Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36923
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนวลน้อย ตรีรัตน์-
dc.contributor.authorทรายทิพย์ ธีระเดชพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-06T06:36:19Z-
dc.date.available2013-12-06T06:36:19Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36923-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการที่วัฒนธรรมถูกทำให้กลายเป็นสินค้าโดยเลือกกรณีศึกษามวยไทยที่เผยแพร่ผ่านสื่อโทรทัศน์คือรายการมวยไทย 7 สี ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญในรายการมวยไทย 7 สี คือ โปรโมเตอร์ หัวหน้าค่าย กลุ่มนักมวย และผู้ชมรายการดังกล่าว การวิเคราะห์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองของสำนักมาร์กซิสต์ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำให้เป็นสินค้าโดยเฉพาะประเด็นการผันเปลี่ยนจากมูลค่าใช้สอย (use value) มาเป็นมูลค่าแลกเปลี่ยน (exchange value) และกลไกการตั้งราคา (pricing) และส่วนของเศรษฐศาสตร์การเมืองสื่อสารมวลชน (political economy of mass media) เพื่อวิเคราะห์บทบาทการสนับสนุนส่งเสริมของสื่อโทรทัศน์ในกระบวนการทำให้มวยไทยกลายเป็นสินค้า รวมไปถึงการนำทฤษฎีของทุนวัฒนธรรมของสำนักบูร์ดิเออในส่วนของแนวคิดการใช้ร่างกายเป็นทุน (bodily capital)เพื่อวิเคราะห์การใช้เรือนร่างของนักมวยในฐานะที่เป็นเพียงปัจจัยการผลิตหลักสำหรับผันแปรมวยไทยให้กลายเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า มวยไทยในฐานะที่เป็นศิลปวัฒนธรรมแห่งการต่อสู้ของไทยถูกทำให้มีฐานะเป็นเพียงสินค้าอย่างหนึ่งโดยดูได้จากกลไกการตั้งราคา (pricing) ในการแข่งขันชกมวยที่เข้ามามีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ทำให้สารัตถะของการชกมวยไทยจากที่เคยมุ่งเน้นเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมไทยเพื่อเฟ้นหาคนมีฝีมือเชิงมวยและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไปสู่การชกเพื่อหารายได้เป็นหลัก กลไกราคาพัฒนาจากการชกเพื่อชิงรางวัลไปสู่การชกแข่งขันเพื่อการหาเลี้ยงชีพ นักมวยได้ใช้เรือนร่างของตนเองเพื่อเป็นปัจจัยการผลิตผ่านการฝึกซ้อม ควบคุม และสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย รวมถึงนักมวยถูกผลิตขึ้นมาผ่านการขูดรีดพลังแรงงานเพื่อสนองความต้องการของนายทุน เมื่อมวยไทยเข้าไปเผยแพร่ในสื่อโทรทัศน์ก็ยิ่งทำให้กระบวนการทำให้เป็นสินค้ามีความชัดเจนและซับซ้อนขึ้น กล่าวคือมวยไทยได้กลายเป็นเพียงสินค้าประเภทหนึ่งที่กลุ่มทุนสื่อโทรทัศน์ผลิตออกมาขายให้กับกลุ่มทุนสินค้าเพื่อสร้างผลกำไรสะสมมูลค่าส่วนเกินให้สื่อโทรทัศน์ผ่านค่าโฆษณา นักมวยที่ถูกผลิตทางรายการมวยไทย 7 สี ในตัวอย่างของกรณีศึกษานี้ จึงมีลักษณะที่ถูกผลิตขึ้นจำนวนมากในรูปแบบเดียวกันเพื่อสนองความต้องการของผู้ชมมากกว่าเน้นคุณภาพแม่ไม้มวยไทยอย่างแท้จริง เกิดกระบวนการสะสมความมั่งคั่งจากมูลค่าส่วนเกินของสื่อโทรทัศน์en_US
dc.description.abstractalternativeThe main objective of this thesis is to study how culture is commodified by selecting Televised Muay Thai (Muay Thai Ched See Program) as a case study. The research instrument applied for the study is to interview those who substantially involve with Muay Thai boxing business namely promoter, Boxing-camp masters, Muay Thai boxers and program’s audiences. The thesis applies Marxist’s political economy theory of commodification as the analyzing framework, especially in the issues of pricing which use value, is transformed to exchange value, and political economy of mass media concentrating on the supporting role of televisions in commodifying process. Besides, Bourdieu’s crucial analysis on bodily capital is applied on the issue of how Muay Thai boxers use their body as means of production and capital. The study shows Thai boxing as a cultural aspect of martial arts is significantly commodified through pricing. Pricing process seducingly causes purpose of boxing from as a way of life to earn boxers’ living. In this way, boxer’s body is appropriated as a means of production and bodily capital through tough training, weight and body control as well as appropriating their labour power to meet the capitalists’ need. In addition, The commodification process of Thai boxing is more intensified and complicated when Thai boxing program is produced for broadcasting. TV media, as a capitalist, produces martial art of Thai boxing as just a commodity to exchange for advertising revenue. The furious style of boxing is thus repetitively produced as a mass production to meet audiences’ satisfaction to gain more benefit regardless of boxer’s quality. Thereby, Channel 7 as the producer of Muay Thai Ched See program is the wealthiest man among those who involve in commodifying process and use the surplus value for reproducing Thai boxing program in commoditizing cycleen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.90-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมวยไทยen_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับวัฒนธรรมen_US
dc.subjectMuay Thaien_US
dc.subjectMass media and cultureen_US
dc.titleกระบวนการที่ทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า : กรณีศึกษามวยไทยผ่านสื่อโทรทัศน์en_US
dc.title.alternativeThe commodification of culture : a case study of televised Muay Thaien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNualnoi.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.90-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saithip_te.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.