Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37527
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต | - |
dc.contributor.author | พัชลินจ์ จีนนุ่น | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2013-12-16T07:16:21Z | - |
dc.date.available | 2013-12-16T07:16:21Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37527 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเด่นในด้านต่าง ๆ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างกับผู้เสพที่มีความเชื่อและรสนิยมทางวรรณคดีเหมือนกัน และวิเคราะห์บทบาทของวรรณคดีคำสอนนี้ที่มีต่อสังคม ทั้งนี้ ใช้ข้อมูลวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” ที่พบบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลาและพัทลุงเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” ซึ่งแต่งตั้งแต่ พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2519 มีลักษณะเด่นด้านรูปเล่มที่เลียนแบบหนังสือวัดเกาะของภาคกลาง ทั้งยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่งค่อนข้างมากเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ วรรณกรรมคำสอนนี้แต่งเป็นคำประพันธ์ร้อยกรองประเภทกลอนมากที่สุด รองลงมา คือ กาพย์ และโคลง แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก กลอนดังกล่าวเหมาะแก่การนำไปอ่าน ขับร้องหรือสวดได้โดยสะดวก ทั้งยังเข้าใจง่าย จึงเข้าถึงกลุ่มผู้เสพระดับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี วรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” มีลักษณะเด่นด้านเนื้อหาคำสอนซึ่งอิงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านภาคใต้และมีกลวิธีการสอนที่แปลกใหม่ เช่น สอนในรูปแบบนวนิยาย สอนผ่านบทสนทนาของตัวละคร สอนแทรกในอัตชีวประวัติของบุคคล และสอนแทรกในคำอธิบายพิธีกรรมของภาคใต้ ผู้สร้างมีลักษณะเด่นคือนอกจากเป็นพระสงฆ์และข้าราชการตามแบบที่มีมาแต่เดิมแล้ว ยังมีกลุ่มผู้แต่งเพิ่มมากขึ้นจากเดิม คือ ชาวนา พ่อค้า ศิลปินพื้นบ้าน ทั้งยังมีผู้แต่งที่เป็นผู้หญิงจำนวนไม่น้อย เนื้อหาคำสอนแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ เนื้อหาคำสอนที่สืบทอดมาจากคำสอนโบราณ แม้ปรากฏเพียงเล็กน้อย แต่ยังใช้ได้ดีในสังคมปัจจุบัน เพราะสอนการประพฤติปฏิบัติตน และเนื้อหาคำสอนที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสังคมทั้งระบบ เช่น พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มต่าง ๆ เช่น สอนเด็กให้เห็นความสำคัญของการศึกษา สอนผู้สูงวัยให้วางตนเหมาะสมแก่วัย สอนคนจนให้ขยันทำงาน และสอนชายชาวใต้ให้ช่วยเหลือกิจการงานในครอบครัว นอกจากนี้ ยังสอนเรื่องการพัฒนาการเกษตรของชุมชน และสนับสนุนการสร้างชาติตามนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม คำสอนเหล่านี้นำไปใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สถาบันครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติได้ดี ดังปรากฏว่ามีบุคคลหลายคนที่กล่าวว่าได้รับประโยชน์จากคำสอนเหล่านี้ เช่น ทำให้ตนเป็นคนดีขึ้น หรือทำการเกษตรได้ผลดียิ่งขึ้น วรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” มีบทบาททางสังคมที่เข้มข้นกว่าวรรณกรรมคำสอนภาคใต้สมัยโบราณ เพราะเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับสังคมภาคใต้ไว้เด่นชัด โดยเฉพาะสภาพและปัญหาสังคมภาคใต้ เกิดจาก ผู้แต่งต้องการให้ชาวใต้ร่วมใจกันแก้ปัญหาของชุมชน โดยคำสอนเหล่านี้แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของชาวใต้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เพราะสอนควบคู่ไปกับการให้ความบันเทิง เช่น สอนผ่านการสวดหนังสือ หรือสอนผ่านการขับร้องที่ใช้ทำนองหนังตะลุง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Characteristics and Social Roles of the Southern Didactic Literature in Booklet Format aim to analyze the characteristics in various aspects of southern didactic literature which appear in booklet format. It also investigates the relationship between the authors and readers who have the same beliefs and literary taste including how this literature has influenced society. This study focuses on the southern didactic books found in Nakhon Si Thammarat, Songkhla, and Phathalung. The study found that southern didactic in booklet format printed between 1927 and 1976 adopted the layout of the literary works of central Thailand known as Wat Koh literature. Apart from this, the author’s biography in detail to attract the buyers was added. Most of them were composed in poetic form known as Klon. The rest were created in Kap and Khlong. The books written in Klon were easily read, sung, and understood by the audience though without higher education due to the use of simple languages. The contents in these didactic books were outstanding for their teachings by using examples from the daily lives of people in southern Thailand. Moreover, they initiated to teach through modern literary forms or means such as teaching through novels, conversations, the biography of the dead people, and through the descriptions of some rituals performed by people in the South. Focusing on the authors of these didactic books, apart from monks and government officials as found in southern didactic literature in the old tradition, farmers, merchants, and local artists were discovered. Among them, a number of female authors were found. The contents in these didactic books could be divided into two groups. First was the content in minor group that came from ancient teachings containing how people should behave. These teachings are still applicable today. The other group was the teachings created by the authors of the southern didactic books. These teachings aim to develop the society as a whole. They would like to develop quality of life by educating children and helping them realize the importance of education. They also instructed the elderly on how to behave themselves and they tried to motivate the poor to work harder. Further, they encouraged the men in the south to work harder and take more care of their families, and developed agriculture in the community. Moreover, the books supported the government’s policy under the leadership of Prime Minister General P. Phibunsongkhram. In sum, the teachings aimed to develop one individual, family, community, and, by extension, the whole country. It was disclosed that some southern people told that the teachings in these booklet format were really developed their lives and agriculture career. The southern didactic literature in booklet format played a more important role in society than the ancient southern didactic literature because they provided more details about the characteristics of society in southern Thailand. They analyzed the social conditions and problems in the South, since the authors wanted to encourage the people to cooperate in solving conflicts. These teachings were spread out in the everyday lives of the people in the South. For examples, they were traditionally read aloud for the audience and were sung in the shadow puppet shows by the local southern artists. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1134 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมคำสอน -- ไทย | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมคำสอน -- ไทย -- แง่สังคม | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมไทย -- แง่สังคม | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมไทย (ภาคใต้) -- แง่สังคม | en_US |
dc.subject | Didactic literature, Thai | en_US |
dc.subject | Didactic literature, Thai -- Social aspects | en_US |
dc.subject | Thai literature -- Social aspects | en_US |
dc.subject | Thai literature (Southern) -- Social aspects | en_US |
dc.title | ลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ "ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก" | en_US |
dc.title.alternative | Characteristics and social roles of the Southern didactic literature in booklet format | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | cholada.r@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1134 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phatchalin_je.pdf | 16.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.