Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37659
Title: โครงการวิจัยกิจกรรมของผู้สูงอายุชาวไทยและชาวญี่ปุ่นผ่านทฤษฎี Social Engagement Theory กรณีศึกษาธุรกิจลองสเตย์กับการท่องเที่ยวชุมชน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดภูเก็ต : รายงานการวิจัย
Other Titles: Activities for the Thai and Japanese elders through the concept of social engagement theory-a case study of long stay tourism business and community tourism conducted by Local Tambon Administration in Phuket province
Authors: ประเทือง หงสรานากร
Email: arbeit_3@hotmail.com
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
Subjects: การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว -- ไทย -- ภูเก็ต
การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ -- ไทย -- ภูเก็ต
การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- ภูเก็ต
ชาวญี่ปุ่น -- ไทย -- ภูเก็ต
ชาวไทย -- ไทย -- ภูเก็ต
Long stay -- Thailand -- Phuket
Japanese -- Thailand -- Phuket
Thais -- Thailand -- Phuket
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เป็นปรากฎการณ์สากลของประเทศชั้นนำทางอุตสาหกรรมทั่วโลกรวมทั้งประเทศญี่ปุ่น จึงก่อให้เกิดการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวทางเลือก (Alternative tourism) นั่นคือการท่องเที่ยวลองสเตย์ (หรือการท่องเที่ยวแบบพำนักนาน/พำนักระยะยาว) ในฐานะการท่องเที่ยวเพื่อประสบการณ์ที่มีคุณภาพ (Quality tourism experience) การท่องเที่ยวลองสเตย์มุ่งเน้นนักท่องเที่ยวผู้สูงวัยยามเกษียณผู้สามารถเดินทางออกนอกประเทศแบบชั่วคราวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมร่วมกับคนท้องถิ่นหากแต่พักอาศัยระยะยาวเป็นแรมเดือนหรือบางกรณีเป็นเวลานานปี ดำรงชีพด้วยเงินบำนาญของตนเองโดยไม่ทำงานในประเทศของการลองสเตย์ รวมทั้งมีความตั้งใจเดินทางกลับสู่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเสร็จสิ้นระยะเวลาของการลองสเตย์ในที่สุด อย่างไรก็ตาม หนึ่งทศวรรษนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เมื่อการท่องเที่ยวลองสเตย์ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ปรัชญาพื้นฐานของการท่องเที่ยวประเภทนี้ยังมิได้ถูกทำให้เป็นที่ประจักษ์ เนื่องจากมุ่งเน้นการจัดให้มีอสังหาริมทรัพย์ด้านที่พักอาศัยอย่างหรูหราและกิจกรรมสันทนาการเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเองเป็นหลักตลอดมานั่นเอง งานวิจัยฉบับนี้จึงได้เลือกจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทยเป็นสถานที่ดำเนินการศึกษาเพราะภูเก็ตมีความเป็นนานาชาติสูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และงานวิจัยนี้มีความประสงค์จะตอบโจทย์วิจัยด้าน (1) ความพร้อมของผู้สูงอายุชาวไทยและผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในการมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน (2) การศึกษาประเภทของกิจกรรมอันพึงประสงค์ของผู้สูงอายุทั้งสองฝ่าย (3) การศึกษารูปแบบของกิจกรรมของผู้สูงอายุในฐานะการท่องเที่ยวชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตลอดจน (4) การศึกษาการสนับสนุนจาก อปท. และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2553-2554 และได้รับการผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยหมายเลข 039.1/53 ทั้งนี้ วิธีวิทยาที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) กับผู้มีส่วนร่วมการวิจัยทั้งชายและหญิงจำนวน 13 กลุ่มรวมทั้งสิ้น 81 รายจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ของการท่องเที่ยวลองสเตย์ในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้สูงอายุชาวไทย ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา องค์กรที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด สื่อสารมวลชนชาวไทย และสื่อสารมวลชนต่างประเทศ ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มเป็นนักวิจัยร่วมผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาและมนุษยศาสตร์จำนวน 3 ราย โดยได้ดำเนินการสนทนากลุ่มในภาคภาษาไทย ภาคภาษาญี่ปุ่นและภาคภาษาอังกฤษ การสนทนากลุ่มทุก ๆ กลุ่มได้ทำการบันทึกเสียงและทำการถอดเทปเสียงเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยและนักวิจัยร่วม 2 รายต่างให้ Code ของเนื้อหาการสนทนากลุ่มอย่างเป็นอิสระต่อกันโดยมีข้อมูลสะท้อนกลับในบางประเด็น ก่อนที่จะร่วมกันพัฒนา Code ของการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพเพื่อแสวงหา Themes and categories ทั้งนี้ ร่างฉบับแรกของผลการศึกษาได้จัดส่งไปยังผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นเพื่อตรวจสอบเฉพาะเนื้อหาและความครอบคลุมเท่านั้น โดยได้รับข้อแนะนำเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการแก้ไขร่างดังกล่าวหลังจากได้หารือและได้ข้อสรุปร่วมกันกับผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มแล้ว ผลการวิเคราะห์เนื้อหาแบบบรรยายเชิงคุณภาพ (Qualitative descriptive content analysis) พบว่า