Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3697
Title: The effect of roselle (HIBICUS SABDARIFFA LINN.) calyx as antioxidant and acidifier on growth performances and ileal digestibility in postweaning pigs
Other Titles: ผลของการเสริมกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงเป็นสารต้านออกซิเดชั่นและสารเสริมกรดต่อคุณลักษณะการเจริญเติบโตและการย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนท้ายในสุกรหลังหย่านม
Authors: Wantana Aphirakchatsakun
Advisors: Suwanna Kijparkorn
Kris Angkanaporn
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Suwanna.Ki@Chula.ac.th
Kris.A@Chula.ac.th
Subjects: Intestine, Small
Swine -- Growth
Antioxidants
Digestion
Roselle
Issue Date: 2005
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The objectives of this investigation were to study the effect of roselle (Hibicus sabdariffa Linn.) calyx as antioxidant and acidifier on growth performances and ileal digestibility in postweaning pigs. In experiment 1, the suitable level of roselle calyx on growth performance was examined. Twenty four castrated male and twelve female piglets were allocated into 6 treatments : T1, basal diet; T2, T3, T4, basal diet plus crude powder of roselle calyx at the level of 4, 8, 12% feed; T5, basal diet plus acidifier at the level of 4 g/kg feed; T6 basal diet plus antibiotic (chlortetracycline) at the level of 100 mg/kg feed. All diet were calculated to be isocaloric and isonitrogenous. Body weight and feed intake were measured at 7, 9 and 11 weeks of age. The suitable level of roselle calyx on growth performances from expt 1 were used in the experiment 2 to determine the antioxidant and acidifier properties. Thirty two castrated male and female piglets wereallocated into 4 treatments : T1, basal diet ; T2 basal diet plus crude powder of roselle calyx at the level of 8% feed; T3, basal diet plus acidifier at the level of 4 g/kg feed; T4 basal diet plus antibiotic at the level of 100 mg/kg feed. At 5-7 and 7-9 weeks of age, body weight were measured, four pigs in each group were randomly selected, exthanased and the pH of gastrointestinal tract were measured ; stomach mucosa were collected for determination of pepsin activity; pancreas for trypsin activity, ileal digesta for protein and fat digestibility, plasma and liver for malondialdehyde and glutathione concentration. Experiment 1 showed that there was no significant difference in growth performance among (P>0.05): however, it was found that feed conversion ration (FCR) was significantly different at 5-7 weeks of age (P<0.05). Pigs fed 8% Roselle calyx had the lowest FCR: therefore, 8% Roselle calyx was set to be an appropriate level in feed and was used in the experiment 2. Experiment 2 also showed no significant difference in growth performance among groups at all ages (P>0.05). Concerning acidifier property of roselle calyx, the additional of 8% roselle calyx help lower pH in gastrointestinal tract (P>0.05), increase activity of pepsin (P>0.05), increase activity of trypsin at the age of 7 weeks (P<0.05) and increase fat digestibility at the age of 7 weeks (P<0.05) but there was no effect found on protein digestibility. Besides, Roselle calyx act as an antioxidant as well for the results showed that additional 8% Roselle calyx help lower MDA both in plasma and liver (P>0.05) and help increase glutathione in plasma at the age of 7 weeks (P<0.05) and in liver (P>0.05). Significant differences were found in every parameter between basal diet and roselle fed groups except acidifier and antibiotic. In conclusion, Roselle calyx is likely to have properties of being acidifier and antioxidant though the result did not show that significantly. Since this experiment used roselle calyx in form of powder and was conducted in controlled environment to maintain low stress in pigs, there should be further research using the extraction form and conducting in commercial conditions.
