript 7] เซลล์/กรัมอาหาร พบว่า มีเพียง LAB-4 เท่านั้น ที่มีความสามารถในการเสริมการเจริญเติบโตของปลาและต้านโรคที่เกิดจาก A. hydrophila ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อทำการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังโดยใช้ LAB-4 ผสมในอาหารปลาโดยใช้ความเข้มข้น 10[superscript 5] และ 10[superscript 7] เซลล์/กรัมอาหาร พบว่า ทุกกลุ่มทดลองมีอัตราการรอดชีวิต การเจริญเติบโตและความสามารถในการต้านโรคที่เกิดจาก A. hydrophila ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) สามารถตรวจพบ LAB-4 ในลำไส้ของปลากะพงขาวทั้ง 2 กลุ่มทดลองและไม่พบ LAB-4 ในกลุ่มควบคุม ปลากะพงขาวที่ตายหลังจากการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคด้วย A. hydrophila แสดงวิธีการของโรคอย่างชัดเจนและสามารถตรวจพบ A. hydrophila ในเนื้อเยื่อของปลาที่ตายด้วยเทคนิคทาง Immunohistochemistry พิสูจน์เอกลักษณ์ของ LAB-4 ด้วยการตรวจสอบรูปร่างลักษณะ ปริมาณกรดแลกติกด้วยเทคนิค HPLC และสมบัติบางประการทางชีวเคมี รวมทั้งการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA เพื่อใช้เทียบเคียงกับลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA ของ Weissella confusa ที่มีรายงานใน Genbank พบว่า ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ LAB-4 มีความใกล้เคียงกับ Weissella spen
dc.description.abstractalternativeLactic acid bacteria were screened from gastrointestinal tract (GI tract) of white seabass in order to investigate the possibility of being probiotics. Using well agar diffusion technique, five isolates (designated as LAB-1 LAB-5) were found and could inhibit Aeromonas hydrophila, a causative agent in white seabass in vitro. Proximate analysis of prepared fish feed reached the nutrient requirement for white seabass growth, only lipid was low. Median lethal concentration(LC[subscript 50]) of A. hydrophila in white seabass were tested at 7.76, 7.47 and 7.26 log[subscript 10] cells/ml for 72, 96 and 120 hours, respectively. Culturing white seabass in aquarium with individual LAB at the concentration of 107 cells/g feed were tested. Only LAB-4 could grow and resist to A. hydrophila infection better than those of the control group (p<0.05). White seabass cultured in net cages with LAB-4 feed at two different doses (105 and 107 cells/g) did not show any significant difference on growth, survival and A. hydrophila's resistance as compared to those results from the control group (p>0.05). Under scanning electron microscopic examination showed LAB-4 adherence on fish intestines' surface in both LAB-4 treatment groups while no detection in control group. Confirmation of A. hydrophila challenge on white seabass was performed by observing disease manifestation and immunohistochemistry technique. After examination of morphology, biochemical test, lactic acid determination by HPLC from LAB-4 broth culture, including 16S rDNA sequencing (E=0.0 and 99% homology with 16S rDNA of Weissella confusa, Genbank), LAB-4 was identified as Weissella sp.en
dc.format.extent1025348 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแบคทีเรียกรดแล็กติกen
dc.subjectโพรไบโอติกen
dc.subjectปลากะพงขาวen
dc.titleแลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcariferen
dc.title.alternativeLactic acid bacteria as probiotics in white seabass Lates calcariferen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSomkiat.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thosaporn.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.