เช่นเดียวกับจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวกระแสหลัก (Mass tourism) อื่น ๆ ของโลก จังหวัดภูเก็ตกำลังอยู่ท่ามกลางวิกฤติของการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ การเสื่อมตัวลงของสภาพแวดล้อม ปัญหาประชากรแฝง และปัญหาสังคมอื่น ๆ ผู้เข้าร่วมวิจัยต่างมีมุมมองเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวลองสเตย์ในจังหวัดภูเก็ตว่า เป็นชาวตะวันตกที่อาศัยร่วมกันในสถานที่หรูหรา หรือชาวตะวันตกที่สมรสกับชาวไทยและเปิดกิจการร้านค้าขึ้นในจังหวัด หรือเป็นนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นผู้เดินทางมาเล่นกอล์ฟ หรือแม้แต่หวนคิดถึงโครงการในอดีตของการนำผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่นที่ต้องการการดูแลในเนอร์ซิ่งโฮมของจังหวัดภูเก็ต (อนเป็นจุดประสงค์ของโครงการ Japan’s Silver Columbia Plan ในอดีต) นอกจากนี้ ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นและผู้สูงอายุชาวไทยยังได้แสดงมุมมองของการใช้ชีวิตในวัยเกษียณว่า เป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของคนญี่ปุ่น และการให้ความช่วยเหลือและการให้คืนกลับสู่สังคมของคนไทย แม้ว่าการท่องเที่ยวลองสเตย์เพื่อการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมระหว่างกันจักไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในภูเก็ต หากแต่ผู้สูงอายุชาวไทยและผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมอันพึงประสงค์ (ซึ่งได้สอบถามต่อในแบบสอบถามของการวิจัยเชิงปริมาณ) รวมทั้งการสนองตอบเชิงบวกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวลองสเตย์ดังกล่าว ผลการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 574 ราย (ชาวไทยจำนวน 500 ราย (แบ่งออกเป็นผู้สูงอายุชาวไทยจำนวน 429 รายและอื่น ๆ จำนวน 71 ราย และชาวญี่ปุ่นผู้สูงอายุจำนวน 74 ราย) มีอัตราการตอบกลับร้อยละ 76.92 สำหรับคนไทยและร้อยละ 100 สำหรับชาวญี่ปุ่นตามลำดับ) พบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยโดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 63 ปี เป็นเพศหญิงประมาณร้อยละ 62 ระดับการศึกษาน้อยกว่าประถมศึกษาประมาณร้อยละ 65 สมรสแล้วประมาณร้อยละ 58 โดยประมาณร้อยละ 87 เกิดในจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนไทยนี้ร้อยละ 71 (จำนวน 355 ราย) มีความยินดีในการมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุคนไทยและคนญี่ปุ่น โดยประสงค์ให้มีกิจกรรมด้านหัตถกรรม (ร้อยละ 34.6) งานอาสาสมัคร (ร้อยละ 23.1) อาหารไทยและญี่ปุ่น (ร้อยละ 19.7) กีฬาไทยและญี่ปุ่น (ร้อยละ 15.8) และกิจกรรมท้องถิ่น (ร้อยละ 6.8) โดยประสงค์ให้จัดกิจกรรมดังกล่าวทุก ๆ เดือน (ประมาณร้อยละ 70) ในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกัน (ประมาณร้อยละ 52) หรือการแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน (ประมาณร้อยละ 25) ประมาณร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างคนไทยผู้สูงอายุและคนไทยกลุ่มอื่น ๆ เชื่อว่าความแตกต่างของภาษาจะเป็นอุปสรรคต่อการมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกันและเลือกให้มีล่ามอาสาสมัคร (ร้อยละ 62.0) ด้านที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่นผู้สูงอายุนั้น คนไทยประมาณร้อยละ 58.0 เห็นว่า ควรใช้ที่พักอาศัยที่มีอยู่แล้ว (เช่น อพาร์ทเม้นต์ คอนโดมิเนียม หรือบ้าน) และประมาณร้อยละ 24 เห็นว่า สามารถอาศัยร่วมกับคนไทยได้ด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างมีเกณฑ์การคัดเลือกซึ่งกันและกัน โดยเห็นว่าที่พักอาศัยควรอยู่ในจังหวัดภูเก็ต (ประมาณร้อยละ 95) สำหรับการมีตัวกลางประสานงานมีกิจกรรมทางสังคมระหว่างการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์นั้นกลุ่มตัวอย่างคนไทยประมาณร้อยละ 57.0 เห็นว่า ควรเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่น ที่เกี่ยวข้องและประมาณร้อยละ 23.0 เห็นว่า ควรเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยร่วมกับหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่น จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและกิจกรรมทางสังคมพบว่า อายุ เพศ กลุ่ม ที่สังกัด ระดับการศึกษา ความถี่ของการจัดกิจกรรม ความแตกต่างของภาษาในการสื่อสาร การแก้ไขปัญหาเรื่องภาษา รูปแบบของที่อยู่อาศัยระหว่างการลองสเตย์ และตัวกลางประสานงานการจัดกิจกรรมทางสังคมร่วมกันนั้นล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางสังคมระหว่างผู้สูงอายุคนไทยและผู้สูงอายุคนญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value <0.001 ทุกตัวแปรยกเว้นกลุ่มที่สังกัด p-value เท่ากับ 0.016) ในภาพรวมกลุ่มคนไทยเห็นว่า ควรให้การสนับสนุนกิจกรรมทางสังคมระหว่างการท่องเที่ยวลองสเตย์เพราะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมระหว่างกันหากแต่เสนอแนะให้ศึกษาอำนาจหน้าที่ของ อปท. อย่างละเอียดในการทำหน้าที่ดังกล่าว รวมทั้งแนะนำให้เกณฑ์นักศึกษาไทยผู้มีความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยในจังหวัดมาทำหน้าที่เป็นล่ามอาสาสมัคร