Other Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงเป็นสารต้านออกซิเดชั่นและสารเสริมกรดต่อคุณลักษณะการเจริญเติบโตและการย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนท้ายในสุกรหลังหย่านมแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาหาระดับที่เหมาะสมของกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงต่อคุณลักษณะการเจริญเติบโต โดยใช้สุกรหย่านมคละเพศที่อายุ 5 สัปดาห์ จำนวน 36 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 3 และ 4 เสริมกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงในรูปผงแห้งที่ระดับ 4 8 และ 12% ในอาหาร กลุ่มที่ 5 เสริมสารเสริมกรดที่ระดับ 4 ก./กก.อาหาร และกลุ่มที่ 6 เสริมยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน) ที่ระดับ 100 มก./กก. อาหาร อาหารทุกสูตรคำนวณให้มีระดับโปรตีนและพลังงานใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ชั่งน้ำหนักสุกรทดลองทุกลุ่มพร้อมทั้งบันทึกปริมาณอาหารที่กินในสัปดาห์ที่ 7 9 และ 11 ของอายุสุกร การทดลองที่ 2 เป็นการนำกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงในระดับที่ให้ผลต่อคุณลักษณะการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดจากการทดลองที่ 1 มาศึกษาคุณสมบัติของการเป็นสารต้านออกซิเดชั่นและสารเสริมกรด โดยใช้สุกรหย่านมคละเพศที่อายุ 5 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 เสริมกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงในรูปผงแห้งที่ระดับ 8% ในอาหาร กลุ่มที่ 3 เสริมสารเสริมกรดที่ระดับ 4 ก./กก.อาหาร และกลุ่มที่ 4 เสริมยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน) ระดับ 100 มก./กก. อาหาร อาหารทุกสูตรคำนวณให้มีระดับโปรตีนและพลังงานใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ชั่งน้ำหนักสุกรทดลองทุกกลุ่มในสัปดาห์ที่ 7 และ 9 ของอายุสุกร และสุ่มมากลุ่มละ 4 ตัวนำมาฆ่าเพื่อวัดความเป็นกรดเป็นด่างที่บริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทั้ง 3 ส่วน เก็บเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารวัดระดับเอนไซม์เปปซิน เก็บตับอ่อนวัดระดับเอนไซม์ทริปซิน เก็บอาหารที่ย่อยแล้วบริเวณลำไส้เล็ก ส่วนท้ายตรวจหาค่าการย่อยได้ของโปรตีนและไขมัน และเก็บเลือดและตับตรวจวัดปริมาณ malondialdehyde (MDA) และ glutathione ทั้งในพลาสม่าและเนื้อเยื่อตับ จากการทดลองที่ 1 พบว่า สุกรทุกกลุ่มให้อัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่พบความแตกต่างของอัตราแลกเนื้อในช่วงอายุ 5-7 สัปดาห์ (P<0.05) กลุ่มที่ได้รับผงกระเจี๊ยบแดงระดับ 8% ให้อัตราแลกเนื้อต่ำสุด จึงถูกนำมาใช้เป็นระดับที่เหมาะสมในการทดลองที่ 2 และไม่พบความแตกต่างของอัตราการเจริญเติบโตในทุกช่วงอายุเช่นกัน (P>0.05) ในเรื่องคุณสมบัติการเป็นสารเสริมกรด การเสริมกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงในระดับ 8% ช่วยลดความเป็นกรดในทางเดินอาหาร (P>0.05) เพิ่มการทำงานของเอนไซม์เปปซิน (p>0.05) เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ทริปซินที่อายุ 7 สัปดาห์ (p<0.05) และเพิ่มการย่อยได้ของไขมันที่อายุ 7 สัปดาห์ (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อการย่อยได้ของโปรตีน (p>0.05) ส่วนในเรื่องคุณสมบัติการเป็นสารต้านออกซิเดชั่น การเสริมกระเจี๊ยบแดงช่วยลดปริมาณ MDA ทั้งในพลาสมาและในตับ (p>0.05) และเพิ่มระดับ glutathione ในพลาสมาที่อายุ 7 สัปดาห์ (p<0.05) และตับ (p>0.05) ความแตกต่างเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่เสริมกระเจี๊ยบแดงกับกลุ่มควบคุมในทุกค่าสังเกตุแต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เสริมสารเสริมกรดและสารปฏิชีวนะ สรุปได้ว่ากระเจี๊ยบแดงน่าจะมีคุณสมบัติในการเป็นสารเสิรมกรดและสารต้านออกซิเดชั่น แต่การแสดงผลไม่เด่นชัดเนื่องจากการทดลองครั้งนี้ใช้ผงกระเจี๊ยบแดงและเลี้ยงในสภาพที่ควบคุมให้มีความเครียดต่ำ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยการใช้สารสกัดของกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงและทดลองในสภาพการเลี้ยงจริงในระบบอุตสาหกรรม
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2005
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Animal Nutrition
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3697
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1551
ISBN: 9741421788
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1551
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wantana.pdf916.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.