การอภิปรายผลได้กล่าวถึงการดำเนินการท่องเที่ยวซึ่งเกินขีดความสามารถในการรองรับ (Over-carrying capacity) ของการท่องเที่ยวกระแสหลักในจังหวัดภูเก็ต แนวคิดเรื่อง Silver Columbia Plan แนวคิดเรื่องคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ของชาวญี่ปุ่น (lkigai) และการช่วยเหลือสังคมของคนไทย (Generativity) แนวคิดเกี่ยวกับ Successful Ageing ของทฤษฎี Social Engagement Theory แนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อสังคม (Social Tourism) รวมทั้งแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวจากฐานของชุมชน กล่าวโดยสรุป การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมร่วมกับคนไทยผู้สูงอายุของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นผู้สูงวัยในจังหวัดภูเก็ตอาจเป็นสิ่งที่สามารถนำไปสู่การวิจัยในอนาคตเรื่องแบบจำลองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินกิจกรรมของผู้สูงอายุทั้งสองฝ่ายร่วมกับภาคีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในรูปแบบของ ‘อาสาสมัครคนท้องถิ่นผู้สูงอายุ’ (Senior volunteers) และพันธมิตรชีวิต (Life alliances) รวมทั้งส่วนประสมใหม่แบบ 2As1C (Access and Accommodation และ Community-based tourism management through senior voluntary activities) ของการท่องเที่ยวลองสเตย์ในจังหวัดภูเก็ต
Other Abstract: Aging society is a global phenomenon of leading industrialized nations including Japan. This leads to an alternative tourism which one of them is long-stay tourism. Long-stay tourism is considered a type of quality tourism experiences with an emphasis on the elderly tourists. They are able to travel abroad to exchange languages and cultural activities with the local people on a temporary basis but long-term stay (in months or years time). As they depend on their pension beneficiaries, they do not work in their long-stay destination. They also intend to go back to Japan upon the final completion of their long-stay period. However, a decade after its official start in 2001 in Thailand, the basic philosophy of long-stay tourism has not been achieved. Due to the fact that an emphasis has always been on the provision of luxurious a accommodation and exclusive recreation activities among long-stay tourists. This research project chose Phuket province, Thailand, as the study site due to its being one of the most international glamour atmosphere. The study aimed to find (1) the readiness of the elderly Thais and the elderly Japanese for joint social activities (2) the types of preferred joint social activities among the two parties (3) the patterns of joint social activities as community tourism of Phuket’s local governments (4) the possible support from the local governments and their alliances. The research team conducted the current project during 2010-2011 with an ethical protocol no. 039.1/53. The first research method used was qualitative study through focus group discussion (FGD) with 13 groups of participants (81 males and females) who were stakeholders of long-stay tourism in Phuket. There were seven stakeholder groups: local governments, the elderly Thais, the elderly Japanese, higher educational level institute, tourism-related organizations, Thai press, and foreign media. Three moderators of FGDs were from sociology and humanity backgrounds who conducted FGDs in the Thais, the Japanese, and the English-speaking people. All FGDs were audio-taped and were transcribed for qualitative content analysis. The principal investigator and the other 2 moderators independently performed the initial coding with a few feedback comments. Collectively, we defined the different themes and performed cross-referencing within the different coding and categories. The first drafts of result were sent to the Thai and the Japanese participants to check on content and comprehensiveness only with a few comments. The research team had corrected after discussion with the group moderators until we found final agreement. From the qualitative descriptive content analysis, we found that same as other mainstream mass tourism destination worldwide, Phuket is facing its crisis in terms of natural resource degradation, environmental deterioration, latent population, and other social problems. The participants perceived long-stay tourists in Phuket as the westerners who live exclusively with their own clans, or the westerners who get married with the Thais and open their own business in the province. For them, long-stay tourists also meant the Japanese golf tourists. In fact, the participants also recognized the project in Phuket in the previous days which tried to have the elderly Japanese to live in the built-up nursing home (the purpose of Japan’s Silver Columbia Plan in the past). In addition, from the focused group discussion with the elderly Japanese, they perceived their retirement life as the life that worth living by using leisure time effectively. On the other hand, the elderly Thais wanted to help out and give back to the society as their legacy values. Though the authentic exchange of languages and cultural activities have never taken place in Phuket, the elderly Thais and the elderly Japanese as well as other stakeholders in Phuket suggested a number of possible joint social activities (which were further investigated in the quantitative research method), including positive responses from the local governments in Phuket regarding long-stay tourism in the province. From the quantitative research with 574 samples (composing of 500 Thais-429 elderly Thais and 71 other Thais-plus 74 elderly Japanese) with the response rate of 76.92% for the Thais and 100% for the Japanese respectively, the result revealed that the average age of the Thais was approximate 63 years old, female (approx. 62%), finished less than primary education (approx. 65%), married (approx. 58%), and approx. 87% of the samples were born in Phuket. However, the Thai samples of 71% 9a total of 355 persons) were willing for joint social activities between the elderly Thais and the elderly Japanese. These ready-to-go samples chose handicraft activities (34.6%), volunteerism (23.1%), food tourism between Thai-Japanese (19.7%), light sports (15.8%), and customary events (6.8%). These proposed activities should be held monthly (approx. 70%) in form of mutual learning (approx. 52%) or as mutual exchange (approx. 25%). Among the Thais, approx. 60% believed in the differences of language as an obstacle for conducting joint social activities. They suggested for volunteer interpreter (approx. 62%). As for the accommodation for the elderly Japanese, the Thais of 58% would like to see the Japanese elderly live in existing facilities (for instance, apartment, condominium, or houses). Thais of approx. 24% offered mutual living in the Thai house but with certain selection criteria on both sides. Approx. 95% would like Phuket to be the site of accommodation facilities. In terms of joint social activities collaborative body during long-stay period, the Thais for approx. 57% would like the Royal Thai Government, the local governments in Phuket, and concerned Japanese organization take care of this issue. Approx. 23% would like the Royal Thai Government to co-operate with concerned Japanese organization directly. From an analysis of association between independent variables and joint social activities, age, gender, group membership, educational level, frequency of activities hold, difference in language, solution for language problem, types of accommodation during long-stay period, and coordinating bodies, had the relationship with joint social activities between the elderly Thais and the elderly Japanese with statistical significance at 0.05 (p-value<0.001 for all factors, except for groups membership with p-value of 0.016). Overall, the Thai samples would want to support joint social activities during long-stay period as they could bring about good relationship of the two nations and could serve as sources of exchange for language and cultural activities. However, the samples would like to study more about the scopes of responsibility of the local governments in Phuket serving as the coordinating body and recommended to have local university students keen in Japanese to volunteer as interpreters for the elderly. From the quantitative research with 74 elderly Japanese, the result revealed that the average age of the Japanese was approximate 64 years old with approx. 65% were males. Approx. 42% identified their work background as company’s staff and housewives. The samples had secondary school (APPROX.40%) with 35% university graduates. Approx. 72% were married and approx. 83% indicated their hometown in Japan that 27.5% of them were from Tokyo (central/Kanto); 10.0% from Osaka (central/Kansai) and approx.8% from Aichi (central/Chubu). With and exchange rate of 100 yens equaled to 37 Thai baht, the Japanese of approx. 21% specified an amount of their pension beneficiaries at 2,000,000 yens annually (approx. 61,666 baht per month) and another approx. 21% had 3,000,000 yens annually (approx. 92,500 baht per month). Moreover, approx. 23% of the samples had another source of income (for instance, renting charge) of less than 1,000,000 yens per year (approx. 30,833 baht per month) as well as for 2,000,000 yens per year (approx. 61,666 baht per month), with approx. 13% of the samples had 4,000,000 yens annually other type of income (approx. 123,333 baht per month). However, the Japanese samples of approx. 70% (a total of 51 persons) were willing for joint social activities between the elderly Thais and the elderly Japanese during the long-stay period. These ready-to-go samples chose food tourism (33.3%). Volunteerism (23.5%), customary events (17.6%), handicrafts (15.7%), and light sports (9.8%). These proposed activities should be held monthly (approx. 75%) in form of mutual exchange (approx. 42%), mutual learning (approx. 28%), and volunteerism (approx. 10%). Among the Japanese, approx.90% believed in the differences of language as an obstacle for conducting joint social activities with the Thais and would want to have volunteer interpreter (approx.96%). As for the accommodation, the elderly Japanese of approx. 90% would like to live in existing facilities: 31.8% in houses, 29.5% in condominium, and 15.9% in apartment. There were only approx. 4% of the samples who would want to live with Thai houses with selection criteria on both sides. The samples opined that accommodation facilities should be located in Phuket (approx. 98%), for instance, at Phuket Town (13.0%) and Tha-lang district (10.9%). In terms of joint social activities collaborative body during long-stay period, the elderly Japanese for approx. 61% would like the Royal Thai Government, the local governments in Phuket, and concerned Japanese organization, to take care of this issue. Approx. 16% would like the local governments in Phuket and Thai private sectors cooperate with concerned Japanese organization. Approx. 12% of the samples would want the Thai and the Japanese private sectors to cooperate each other. From an analysis of association between independent variables and joint social activities, it found that amount of pension beneficiaries and other source of income had the relationship with joint social activities between the elderly Thais and the elderly Japanese during long-stay period with statistical significance at 0.05 (p-value 0.003 and <0.001 respectively). Overall, as Thailand is a developing country, the Japanese sample would want to know the level of education of the Thais and the environment in Thailand, and how foreigners would be taken care of by the Thai government and general Thai people; they felt that this survey was impressive as it was the first time ever that Asians asked questions among themselves; if staying longer in Thailand, the sample would want to join activities with the Thais but the obstacle was language competency, therefore, mutual daily life activities should be the first to start; the samples wondered how safe are foreigners living abroad as there were often criminal news on newspaper and televisions. For discussion part, the research proposed the concepts of over-carrying capacity of mainstream mass tourism in Phuket, Silver Columbia Plan, Ikigai, Generativity, and successful aging through Social Engagement Theory. As well the concepts of Social Tourism and Community-based tourism were also mentioned. In conclusion, establishing joint social activities between the elderly Thais and the elderly Japanese in Phuket may lead to future research in regards to the model of Local Tambon Administration (local governments) in Phuket regarding joint social activities with relevant local alliances. This is especially true for the model of ‘Senior volunteers’ and ‘Life alliances’ through the new proposed component of 2As1C (Access, Accommodation and Community-based tourism management through senior voluntary activities) for the conduct of long-stay tourism in Phuket.
Description: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37659
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pub Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prathurng_ho_2554.pdf20.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.